รูปแบบโครงสร้าง Space frame และ Space Truss ในงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก

โครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ (Space frame) 

โครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ (Space Frame) จัดเป็นโครงสร้างช่วงพาดกว้าง หรือ โครงสร้างช่วงยาว ที่มักจะใช้กับงานออกแบบที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องการให้มีเสารับน้ำหนักมาค้ำกีดขวางพื้นที่การใช้งาน

โครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ มีลักษณะ Pattern ที่เลียนแบบจากธรรมชาติ เช่น รังผึ้ง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม เป็นต้น จากนั้นนำมาต่อกันเป็นผืนเฟรมขนาดใหญ่จนอาจมีรูปทรงคล้ายโครงสร้างอะตอม โดยมีจุดรับน้ำหนักตามมุม ซึ่งถ้าหากมองเผินอาจจะมีลักษณะคล้ายๆกับโครงสร้างแบบระนาบโครงถัก 3 มิติ (Space Truss) แต่จะต่างกันที่โครงสร้างแบบระนาบโครงถัก 3 มิติ จะถูกวางในลักษณะการพาด ในขณะที่โครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ จะเป็นเฟรมโครงสร้างแบบแผ่ (มีขนาดความยาว และความกว้างที่ค่อนข้างมาก) ที่ถูกวางปกคลุมพื้นขนาดใหญ่

สำหรับโครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ ในด้านการใช้งานมักจะถูกนำมาทำเป็นโครงสร้างหลังคาในอาคารขนาดใหญ่เสียเป็นส่วนมาก อาทิเช่น

  • โครงหลังคาโรงอาหาร 
  • โครงหลังคาหอประชุม หรือ โรงมหรสพขนาดใหญ่
  • โครงหลังคาโรงยิม
  • โครงหลังคาสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่
  • โครงหลังคาห้องโถงนิทรรศการ
  • โครงหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม
  • โครงหลังคาศูนย์จัดแสดงสินค้า
  • โครงหลังคาศูนย์การค้า 
  • โครงหลังคาสถานีรถไฟ สนามบิน และสถานีขนส่ง
  • โครงหลังคาโดมอเนกประสงค์

โครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ (Space Frame) เป็นโครงสร้างที่มีส่วนประกอบหลักๆ คือ

  • Node คือ ส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่รับ และถ่ายเทน้ำหนักไปในทิศทางต่างๆ
  • Pipe or Tubd Member คือ ส่วนของท่อที่มีความแข็งแรง เป็นส่วนความยาวของโครงสร้าง
  • Sleeve คือ ส่วนต่อเชื่อมระหว่าง Node และ Pipe
  • Drift คือ หมุดยึดที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆให้เป็นระบบโครงสร้างอิสระ 3 มิติ

โครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ มักนิยมทำมาจากวัสดุเหล็กเนื่องจากมีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักที่ดี มีความคงทน และมีคุณสมบัติในการต้านภัยธรรมชาติได้ดี เนื่องจากเหล็กมีความยืดหยุ่นและรับการบิดได้มากกว่าโครงสร้างที่ทำจากวัสดุอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถประกอบติดตั้งได้เร็วอีกด้วย

โครงสร้างแบบระนาบโครงถัก 3 มิติ​ (Space truss) 

โครงสร้างแบบระนาบโครงถัก 3 มิติ​ (Space truss) จัดเป็นหนึ่งในโครงสร้างช่วงพาดกว้าง หรือ โครงสร้างช่วงยาว มีลักษณะหน้าตัดทั้งแบบสามเหลี่ยม และแบบสี่เหลี่ยม สามารถพบเห็นได้ในอาคารประเภทต่างๆ อาทิเช่น 

  • โรงอาหาร 
  • หอประชุม หรือ โรงมหรสพขนาดใหญ่
  • โรงยิม
  • สนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่
  • ห้องโถงนิทรรศการ
  • โรงงานอุตสาหกรรม
  • ศูนย์จัดแสดงสินค้า
  • ศูนย์การค้า 
  • สถานีรถไฟ สนามบิน และสถานีขนส่ง
  • โดมอเนกประสงค์

องค์ประกอบของโครงสร้างแบบระนาบโครงถัก 3 มิติ​ (Space truss) ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนย่อยที่เชื่อมต่อเข้าหากันด้วยจุดยึดหมุนได้ (Hinges) โดยมีลักษณะเป็นรูปร่างแบบโครงสามเหลี่ยม (Triangulated Patterns)

ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะรับเพียงแรงตามแนวแกนและแรงจะมีขนาดคงที่ตลอดความยาวของชิ้นส่วนนั้นๆ โดยจุดรองรับของโครงสร้างจะเป็นแบบหมุนได้ (Hinges) หรือไม่ก็แบบเลื่อนได้ (Roller) แต่ในบางกรณีก็สามารถยึดให้แน่นได้โดยวิธีการเชื่อม

 

โครงสร้างประเภทนี้มักจะถูกวางในลักษณะโครงสร้างช่วงพาดกว้าง (Wide Span or Long Span Space Truss) และโครงสร้างยื่น (Cantilever Space Truss) โดยนิยมทำมาจากเหล็กท่อกลม เหล็กแชนแนล หรือ เหล็กกล่อง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรูปแบบการใช้งาน

สำหรับในประเทศไทยนั้น เหล็กที่สามารถนำมาประกอบทำโครงถัก (Truss structures) แบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหล็กกลม หรือ เหล็กกล่อง จะต้องได้รับมาตรฐานดังนี้ 

  • ม.อ.ก.107
  • ม.อ.ก. 276 
  • BS 1387
  • JIS G3444
  • JIS G3452(SGP)
  • ASTM A500
  • AS 1163
  • EN 10219 

Spec ขนาด และความหนาของท่อเหล็กดำ สำหรับใช้ประกอบเป็นโครงถัก (Truss structures)

ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

  • ท่อเหล็กดำ เหล็กกล่อง

    โครงสร้าง เหล็ก

    ราคาเริ่มต้น 35 บาท/กิโลกรัม

    Online

สำหรับท่านที่สนใจ 

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center  02-285-2700​ ​

Website : www.cotcometalworks.co.th  ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.

บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จำกัด / COTCO METAL WORKS LIMITED
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ