โครงสร้างเหล็ก Steel Structure สำหรับงานสถาปัตยกรรม ให้ความคุ้มค่า และเกี่ยวข้องกับ Circular Economy อย่างไรบ้าง

โลกเราทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนไปในเชิงลบเกิดขึ้นมากมาย ปัญหาใหญ่ๆ เลยก็คือ ภาวะโลกร้อน ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงปัญหาขยะล้นโลก ที่กำลังรอการจัดการ

การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ หากเป็นในอดีต  การใช้ทรัพยากรจะเป็นในลักษณะของ เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) ซึ่งก็คือ การใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าเพียงครั้งเดียว เมื่อเลิกใช้แล้ว จะไม่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือผลิตใหม่

แต่ปัจจุบัน เมื่อประชากรในโลกเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ลักษณะการผลิตสินค้า จะไม่ใช่การนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตใหม่ทุกครั้งที่มีการใช้หมด แต่จะเป็นการเปลี่ยน Cycle ของขั้นตอนการผลิต ให้หมุนเวียนได้ด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด โดยนำวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ (Re-Material) หรือนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) ไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติมากเกินความจำเป็น

ผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจในลักษณะนี้ได้ รวมไปถึง ผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้าง ซึ่งเป็นวัสดุที่ได้ชื่อว่า ถูกนำมารีไซเคิลมากที่สุดในโลก! ท่ามกลางวัสดุชนิดต่างๆ ที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น ปูน เป็นต้น

เมื่อเหล็กถูกนำมารีไซเคิลมากที่สุด แล้วเหล็กจากส่วนใดบ้างที่นำมารีไซเคิลได้ แค่เหล็กโครงสร้างสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียวหรือไม่? คำตอบคือ ไม่ใช่แค่เหล็กโครงสร้างสำหรับงานสถาปัตยกรรมที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เหล็กที่ใช้ผลิตยานพาหนะ ได้แก่ เรือ รถยนต์ และเครื่องบิน เหล็กสำหรับผลิตข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ รวมไปถึงเหล็กจากโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น เหล็กที่ใช้สำหรับสร้างทางรถไฟ ก็นำมารีไซเคิลได้เช่นกัน

เมื่อเหล็กจากองค์ประกอบข้างต้นเสื่อมสภาพ จะต้องมีการแยกชิ้นส่วน ก่อนนำไปหลอมด้วยความร้อน เพื่อให้ได้เหล็กคุณภาพเยี่ยมกลับมาใช้งานได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับวิธีการหลอมเหล็กที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก คือ กระบวนการหลอมเหล็กด้วยเตา EF (Electrical Arc Furnace process) เนื่องจากเป็นการหลอมเหล็กที่สามารถควบคุมค่าเคมีได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังได้น้ำเหล็กที่สะอาดเหมือนใหม่ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพต่อไป

โดย การหลอมเหล็กด้วยเตา EF เป็นการหลอมเหล็กด้วยวิธีอาร์คไฟฟ้าจนเหล็กเกิดการหลอมละลาย หลังจากนั้น สิ่งสกปรกและค่าเคมีที่ส่งผลเสียต่อความแข็งแรงของเหล็ก จะถูกทำให้กลายเป็นตะกรันลอยขึ้นสู่ผิวหน้าของน้ำเหล็ก จึงทำให้ได้เหล็กที่มีความบริสุทธิ์เหมือนใหม่ ก่อนจะนำไปเติมธาตุที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของเหล็กเพื่อใช้งานในส่วนต่างๆ ต่อไป

เหล็กที่ได้จากการรีไซเคิล สามารถนำไปหลอมใหม่ได้หลายครั้ง โดยไม่เสื่อมคุณภาพ ทั้งยังช่วยลดการใช้ทรัพยากร ลดต้นทุนการผลิต คุ้มค่ากว่าการผลิตเหล็กขึ้นใหม่เพื่อใช้งานในแต่ละครั้ง สอดรับกับหลักการของ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ตัวอย่างสินค้าเทียบเคียง

  • ท่อเหล็กดำ เหล็กกล่อง

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 35 บาท/กิโลกรัม

    Online
  • เหล็กโครงสร้างรูปพรรณตัวซี มอก.

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 33.50 บาท/กิโลกรัม

    Online
  • ท่อสังกะสีพรีซิงค์

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 39.50 บาท/กิโลกรัม

    Online

สำหรับท่านที่สนใจ 

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center  02-285-2700​ ​

Website : www.cotcometalworks.co.th  , FB Page : Cotco Metal Works Ltd.​

บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จำกัด / COTCO METAL WORKS LIMITED
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ