Column Steel Structure “โครงสร้างเสาเหล็ก”สำหรับงานสถาปัตยกรรมที่ต้องการโชว์ Space & Structure

ในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม (Architecture Structure) ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้วัสดุอยู่สองรูปแบบคือ โครงสร้างคอนกรีต หรือ โครงสร้างเหล็ก (ส่วนใหญ่เป็นเหล็ก H-Beam) ซึ่งรูปแบบของโครงสร้างหลักระบบต่างๆมักจะมีลักษณะตามหลักคำนวณการรับน้ำหนัก และความปลอดภัยทางด้านวิศวกรรม เช่น  

  • ระบบเสาคานทั่วไป
  • ระบบ Shear wall
  • ระบบ Shear Truss and Rigid Frame
  • ระบบ Braced Frame 
  • ระบบ Diagrid 

โครงสร้างหลักของอาคารส่วนใหญ่มักจะโดนปิดทับด้วยวัสดุปิดผิวต่างๆ หรือ อาจมีโชว์โครงสร้างบ้างนิดหน่อยแต่ก็ไม่ได้ให้ความหวือหวา แปลกตาเท่าใดนัก นอกจากนี้โครงสร้างหลักของอาคารยังถูกกำหนดควบคุมด้วยหลักการคำนวณทางด้านวิศวกรรม กฏหมายควบคุมอาคารด้านความปลอดภัย จึงทำให้มีความยืดหยุ่นในด้านการออกแบบรูปทรงค่อนข้างจำกัด

ดังนั้นถ้าจะออกแบบโครงสร้างให้มีความหวือหวา และถูกต้องตามหลักทางด้านวิศวกรรม และกฏหมายควบคุมอาคารด้านความปลอดภัยเลยตั้งแต่ต้น (Deconstruction Architecture Design) เช่น ตึก CCTV Beijing ,ตึก Capital Gate Abu Dhabi ฯลฯ ปัญหาที่จะตามมาคืองบประมาณที่สูงขึ้นมากกว่าเท่าตัวตามความยากง่ายของรูปทรง และการคำนวณทางด้านวิศวกรรมที่ซับซ้อน และมีความยากขึ้นมาก จึงไม่ค่อยได้ความนิยมมากนักในประเทศไทย

ในขณะที่โครงสร้างรับน้ำหนักรอง (Cover Structure) หรือ โครงสร้างเสริมที่ทำหน้าที่เป็นเฟรม หรือ เสาค้ำสำหรับช่วยพยุงรับน้ำหนักรองจากโครงสร้างหลัก ยังพอมีความยืดหยุ่นในการออกแบบให้เกิดความงดงามหวือหวาได้ พร้อมๆกับการช่วยพยุงรับน้ำหนักรองจากโครงสร้างหลักของอาคารได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งการออกแบบลักษณะนี้มีให้เห็นอย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย

โครงสร้างรับน้ำหนักรอง (Cover Structure) ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะเป็นเสาค้ำ หรือ เฟรมโครงถัก มักจะใช้วัสดุประเภทเหล็กกลม เหล็กกล่อง ฯลฯ โดยจุดเด่นของโครงสร้างรับน้ำหนักรอง นอกจากจะโชว์ความหวือหวา สวยงามได้อย่างเด่นชัดแล้วนั้น การที่สามารถช่วยพยุงรับน้ำหนักรองจากโครงสร้างหลักได้ ยังช่วยให้ Space ในบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่ ที่กว้าง และสูงขึ้นได้อย่างโดดเด่น (Double Space) และถ้าหากผสมผสานกับ Lighting Design ในยามค่ำคืน ก็ช่วยช่วยให้โครงสร้างรับน้ำหนักรอง และสถาปัตยกรรมนั้นๆมีมูลค่า และมีความงดงาม ด้วยอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร

สำหรับในประเทศไทยนั้น เหล็กที่สามารถนำมาประกอบทำโครงสร้างรับน้ำหนักรอง (Cover Structure) แบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหล็กกลม หรือ เหล็กกล่อง จะต้องได้รับมาตรฐานดังนี้ 

  • ม.อ.ก.107
  • ม.อ.ก. 276 
  • BS 1387
  • JIS G3444
  • JIS G3452(SGP)
  • ASTM A500
  • AS 1163
  • EN 10219 

Spec ขนาดของท่อเหล็กดำ และท่อเหล็กตะเข็บเกลียว​ (Spiral)  สำหรับใช้ประกอบเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักรอง (Cover Structure)

ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

  • ท่อเหล็กตะเข็บเกลียว

    งานระบบประปา ท่อประปา

    ราคาเริ่มต้น 30 บาท/กิโลกรัม

    Online
  • ท่อเหล็กดำ เหล็กกล่อง

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 35 บาท/กิโลกรัม

    Online

สำหรับท่านที่สนใจ 

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center  02-285-2700​ ​

Website : www.cotcometalworks.co.th  ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.​

บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จำกัด / COTCO METAL WORKS LIMITED
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ