3 ขั้นตอน เตรียมความพร้อมของระบบน้ำประปา สำหรับที่พักอาศัย เพื่อรองรับการใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูง

สิ่งสำคัญของการสร้างที่อยู่อาศัย นอกจากเรื่องความสวยงามของการออกแบบ อีกเรื่องที่สำคัญมากไม่แพ้กัน คือเรื่องของการ "วางระบบน้ำประปา" ให้ผู้อาศัยสามารถใช้งานได้อย่างตรงตามความต้องการ และลดปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาภายหลัง วันนี้ Wazzadu.com จึงอยากพาผู้อ่านทุกท่าน ไปดู 3 ขั้นตอน ในการเตรียมความพร้อมของระบบน้ำประปา สำหรับที่พักอาศัย เพื่อรองรับการใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูง เป็นข้อมูลในเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่กำลังจะติดตั้งปั๊มน้ำ ติดตามกันได้เลยครับ...

1. การเตรียมระบบจ่ายน้ำ

โดยหลักๆ แล้วระบบจ่ายน้ำจะมีด้วยกัน 2 ประเภท ซึ่งแบ่งตามรูปแบบของอาคารที่พักอาศัย ดังนี้

ระบบจ่ายน้ำขึ้น

เป็นการจ่ายน้ำโดยตรงจากท่อน้ำประปาหลัก ระบบจ่ายน้ำขึ้นจะเหมาะกับอาคารที่พักอาศัย 2-3 ชั้น แต่ปัญหาคือ ถ้าหากมีการใช้น้ำพร้อมๆ กันภายในบ้าน จะทำให้น้ำที่ถูกจ่ายออกไปไหลเบาในบางจุด จึงมักใช้วิธีกักเก็บน้ำประปาไว้ในถังเก็บน้ำ แล้วติดตั้งปั๊มน้ำเพิ่มเติมเพื่อดึงน้ำจากถังเก็บน้ำเข้าบ้านอีกครั้งหนึ่ง

ข้อแนะนำในการเลือกท่อ : สำหรับระบบจ่ายน้ำขึ้น การเลือกท่อที่เหมาะสมคือระบบท่อบายพาส เพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉิน เช่น ปั๊มน้ำชำรุด หรือไฟดับ การวางระบบท่อบายพาสจะทำให้สามารถจ่ายน้ำจากมิเตอร์เข้าสู่บ้านได้โดยตรง

ระบบจ่ายน้ำลง

ระบบนี้จะเหมาะกับอาคาร 3 ชั้นขึ้นไป เช่น คอนโด ตึกแถว หอพัก รูปแบบการทำงานคือ การสูบน้ำขึ้นไปกักเก็บที่ถังเก็บน้ำชั้นบนสุดของอาคาร และแจกจ่ายน้ำลงมา โดยชั้นที่อยู่ล่างสุด น้ำจะแรงที่สุด แต่ปัญหาคือชั้นที่อยู่ใกล้ถังเก็บน้ำที่สุด แรงดันน้ำจะอ่อน ดังนั้นจึงควรมีระยะความสูงในการติดตั้งถังเก็บน้ำ ควรห่างอย่างน้อย 10 เมตร หากน้อยกว่านั้นสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการติดตั้งปั๊มน้ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยเรื่องแรงดันน้ำให้มากขึ้น

2. การวางระบบท่อประปา

สิ่งสำคัญของการวางระบบท่อประปาคือ ทำให้การทำงานของระบบจ่ายน้ำง่ายขึ้น และซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา การวางระบบท่อแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

การเดินท่อแบบลอยตัว 

คือการเดินท่อแบบลอยติดผนัง ข้อดีของการเดินท่อแบบลอยตัวคือสามารถซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา หรือติดตั้งระบบเพิ่มเติมในภายหลังได้สะดวก แต่ข้อเสียคืออาจจะทำให้ดูไม่สวยงามมากนัก

การเดินท่อแบบฝังภายในพื้นหรือผนัง 

คือการเดินท่อแบบฝังในผนังก่อนฉาบปูนปิดทับ ข้อดีคือเรื่องของความสวยงาม ดูเรียบร้อย แต่ข้อเสียคือค่อนข้างยุ่งยากในการซ่อมแซมหากเกิดปัญหา

การเลือกประเภทท่อให้เหมาะกับการใช้งาน

  • ท่อ PVC (Poly Vinyl Chloride)

เหมาะสำหรับการใช้งานเป็นท่อน้ำประปาสำหรับน้ำในอุณหภูมิปกติ หรือการใช้ภายในอาคาร แต่ข้อเสียคือ ไม่เหมาะกับการใช้แรงดันมากกว่า 3 บาร์ เนื่องจากใช้การเชื่อมต่อด้วยกาว ไม่ค่อยทนต่ออุณหภูมิสูงๆ และแรงกระแทกมากเท่าไหร่นัก

  • ท่อ PP-R (Random Copolymer Polypropylene)  

ท่อชนิดนี้จะทนอุณหภูมิได้สูงประมาณ 95 องศา ซึ่งท่อ PP-R แบบ Pn10 สามารถรองรับความดันได้ 10 บาร์ เหมาะกับน้ำอุ่นไปจนถึงน้ำเย็น และที่ท่อ PP-R แบบ Pn20 สามารถรองรับความดันได้ 20 บาร์ และเหมาะกับน้ำร้อน ทั้ง Pn10 และ Pn20 เป็นท่อที่กันการรั่วซึมได้ดี เพราะใช้วิธีเชื่อมผสานเป็นเนื้อเดียวกัน

  • ท่อโพลีเอทิลีน หรือท่อ PE (Poly Ethylene) 

หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าท่อเอชดีพีอี (HDPE) ท่อชนิดนี้จะมีความยืดหยุ่นสูง ดัดโค้งงอได้ จึงสามารถติดตั้งตามลักษณะความโค้งของอาคารได้ มีความทนทานต่อแสงแดดและน้ำหนักเบา

3. การเลือกปั๊มน้ำ

อย่างแรกที่ต้องทราบในการเลือกปั๊มคือ ต้องเช็คจุดจ่ายน้ำและปริมาณน้ำที่ต้องการใช้พร้อมกันภายในบ้านทั้งหมด ว่าต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อนำมาพิจารณาในการเลือกใช้ปั๊มน้ำให้เหมาะสม เพราะอุปกรณ์จ่ายน้ำแต่ละชนิดมีความต้องการในการจ่ายน้ำและแรงดันที่ไม่เท่ากัน จึงจะต้องดูขนาดพื้นที่ของที่พักอาศัย และเลือกใช้ปั๊มที่ทำแรงดันได้ตามที่อุปกรณ์ต้องการด้วย

จุดติดตั้งปั๊มน้ำที่เหมาะสม

  1. ตัวปั๊มน้ำควรติดตั้งห่างจากกำแพง 30 เซนติเมตร (หรือไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตร) เพื่อง่ายต่อการระบายความร้อน และการซ่อมแซม
  2. บริเวณที่ติดตั้งปั๊มน้ำต้องไม่มีน้ำท่วมขัง 
  3. ไม่ควรติดตั้งปั๊มน้ำกลางแจ้ง เพราะอาจทำให้น้ำฝน หรือน้ำจากหลังคา ชายคาตกสู่ตัวปั๊มน้ำได้โดยตรง

สำหรับเจ้าของบ้าน เจ้าของโครงการ สถาปนิก นักออกแบบ ที่กำลังมองหาปั๊มน้ำที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างตรงใจ ขอแนะนำ "ปั๊มน้ำอัตโนมัติ" จากอิตาลี แบรนด์ Dab มาพร้อมกับระบบความปลอดภัยในการใช้งาน มีเซ็นเซอร์ตรวจสอบแรงดันน้ำขาออก เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้แรงดันน้ำคงที่เท่ากันทุกจุดที่เปิดใช้ มีหน้าจอแสดงสถานะสำหรับตั้งค่าแรงดันน้ำที่ต้องการรองรับได้ตั้งแต่ 0.1-6 บาร์

อยากได้น้ำแรงแค่ไหน ปรับได้ง่ายเพียงกดปุ่มที่หน้าจอ มีเซ็นเซอร์ตรวจสอบอัตราการไหลของน้ำ ตรวจสอบได้จริงว่ามีน้ำเข้ามาหรือไม่ หากน้ำหมดแท้งค์ ไม่มีน้ำเข้ามาจริงเซ็นเซอร์จะตัดการทำงานภายใน 10 วินาที

"ปั๊มน้ำอัตโนมัติ" จากอิตาลี แบรนด์ Dab มีให้เลือกด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่น E.Sybox ที่เสียงเงียบเพียง 43 เดซิเบล กับอัตราการไหลสูงสุด 120 ลิตร/นาที และ E.Sybox mini ที่เสียงเงียบเพียง 45 เดซิเบล อัตราการไหลสูงสุด 80 ลิตร/นาที สามารถเลือกให้เข้ากับการใช้งานน้ำของที่พักอาศัยได้ดั่งใจ

ตัวอย่างสินค้าเทียบเคียง

  • E.sybox mini

    งานระบบประปา ปั๊มน้ำ

    20,000 บาท/ตัว

    Online
  • E.sybox

    งานระบบประปา ปั๊มน้ำ

    35,000 บาท/ตัว

    Online

สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้

www.wazzadu.com/page/dab/contact

 

#Wazzadu #DAB #Esybox #Esyboxmini #ปั๊มน้ำอัจฉริยะ #ปั๊มน้ำ

บริษัท DAB Water Technology
เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตเครื่องสูบน้ำ หรือ ปั๊มน้ำ มานานกว่า 40 ปี โดยมุ่งมั่นวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ
เพื่อผลิตเครื่องสูบน้ำที่ได้มาตรฐาน ประหยัดพลังงาน ทนทาน และง่ายต่อการใช้งาน สำหรับใช้ในบ้านพักอาศัย อุตสาหกรรม และ ระบบเกษตรชลประทาน

ปัจจุบันบริษัทมี Headquarter ตั้งอยู่ที่เมือง Padova ประเทศอิตาลี

...

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ