พบเรื่องน่ารู้ก่อนใช้เหล็ก ให้ทุกการใช้งานได้ประสิทธิภาพสูงสุด!

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงมาตรฐานเหล็กเส้นฉบับใหม่ ซึ่งเมื่อเทียบกับมาตรฐานฉบับเดิม ก็มีความแตกต่างและมีข้อกำหนดเพิ่มเติมมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่ได้รับอนุญาต มอก. ฉบับเดิม เนื่องจากใบอนุญาตเดิมจะถูกยกเลิก และต้องทำการขอใหม่ภายใน 180 วัน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลือกใช้เหล็กเส้นก่อสร้างและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งหากไม่มีการควบคุมเหล็กที่ได้มาตรฐาน จะก่อให้เกิดการทะลักเข้ามาของเหล็กที่ไม่ได้คุณภาพอย่างควบคุมไม่ได้

มาดูกันครับ ว่ามอก.ฉบับใหม่ จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

จากเดิมเหล็กข้ออ้อยจะเป็น มอก. 24-2548 ถูกเปลี่ยนเป็น มอก. 24-2559 ส่วนเหล็กเส้นกลมจาก มอก. 20-2543 เป็น มอก. 20-2559 โดยมีสิ่งที่เพิ่มเติมจากฉบับเดิมดังนี้

 

1. เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจวัดค่าเคมี ในเนื้อเหล็ก 
เพิ่มการตรวจสอบ ควบคุมค่าเคมี ที่มีอยู่ในเนื้อเหล็ก อย่างเข้มงวดมากขึ้น โดยจากเดิม เป็นเพียงการตรวจสอบ ค่าเคมี เพียง 5 ชนิด เท่านั้น แต่สำหรับ มอก. ฉบับใหม่ 2559 นี้ ได้มีการเพิ่มการตรวจค่าเคมี ถึง 19 ชนิดในการรับรองคุณภาพ ได้แก่ Al, Mo, B, Ni, Cr, Co, Cu, Nb, Ti, Pb, Si, V, W, Zr

 

2. เพิ่มชื่อผู้นำเข้าให้เป็นสัญลักษณ์ลงบนเนื้อเหล็ก 
มาตรฐานใหม่ของมอก.เหล็ก 2559ต้องการให้ผู้ใช้งานได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี ในกรณีที่เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพของเหล็ก ก็สามารถร้องเรียนหรือขอชดเชยจากผู้ผลิตสินค้าได้ จึงระบุให้เหล็กต้องมีชื่อผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน เช่น TATA TISCON ทุกเส้น แต่สำหรับเหล็กนำเข้า การติดต่อผู้ผลิตซึ่งอยู่ต่างประเทศอาจเป็นไปได้ยาก ในมาตรฐานใหม่จึงระบุให้เพิ่มชื่อผู้นำเข้าลงบนเหล็กทุกเส้น เพื่อเป็นด่านแรกในการรับผิดชอบติดต่อผู้ผลิตจากต่างประเทศ ให้กับผู้ใช้งานในการร้องเรียนสินค้าหรือชดเชยค่าเสียหาย

3. เพิ่มสัญลักษณ์ บอกถึงกรรมวิธีการทำแท่งเหล็ก
ระบุสัญลักษณ์ จำแนกกรรมวิธีการผลิต เพื่อให้ตรงจุดประสงค์ในการใช้เหล็กเส้นที่เหมาะสมกับลักษณะงาน และยังเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคเลือกใช้ได้อีกด้วย โดยเตาหลอมเหล็กต้องมีขนาด 5 ตัน ขึ้นไป สำหรับในประเทศไทยจะแบ่งเตาเป็น 2 ชนิด ได้แก่ EF และ IF


EF 
หลอมละลายเหล็กด้วยเตาอาร์คไฟฟ้าทำให้เหล็กร้อนจนกลายเป็นน้ำเหล็ก กำจัดสิ่งสกปรกให้ลอยเหนือน้ำเหล็ก เป็นตะกรัน ช่วยให้ได้เหล็กที่สะอาดไม่มีสิ่งสกปรกมาเจือปน 


IF 
เตาหลอมเหล็กให้ละลายด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้าให้เกิดความร้อน จนเป็นน้ำเหล็ก จากนั้นจะเติมธาตุที่จำเป็น ซึ่งเหล็กที่ผลิตจากเตาชนิดนี้จะต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่สะอาดมาใช้ในการผลิต เพราะไม่มีกระบวนการกำจัดสิ่งสกปรกที่ปนมานั่นเอง

นอกจาก 3 เกณฑ์หลักที่เพิ่มขึ้นเพื่อคัดกรองคุณภาพเหล็กแล้ว ยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ดังนี้ ต้องคัดแยกและควบคุมคุณภาพเศษเหล็กอย่างเข้มงวด ทำน้ำเหล็กให้บริสุทธิ์อย่างเหมาะสมด้วยการลด P, S และสารฝังใน มีมาตรฐานการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นเหล็กกล้าไม่เจือเป็นต้น

มอก. ฉบับใหม่นี้ จะช่วยควบคุมมาตรฐานเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย เพื่อให้ได้เหล็กที่แข็งแกร่ง คุณภาพดี จากการตรวจสอบการผลิตและค่าเคมีอย่างเข้มงวด เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกใช้เหล็กเส้นก่อสร้างและสร้างความปลอดภัย ไว้วางใจต่อผู้บริโภคนั่นเอง

เห็นเกณฑ์ควบคุมการผลิตกันไปแล้ว หากยังไม่มีแบรนด์ที่เป็นตัวเลือกในใจละก็ เราขอแนะนำ TATA TISCON ครับ เพราะผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น โดยเฉพาะเหล็กข้ออ้อยและเหล็กเส้นกลม ล้วนผ่านมาตรฐานและควบคุมการผลิตอย่างดี

โดย TATA TISCON เป็นแบรนด์ผู้ผลิตเหล็กชั้นนำที่จัดตั้งมาอย่างยาวนาน พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญในการผลิต อีกทั้งด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี จึงทำให้ได้รับความไว้วางใจในโปรเจกต์ยักษ์มากมาย อาทิ สนามบินสุวรรณภูมิ ไอคอนสยาม และรถไฟฟ้าสายต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างสินค้าเทียบเคียง

  • เหล็กเส้นกลม (Round Bars)

    โครงสร้าง เหล็ก

    Online
  • Online
  • Online

สอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ TATA TISCON call center: 02-315-7550

Email: tatatiscon.th@gmail.com, FB: TataTisconTH, Line@: @tiscon

 

#Wazzadu #TATASteel #TATATiscon #Steel #เหล็ก #เหล็กโครงสร้าง

#SD50 #Rebar #เหล็กข้ออ้อย #Stirrup #เหล็กเต็ม #เหล็กมอก #เหล็กปลอก

TATA Steel แบรนด์เหล็กเส้นที่ขายดีที่สุดในประเทศไทย
ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปีเป็นโรงงานผลิตเหล็กที่จัดตั้งยาวนานที่สุดพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในการผลิต และยังได้รับความไว้วางใจในโปรเจคที่มีชื่อเสียง รวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ไอคอนสยาม และรถไฟฟ้าสายต่างๆ

โทรศัพท์ 02-937-1000
โทรสาร 02-937-1646-47 ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ