Shape Follow Structure การออกแบบงานโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้สถาปัตยกรรมมีอัตลักษณ์เด่น
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปชมไอเดียแนวคิดการสร้างความโดดเด่น หรือ สร้างอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม ที่ในยุคปัจจุบันนั้น มีอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ๆดังนี้
การสร้างอัตลักษณ์อาคาร ด้วยการกำหนดรูปแบบโครงสร้างอาคารให้มีลักษณะรูปทรงตามที่ต้องการตั้งแต่ต้น (Structure Shape)
การสร้างอัตลักษณ์อาคารด้วยวิธีนี้ลักษณะของ Space - Shape - Structure จะให้ความรู้สึกที่สัมพันธ์กันทั้งภายนอก และภายใน ตัวสถาปัตยกรรมจะดูกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียว และสามารถออกแบบให้มีความหวือหวาท้าทายขีดจำกัดด้านวิศวกรรมได้ จึงทำให้ตัวอาคารดูมีความล้ำสมัย หรือ กลายเป็น Iconic Architecture อันเป็นที่จดน่าจำของผู้คนจำนวนมาก
แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากรูปทรง + โครงสร้างอาคารยิ่งหวือหวา และยากซับซ้อนมากเท่าใหร่ งบประมาณก็ยิ่งแพงตามไปด้วยเท่านั้น โดยเฉพาะรูปทรงอาคารแบบ Free Form หรือ Deconstruction Architecture
ส่วนใหญ่แล้ววิธีการสร้างอัตลักษณ์อาคารด้วยการกำหนดรูปแบบโครงสร้างอาคารให้มีลักษณะตามที่ต้องการตั้งแต่ต้น (Structure Element) มักนิยมใช้โครงสร้างเหล็ก หรือ โครงสร้างคอนกรีต+เหล็ก เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่ติดตั้งง่าย ใช้เวลารวดเร็ว และให้คุณสมบัติในด้านการใช้งานที่มีความยืดหยุ่นหลากหลายกว่าคอนกรีต โดยเหล็กที่นิยมนำมาใช้งานมีหลากหลายประเภทดังนี้
- เหล็ก H-Beam (ใช้ในส่วนโครงสร้างหลักของอาคาร)
- เหล็ก I-Beam (ใช้ในส่วนโครงสร้างรอง นิยมใช้หลากหลายขนาด)
- เหล็กท่อกลม (ใช้ในส่วนโครงสร้างรอง นิยมใช้หลากหลายขนาด)
- เหล็กกล่อง (ใช้ในส่วนโครงสร้างรอง และตกแต่ง นิยมใช้หลากหลายขนาด)
- เหล็กตัวซี (ใช้ในส่วนโครงสร้างรอง นิยมใช้หลากหลายขนาด)
การสร้างอัตลักษณ์อาคารด้วยเปลือกอาคาร (Skin Facade Element)
วิธีนี้อาจจะทำให้ Space - Shape - Structure ให้ความรู้สึกที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กันเท่าใดนัก ตัวโครงสร้าง และ Space ภายในอาคารอาจจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่รูปทรงของเปลือกห่อหุ้มอาคารอาจจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ การสร้างรูปทรงวิธีนี้จะเน้นการโชว์อัตลักษณ์เพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือ เพียงบางส่วนของอาคารเท่านั้น รวมถึงการรีโนเวทต่อเติมเพื่อเพิ่มความสวยงาม วิธีนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งพบเห็นได้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ในด้านการใช้วัสดุวิธีการสร้างอัตลักษณ์อาคารด้วยเปลือกอาคาร (Skin Facade Element) มักนิยมใช้โครงสร้างเหล็กติดตั้งร่วมกับโครงสร้าง และวัสดุตกแต่งประเภทอื่นๆอีกที เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่ติดตั้งง่าย ใช้เวลารวดเร็ว และให้คุณสมบัติในด้านการใช้งานที่มีความยืดหยุ่นหลากหลายกว่าวัสดุอื่นๆ โดยเหล็กที่นิยมนำมาใช้งานมีหลากหลายประเภทดังนี้
- เหล็ก I-Beam (ใช้ในส่วนโครงสร้างรับน้ำหนักตัว Skin Facade นิยมใช้หลากหลายขนาด)
- เหล็กท่อกลม (ใช้ในส่วนโครงสร้างเฟรม Skin Facade นิยมใช้หลากหลายขนาด)
- เหล็กกล่อง (ใช้ในส่วนโครงสร้างเฟรม Skin Facade และตกแต่ง นิยมใช้หลากหลายขนาด)
- เหล็กตัวซี (ใช้ในส่วนโครงสร้างรับน้ำหนัก และเฟรม Skin Facade นิยมใช้หลากหลายขนาด)
สำหรับในประเทศไทยนั้น เหล็กที่สามารถนำมาประกอบทำโครงสร้างอาคาร (Steel structures) แบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหล็กกลม หรือ เหล็กกล่อง จะต้องได้รับมาตรฐานดังนี้
- ม.อ.ก.107
- ม.อ.ก. 276
- BS 1387
- JIS G3444
- JIS G3452(SGP)
- ASTM A500
- AS 1163
- EN 10219
Spec ขนาดของท่อเหล็กดำ และเหล็กกล่อง สำหรับใช้ประกอบเป็นโครงสร้างอาคาร (Steel structures)
ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
สำหรับท่านที่สนใจ
สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center 02-285-2700
Website : www.cotcometalworks.co.th ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.
ผู้เขียนบทความ
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ... อ่านเพิ่มเติม