เทรนด์การออกแบบประสบการณ์โรงแรม ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ "Hotel Trend 2020"

“Hotel Design Forum” งานสัมมนาด้านการออกแบบโรงแรม ประจำปี 2019

บรรยายโดย คุณนทีพร คำเจริญ (Senior Future Lab Researcher Baramizi Lab) ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีเสิร์ชและวิจัยเทรนด์ จาก Baramizi Lab

กับหัวข้อ Hotel Trend 2020 เทรนด์การออกแบบประสบการณ์โรงแรม ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานวิจัยเทรนด์ อันเกิดจากจุดเริ่มต้นของความต้องการทราบถึงคอนเซ็ปต์ดีไซน์การออกแบบโรงแรม ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ โดยแบ่งเทรนด์การออกแบบประสบการณ์โรงแรม ออกเป็นทั้งหมด 7 เทรนด์ ได้แก่

ขอบคุณภาพจาก inhabitat

1. Panoramic Synergy โรงแรมที่สร้างประสบการณ์ในการผสานพลังระหว่างคนกับธรรมชาติโดยสมบูรณ์

ตัวขับเคลื่อนให้เกิดเทรนด์นี้ >> ความเหน็ดเหนื่อยและความเครียดจากการทำงาน และปัญหาในชีวิตประจำวัน ความกดดันจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ความเหนื่อยล้าตั้งแต่ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

Needs (ความต้องการอันเกิดจากการขับเคลื่อน) >> ความต้องการออกเดินทางท่องเที่ยว เพื่อผสานร่างกายและจิตใจตนเองให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ปรับสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อความพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตอีกครั้ง

Concept การออกแบบโรงแรมจากเทรนด์นี้ แบ่งเป็น 2 คอนเซ็ปต์ ดังนี้

  • Seamless การเข้าถึงธรรมชาติแบบไร้รอยต่อ เช่น โรงแรมที่ให้คุณสัมผัสธรรมชาติได้จากทุกมุม และทุกห้องของโรงแรม ด้วยการใช้กระจกใส บานเต็ม ขนาดใหญ่ เพื่อให้เห็นวิว Panorama และสร้างสถาปัตยกรรมที่ไร้การปิดกั้นระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และ โรงแรมที่ออกแบบเป็นโดม สีใส มีแต่พลาสติกใสกั้นระหว่างผู้เข้าพักและธรรมชาติ แต่ก็มีข้อควรระวังในเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
  • The Oasis การสร้างระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ นิยมใช้กับพื้นที่ในเมือง เช่น โรงแรมที่สร้างระบบนิเวศขึ้นมาภายในบริเวณโดยรอบ ประกอบไปด้วยป่าและสวนลอยฟ้า รวมถึงต้นไม้บนฟาซาดอาคาร

ขอบคุณภาพจาก urlaubsarchitektur

2. Absolute Serenity โรงแรมที่สร้างประสบการณ์แห่งความสงบโดยสมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

ตัวขับเคลื่อนให้เกิดเทรนด์นี้ >> ความเหน็ดเหนื่อยและความเครียดจากการทำงาน และปัญหาในชีวิตประจำวัน ความกดดันจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ความเหนื่อยล้าตั้งแต่ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

Needs (ความต้องการอันเกิดจากการขับเคลื่อน) >> ความต้องการออกเดินทางท่องเที่ยว เพื่อพักผ่อนและหลีกหนีจากความวุ่นวาย ชำระจิตใจที่ยุ่งเหยิง โดยการปลีกวิเวกไปอยู่ในสถานที่สงบ เพื่อพร้อมกลับมาใช้ชีวิตในเมืองอีกครั้ง

Concept การออกแบบโรงแรมจากเทรนด์นี้ แบ่งเป็น 2 คอนเซ็ปต์ ดังนี้

  • Sanctuary Ray แสงแห่งการชำระล้าง เช่น การออกแบบพื้นที่ให้แสงสาดเข้ามาในตัวอาคาร จนเกิดความสงบ
  • Isolate Hut กระท่อมน้อยในป่าใหญ่ ความเงียบสงบที่เกิดจากการปลีกวิเวก อยู่กับธรรมชาติ เช่น โรงแรมขนาดกะทัดรัด ที่สามารถเคลื่อนย้ายหรือหย่อนตัวในป่าได้ทุกที่ สัมผัสวิวเหนือระดับยิ่งกว่าโรงแรมระดับ 5 ดาว

ขอบคุณภาพจาก designboom

3. Nature Trail โรงแรมที่สร้างประสบการณ์ที่เหมือนเราได้ออกเดินทางและผจญภัยเพื่อศึกษาธรรมชาติ

ตัวขับเคลื่อนให้เกิดเทรนด์นี้ >> การเสพข่าวที่รุนแรง เช่น ข่าวปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ความกลัวภัยธรรมชาติ และการเสื่อมโทรมพังทลายของโลก (Dystopia World)

Needs (ความต้องการอันเกิดจากการขับเคลื่อน) >> สำรวจและเรียนรู้เพื่ออยู่กับธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างเท่าเทียม รวมถึงการใช้ชีวิตอิสระท่ามกลางธรรมชาติ

Concept การออกแบบโรงแรมจากเทรนด์นี้ แบ่งเป็น 2 คอนเซ็ปต์ ดังนี้

  • New Contemplation การพิจารณาโลกในมุมมองใหม่ เช่น ร้านอาหารใต้ท้องทะเล โรงแรมเรือเหาะ ที่ลอยอยู่บนอากาศ
  • Nomad เข้าถึงธรรมชาติแบบนักเดินทางเร่ร่อน เช่น รถบ้าน ที่มีการดีไซน์ให้สะดวกสบายเหมือนโรงแรม มีระเบียงที่พับเข้าออกได้ รถเช่าที่ถูกแปรสภาพเป็นห้องพัก  

ขอบคุณภาพจาก visitnorway

4. World-Shifters โรงแรมที่ให้ประสบการณ์ในการลงมือทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นกว่าเดิม

ตัวขับเคลื่อนให้เกิดเทรนด์นี้ >> การเสื่อมโทรมและพังทลายของโลก (Dystopia World), ปัญหาสิ่งแวดล้อม, การแสดงจุดยืนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

Needs (ความต้องการอันเกิดจากการขับเคลื่อน) >> การลงมือทำให้โลกใบนี้เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

Concept การออกแบบโรงแรมจากเทรนด์นี้ แบ่งเป็น 2 คอนเซ็ปต์ ดังนี้

  • Awareness สร้างการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น โรงแรมท่ามกลางธารน้ำแข็งในประเทศนอร์เวย์ โรงแรม Eco จากวัสดุสังเคราะห์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (เพชรชวารอฟสกี้ ประดับเป็นหยดน้ำ) หรือการสร้างความตระหนักถึงประเด็นทางสังคม กับโรงแรมที่ออกแบบมาเพื่อ LGBT โดยเฉพาะ ซึ่งทุกมุมภายในโรงแรมจะสื่อถึงความเท่าเทียมทางเพศ โรงแรมที่เป็นมิตรกับชาวมุสลิม ประกอบไปด้วย ห้องละหมาด อาหารฮาลาล และอุปกรณ์ละหมาดให้เช่า
  • Social Support ได้ช่วยเหลือสังคมทันทีที่เข้าพัก เช่น โรงแรมที่รายได้ถูกนำไปช่วยเหลือ และแก้ปัญหาทางสังคม โรงแรมที่รีโนเวทเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โรงแรมที่ทำเหมือนศูนย์จัดแสดงเฟอร์นิเจอร์ให้ผู้เข้าพักสามารถซื้อของได้ทันที

ขอบคุณภาพจาก dezeen

5. Elsewhere โรงแรมที่ให้ความรู้สึกเหมือนหลุดไปยังสถานที่ที่ไม่มีอยู่ในโลกใบนี้

ตัวขับเคลื่อนให้เกิดเทรนด์นี้ >> ความเหน็ดเหนื่อยและความเครียดจากปัญหาในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด การออกสำรวจทางอวกาศ  

Needs (ความต้องการอันเกิดจากการขับเคลื่อน) >> ตื่นเต้นและกระหายที่จะออกเดินทางเพื่อพาตัวเองหนีออกไปจากโลกแห่งความจริงชั่วขณะ

Concept การออกแบบโรงแรมจากเทรนด์นี้ แบ่งเป็น 2 คอนเซ็ปต์ ดังนี้

  • Floating in Space ลอยล่องไปในอวกาศ เช่น โรงแรมไร้มนุษย์ ทุกอย่างดำเนินการผ่านหุ่นยนต์และ AI ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่สร้างความรู้สึกเหมือนอยู่ในอวกาศ
  • Black Magic ดินแดนแห่งมนต์ดำ เช่น โรงแรมที่มีการตกแต่งแสงไฟ เสมือนได้รับพลังลึกลับจากดวงดาว เสมือนถูกมนต์สะกด โรงแรมที่นำเรื่องมนุษย์หมาป่า หมอผี มาเปนธีมหลัก โดยมีกิจกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ ไสยศาสตร์ ให้ผู้เข้าพักมาทำกิจกรรม โดยมีจุดประสงค์เชิงบวก

6. Instagramable โรงแรมที่ให้ประสบการณ์เหมือนอยู่ในสตูดิโอถ่ายภาพ

ตัวขับเคลื่อนให้เกิดเทรนด์นี้ >> เกิดจากความต้องการสร้างตัวตนในสังคม ต้องการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

Needs (ความต้องการอันเกิดจากการขับเคลื่อน) >> ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสตูดิโอถ่ายภาพ เพื่อเรียกยอดไลค์ ยอดแชร์

Concept การออกแบบโรงแรมจากเทรนด์นี้ แบ่งเป็น 2 คอนเซ็ปต์ ดังนี้

  • Solarium Pallettes จัดจ้านด้วยสีสู้แดด เช่น โรงแรมที่แต่ละห้องเลือกใช้สีหลักเพียงสีเดียว และเป็นสีฉูดฉาด ผสมสีขาว ในการตกแต่ง จนอดไม่ได้ที่จะเข้าไปถ่ายรูป
  • Catchy Monument อนุสาวรีย์เรียกเสียงแฟลช เช่น โรงแรมที่ตัวตึกเปนรูปกีตาร์ โรงแรมที่มีบันไดเลื่อนโด่งดัง ได้รับความนิยมในอินสตาแกรม ใครที่ได้มาเยือนก็ต้องถ่ายรูปกับบันไดเลื่อนภายในโรงแรมนี้

ขอบคุณภาพจาก scontent

7. Extraordinary โรงแรมที่ให้ประสบการณ์ที่เหนือธรรมดา

ตัวขับเคลื่อนให้เกิดเทรนด์นี้ >> เกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความต้องการสร้างตัวตนที่แตกต่าง

Needs (ความต้องการอันเกิดจากการขับเคลื่อน) >> ความต้องการออกเดินทางเพื่อสร้างเรื่องราวในชีวิตของตนที่มีเอกลักษณ์ สะท้อนตัวตนที่แตกต่าง แปลกใหม่กว่าคนธรรมดา หาแรงบันดาลใจใหม่ ปลุกพลังงานคนรุ่นใหม่ในร่างกาย

Concept การออกแบบโรงแรมจากเทรนด์นี้ แบ่งเป็น 2 คอนเซ็ปต์ ดังนี้

  • Activated ปลุกพลังให้ตื่นตัว เช่น โรงแรมที่สร้างบรรยากาศและกระตุ้นให้รู้สึกกระตือรือร้น มีการเล่นกับการซ้อนกันของเส้นวงกลมเพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนกำลังกระโดดลงน้ำ (เปรียบได้กับการเกิดใหม่)
  • Mad Max บ้าให้แหวก แปลกให้สุด เช่น เปลี่ยนโรงแรมให้กลายเป็นของสะสม ที่ต้องกลับมาเก็บให้ครบทุกแบบ โรงแรมที่สื่อสารด้วยแคมเปญโฆษณากวนๆ อาทิ การให้ใช้ถุงเท้าเช็ดก้นภายในห้องน้ำ ให้ใช้ม่านเช็ดผมแทนไดร์เป่าผมกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ด้วยที่นอนภายในโรงแรมที่มีไรฝุ่นจำนวนมาก

ขอบคุณภาพจาก the-collectionist

สามารถติดตามอ่านบทความอัพเดททุกเรื่องราวที่น่าสนใจในวงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบ รวมถึงข่าวสารการจัดกิจกรรมดีๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ที่ Wazzadu.com นะครับ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ