รูปแบบโครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures) ในงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก
โครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures)
โครงถักในงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโครงข้อหมุน เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการนำเอาชิ้นส่วนวัสดุอย่างเหล็ก และไม้เนื้อแข็ง (ส่วนมากนิยมใช้เหล็ก) มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ
โดยยึดปลายทั้งสองของชิ้นส่วนต่างๆให้ยึดติดกัน และสามารถถ่ายแรงเฉือน แรงตามแนวแกน และโมเมนต์ดัดให้กันได้อย่างทั่วถึงด้วยวิธีการเชื่อม การใช้หมุดย้ำ หรือ การใช้น๊อต เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา รับน้ำหนักได้มาก ให้ความสวยงาม และสามารถวางพาดในรูปแบบโครงสร้างช่วงพาดกว้าง หรือ โครงสร้างช่วงยาวได้ โดยไม่ต้องมีเสามาค้ำตรงกลาง เพื่ออรรถประโยชน์ในการใช้งานพื้นที่ได้สูงสุด และลดการบดบังทัศนียภาพจากเสาค้ำที่อยู่ภายในอาคาร
โครงทรัส หรือ โครงถักนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างทางวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆมากมาย อย่างเช่น
- โครงหลังคาโรงอาหาร
- โครงสร้างรับน้ำหนักอัฒจรรย์
- โครงสร้างอาคารขนาดกลาง-ใหญ่พิเศษ
- โครงหลังคาหอประชุม หรือ โรงมหรสพขนาดใหญ่
- โครงหลังคาสนามกีฬาในร่ม
- โครงหลังคาสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่
- โครงหลังคาห้องโถงนิทรรศการ
- โครงหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม
- โครงหลังคาศูนย์จัดแสดงสินค้า
- โครงหลังคาศูนย์การค้า
- โครงหลังคาสถานีรถไฟ สนามบิน และสถานีขนส่ง
- โครงหลังคาโดมอเนกประสงค์
- โครงสร้างสะพาน และอาคารพิเศษแบบต่างๆ
โดยหลักการออกแบบแล้ว ประเภทของโครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- โครงถักอย่างง่าย หรือ โครงถักแบบดีเทอร์มิเนทสแตติกส์ (Statically Determinate Truss) เป็นรูปแบบโครงถักที่สามารถวิเคราะห์หาค่าแรงกระทำต่างๆได้ด้วยสมการสมดุล
- โครงถักอย่างยาก หรือ โครงถักแบบอินดีเทอร์มิเนทสแตติกส์ (Statically Indeterminate Truss) เป็นรูปแบบโครงถักที่จำเป็นต้องคำนวณหาค่าแรงกระทำต่างๆด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งจะแปรผันไปตามรูปแบบของโครงถักในการนำไปใช้งานกับโครงสร้างที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน
ในขณะเดียวกันรูปแบบของโครงถัก ก็สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 รูปแบบ คือ
- โครงถักแบบโครงหลังคา
- โครงถักแบบโครงสะพาน
- โครงถักแบบโค้งประทุน
โครงถักโดยทั่วไปทำจากเหล็ก และไม้ แต่ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้เหล็ก แม้เหล็กจะมีราคาที่สูงกว่าไม้ แต่เนื่องจากเหล็กมีความเหนียวคงทนต่อแรงกระทำในระนาบต่างๆได้ดี ประกอบติดตั้งได้เร็ว มีคุณสมบัติในการต้านภัยธรรมชาติได้ดี เนื่องจากเหล็กมีความยืดหยุ่นและรับการบิดได้มากกว่าโครงถักที่ทำจากไม้ อีกทั้งยังสามารถทำโครงถักสำหรับโครงสร้างช่วงพาดกว้าง หรือ โครงสร้างช่วงยาว ในอาคารขนาดกลาง-ใหญ่พิเศษได้ ซึ่งโครงถักไม้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำได้นั่นเอง
สำหรับในประเทศไทยนั้น เหล็กที่สามารถนำมาประกอบทำโครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures) แบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นเหล็กกลม หรือ เหล็กกล่อง จะต้องได้รับมาตรฐานดังนี้
- ม.อ.ก.107
- ม.อ.ก. 276
- BS 1387
- JIS G3444
- JIS G3452(SGP)
- ASTM A500
- AS 1163
- EN 10219
Spec ขนาด และความหนาของท่อเหล็กดำ สำหรับใช้ประกอบเป็นโครงทรัส หรือ โครงถัก (Truss structures)
ดูรายละเอียดสินค้า "ท่อเหล็กดำ และเหล็กรูปพรรณตัวซี" ได้ที่
สำหรับท่านที่สนใจ
สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center 02-285-2700
Website : www.cotcometalworks.co.th ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.
ผู้เขียนบทความ
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ... อ่านเพิ่มเติม