ประวัติและวิวัฒนาการ การใช้ไม้จริงในงานสถาปัตยกรรม
ไม้จริงจากป่าธรรมชาติมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์มาช้านาน เป็นวัสดุเพียงไม่กี่ชนิดที่ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ของอารยธรรมต่างๆทั่วโลก ไม้ได้กลายเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่มีอายุยืนยาวที่สุดในการดำรงอยู่คู่กับวิวัฒนาการในการอยู่อาศัยของมนุษย์พร้อมๆการสร้างเครื่องมือที่มีความสามารถเพียงพอกับงานไม้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งก็คือขวานหินนั่นเอง
ยุคหินมนุษย์ค้นพบทักษะในการใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างเป็นครั้งแรก
ยุคหินไม้จริงจากป่าธรรมชาติเป็นวัสดุที่มีประโยชน์ และใช้งานได้อเนกประสงค์ ทั้งใช้ทำเครื่องมือในการดำรงชีวิต ใช้ทำอาวุธ หรือ ใช้ทำที่อยู่อาศัย โดยหลักฐานโบราณชิ้นแรกๆแสดงให้เห็นถึงที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้นจากไม้ ซึ่งมีอายุมากกว่า 10,000 ปี
บ้านไม้โบราณขนาดใหญ่ยุคแรกๆเกิดขึ้นในยุคหินใหม่ของยุโรป จากหลักฐานโบราณคดีที่พบระบุว่าบ้านไม้ (เรียกอีกอย่างว่าเรือนยาว หรือ Neolithic Longhouse) มีลักษณะแคบยาว โดยสร้างขึ้นใน 6,000 ปีก่อนคริสตกาล มันเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม ในฐานะที่เป็นอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว เรือนยาวในยุคหินใหม่ที่ทำจากไม้จึงมีความแข็งแกร่ง และมีขนาดใหญ่โดยสามารถรองรับผู้อยู่อาศัยได้ประมาณ 30 คน
การใช้วัสดุไม้ยุคสำริด
นับตั้งแต่มนุษย์มีการค้นพบวัตถุดิบที่แตกต่างกัน เช่น ทองแดง และเหล็ก ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงวิธีการใช้ไม้จริงในการก่อสร้างอาคารร่วมกับวัสดุชนิดอื่นๆ ไม้ยังคงถูกนำมาใช้เพื่อสร้างอาคารที่เรียบง่าย เช่น กระท่อมไม้ซุง และอาคารที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ด้วยคุณสมบัติที่คงทนแข็งแรง เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นแต่ละทวีป จึงทำให้ไม้ยังคงเป็นตัวเลือกยอดนิยมในการใช้เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างมาตั้งแต่ยุคโบราณ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรามาตั้งแต่ต้นและงานไม้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมต่างๆทั่วโลกมาตั้งแต่ยุคโบราณ เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่พบหลักฐานเศษซากการก่อสร้างที่ทำด้วยไม้โดยมนุษย์โบราณหลงเหลืออยู่มากนัก ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งปลูกสร้างที่ทำจากหินที่สามารถยืนหยัดต่อกาลเวลาได้นานกว่า
ยุคเหล็กความรุ่งเรืองของสถาปัตยกรรมโบราณ
หลักฐานอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งปลูกสร้างที่ทำด้วยไม้จริงที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ต้องย้อนหลังกลับไปถึงศตวรรษที่ 1 ซึ่งมันมาจากอารยธรรมโรมันที่ถูกบันทึกขึ้นในรัชสมัยของซีซาร์ออกัสตัสผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ
25 ปีก่อนคริสต์ศักราช Marco Viturbio สถาปนิกและวิศวกรชาวโรมันเขียนบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม และเทคนิคการก่อสร้างในกรุงโรม มันมีชื่อว่า "De architectura" เพื่อถวายให้กับจักรพรรดิ บันทึกนี้อ้างอิงจากสถาปัตยกรรมตามหลักสามประการ: ความงาม (Venustas) ความแข็งแรง (Firmitas) และยูทิลิตี้ (Utilitas) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของสถาปัตยกรรมยุคโรมัน
นอกจากนี้ในบันทึกดังกล่าวยังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับดาราศาสตร์ นาฬิกาแดด เทคนิคการก่อสร้าง และการใช้วัสดุประเภทต่างๆ เช่น ไม้ และหิน
แม้ว่าอารยธรรมโบราณอย่างกรีก, โรมัน, อียิปต์, เปอร์เซีย ทำให้เราคุ้นตากับสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ซึ่งมักจะทำจากอิฐ หิน หรือหินอ่อนอันงดงาม แต่ในความเป็นจริงชุมชนที่พักอาศัยของประชาชนในเมืองโบราณก็ถูกสร้างขึ้นจากไม้เป็นจำนวนไม่น้อย ในชุมชนโบราณหลายแห่งค่อนข้างแออัดยัดเยียด และมีการใช้ฟืนสำหรับทำอาหาร และสร้างความร้อนเป็นประจำ จนมีหลายครั้งที่มักจะทำให้ไฟไหม้ขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ไฟไหม้ถือเป็นจุดกำเนิดของนักผจญเพลิงในยุคโบราณ กองดับเพลิงที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยของจูเลียสซีซาร์
ความสามารถในการเผาไหม้ของไม้ ผลักไสให้จูเลียส ซีซาร์ นิยมโปรดปรานวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐ ดินเผา หิน และหินอ่อน ซึ่งจูเลียสซีซาร์ชื่นชมมากที่สุดในการนำมาสร้างสถาปัตยกรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่ เพราะมันให้ความรู้สึกที่แข็งแกร่งงดงาม ไม่แปลกที่ในบันทึกซีซาร์มักจะกล่าวว่ากรุงโรมทำด้วยอิฐและหินอ่อน แต่สิ่งที่เขาไม่ได้กล่าวถึงคือความเป็นจริงอาคารทั่วไปในกรุงโรมมักใช้ไม้ และอิฐในการก่อสร้าง
การรับรู้เชิงลบเกี่ยวกับไม้ ที่ว่ากันว่าไม้เป็นวัสดุสำหรับการก่อสร้างที่อันตราย (สามารถติดไฟได้) ยังคงมีอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะในเขตของยุโรปเมดิเตอร์เรเนียนทายาทโดยตรงของชาวโรมัน ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่ในแถบยุโรปเหนือที่อากาศหนาวจัดโดยเฉพาะสแกนดิเนเวียที่นิยมใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างหลักเสมอ เพราะไม้สามารถสร้างความร้อน หรือ ให้ความอบอุ่นได้ดีกว่าวัสดุอื่นๆ ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวติดลบ
นอกจากยุโรป และอียิปต์แล้ว ในยุคนี้เริ่มมีบันทึกการใช้ไม้ในงานสถาปัตยกรรมที่แพร่กระจายไปยังทวีปต่างๆมากขึ้น เช่น จีนยุคโบราณ (ยุคจักรวรรดิ) และ ญี่ปุ่นยุคโบราณ(ยุคยาโยอิ - โคะฟุง) เป็นต้น
ยุคกลาง ยุคแห่งการพัฒนาต่อยอดการใช้วัสดุไม้ในงานสถาปัตยกรรม
ในยุคบุกเบิกสร้างประเทศสหรัฐอเมริกา ไม้จริงถือเป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น มีความทนทานมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง และมีการค้นพบพฤติกรรมทนไฟที่ยอดเยี่ยมในกรณีที่ไฟไหม้เสาไม้ โดยที่มันไม่พังถล่ม โดยไม้ชั้นนอกจะถูกไหม้เป็นสีดำ ซึ่งรอยไหม้สีดำนี้มีคุณสมบัติเป็นแนวกันไฟให้ตัวเอง อีกทั้งมีความแข็งซึ่งช่วยป้องเนื้อไม้ภายใน และช่วยชลอการถล่มได้นานกว่า 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว
พฤติกรรมทนไฟนี้ได้ต่อยอดนวัตกรรมไม้ทนไฟสำหรับงานสถาปัตยกรรมให้ก้าวไกล มันเป็นรากฐานของโครงสร้างอาคารไม้ทนไฟ โดยทำมาจากไม้ที่ผ่านกระบวนการผลิตแบบพิเศษ ปัจจุบันเราเรียกไม้โครงสร้างทนไฟชนิดนี้ว่าไม้แปรรูป CLT หรือ Cross Laminated Timber
ในยุคนี้เริ่มมีการบันทึกถึงการนำไม้มาใช้ในงานสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระบุไว้ว่ามีการใช้ไม้ในการสร้างศาสนสถานทางศาสนา (วัด) และเรือนไทยในสยาม(ประเทศไทย) รวมถึงในพม่าอีกด้วย
การใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างหลังยุคกลาง
การใช้ไม้ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยหลังยุคกลางมีอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ คือ บ้านท่อนซุง (Log Homes) และ อาคารโครงสร้างไม้สำเร็จรูป (Prefabricated Houses of Wood's)
บ้านท่อนซุง (Log Homes) เป็นตัวแทนของรูปแบบการก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุด บ้านท่อนซุงนี้พบได้ทั่วไปในแถบสแกนดิเนเวีย รัสเซีย และพื้นที่บางส่วนของยุโรปเหนือ นอกจากนี้ผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานยังทวีปใหม่อย่างแถบแอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ก็นิยมสร้างบ้านด้วยวิธีนี้เช่นกัน
บ้านท่อนซุง (Log Homes) ถูกสร้างขึ้นโดยนำท่อนไม้มาเรียงซ้อนกันในแนวนอน และประกอบเพื่อยึดเข้าหากันที่มุมของอาคาร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีลักษณะเหมือนกำแพงที่มีความหนา และมีขนาดใหญ่
ประเภทของบ้านท่อนซุง (Log homes)ในปัจจุบัน
- Wood houses - natural logs Prefabricadas : เป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุด มีลักษณะเหมือนกำแพงหิน
- Wood houses - brushed trunks Prefabricadas : ลักษณะเป็นลำไม้ขัดเงา มีหลายรูปแบบ หลายขนาด
- Wood houses - turned logs Prefabricadas : เป็นรูปแบบบ้านไม้ธรรมชาติรุ่นใหม่ที่มีความสวยงามทันสมัยมากขึ้น
- Wood houses - Prefabricadas of logs and multiple methods: เป็นรูปแบบผสมผสาน ที่มีความหลากหลายทางด้านเทคนิคในการก่อสร้าง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่มากขึ้น
อาคารไม้สำเร็จรูป (Prefabricated Houses of Wood's)
อาคารไม้สำเร็จรูป มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 19 เทคนิคนี้เป็นผลมาจากความจำเป็นในการสร้างอาคารใหม่อย่างรวดเร็วและความพร้อมของวัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน อันเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมการแปรรูป และเทคโนโลยีที่พัฒนามากขีดความสามารถในการนำไม้มาใช้งานที่สูงขึ้น อาคารไม้สำเร็จรูปจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนไม้ที่แปรรูปมาแล้ว ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน เช่น โครงสร้างไม้ วงกบไม้ หน้าต่างไม้ แผ่นผนังไม้ พื้นไม้ ฯลฯ
ความก้าวหน้าของการนำไม้มาใช้ในงานสถาปัตยกรรมในยุคศตวรรษที่ 21 (ยุคปัจจุบัน)
ในยุคปัจจุบันการนำไม้จริงมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมนั้น ได้ถูกพัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานให้สูงขึ้น เช่น การยืดอายุให้กับเนื้อไม้ การป้องกันความชื้นให้กับเนื้อไม้ หรือ การทำให้ไม้สามารถทนไฟได้นานขึ้น (ไม้แปรรูป CLT หรือ Cross Laminated Timber) รวมถึงการคิดค้นรูปแบบการใช้งานด้วยวิธี หรือ เทคนิคที่หลากหลายมากขึ้น เช่น รูปแบบการเข้าไม้โดยไม่ต้องใช้หมุด การออกแบบโครงสร้างไม้ที่มีความซับซ้อน ทนทาน และสวยงามมากขึ้น เป็นต้น
ข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับไม้จริง
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม