ห้องเก็บเสียง

ห้องเก็บเสียง

ห้องเก็บเสียงมีวัตถุประสงค์เพื่อกันเสียงของแหล่งกำเนิดเสียงที่อยู่ภายในห้อง ไม่ให้ส่งเสียงดังทะลุผ่านออกมานอกห้องหรือมีเสียงดังผ่านผนังห้องออกมาให้น้อยที่สุด ห้องเก็บเสียงจะมีทั้งแบบทึบที่ไม่มีระบบระบายอากาศเลย และแบบที่เปิดเป็นบางส่วนเพื่อให้มีการระบายความร้อนหรือหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายของอากาศภายในห้อง ปัจจุบันห้องเก็บเสียงที่เรารู้จักหรือพบเห็นกันมากได้แก่

ห้องเก็บเสียงโฮมเธียเตอร์ (home-theater room)

ท่านที่ชอบดูหนังและฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจ การมีห้องเก็บเสียงไว้ในบ้านสำหรับผ่อนคลายด้วยการชมภาพยนต์หรือฟังเพลงที่ตัวเองชื่นชอบ นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้ระบบแสง สี เสียงและภาพจากอุปกรณ์หรือเครื่องเล่นในห้องนั้นเลย ห้องเก็บเสียงหรือห้องโฮมเธียเตอรนี้ จะมีหน้าที่หลักหรือฟังก์ชั่นอย่างน้อยสองประการ อย่างแรกคือต้องทำให้เสียงภายในห้องกลมกล่อมหรือมีเสียงที่ก่อให้เกิดความสุข ขณะที่มีการใช้งานในห้องห้องนั้น อย่างที่สองคือระดับเสียงภายนอกห้องจะต้องไม่รบกวน ผู้ที่อยู่นอกห้องหรือผู้ที่ไม่ต้องการได้ยินเสียงภายในห้องนั้นขณะที่มีการใช้งาน ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นสำหรับห้องเก็บเสียงแบบนี้คือ เจ้าของห้องหรือผู้ออกแบบบางท่านมักละเลยหรือไม่ได้คิดถึงความดังเสียง ที่จะทะลุผ่านออกมาด้านนอกและไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่เพื่อนบ้าน หรือสมาชิกภายในบ้านที่ต้องการความเงียบ

ห้องเก็บเสียงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator room)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟจะส่งเสียงดังเกินกว่า 85 dBA เมื่อมีการทำงาน บางกรณีจะวัดระดับเสียงเฉลี่ยได้เกินกว่า 100 dBA กรณีที่เครื่องปั่นไฟอยู่ใกล้แหล่งชุมชนหรือมีระดับเสียงดังรบกวนมาก ห้องเก็บเสียงพร้อมระบบระบายอากาศที่ดีก็ยิ่งจำเป็นมาก ข้อกำหนดทั่วไปของห้องเก็บเสียงแบบนี้คือ ระดับเสียงภายในห้องไม่ควรเกิน 85 dBA เมื่อเครื่องทำงาน และระดับเสียงภายนอกห้องไม่ควรเกิน 70 dBA หรือ 10 dBA จากระดับเสียงพื้นฐาน ขณะไม่มีการรบกวน

ห้องเก็บเสียงเครื่องเติมอากาศ (rotary air blowers room)

ปัญหาของห้องเก็บเสียงเครื่องเติมอากาศที่พบกันคือ ความร้อนสะสมภายในห้องที่สูงขึ้นมากจนทำให้อุณหภูมิน้ำมันพุ่งสูงขึ้นจนแทบไม่มีความเป็นน้ำมันเหลืออยู่ การออกแบบห้องเก็บเสียงสำหรับเครื่องเติมอากาศ (โดยเฉพาะเครื่องขนาดใหญ่ที่อยู่ในห้องเล็ก) จึงต้องให้ความสำคัญของการคำนวณระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นภายในห้อง ให้มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการคำนวณเรื่องระดับเสียงที่ต้องการให้ลดลง เพราะบางกรณีเราจะพบว่าเครื่องเติมอากาศมีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ไม่น้อยกว่า 26 วันต่อเดือน

 

ห้องเก็บเสียงเครื่องอัดแอมโมเนีย (ammonia compressors room)

เครื่องอัดแอมโมเนียจะมีทั้งเสียงและความร้อนเกิดขึ้นพร้อมกันขณะที่เครื่องมีการทำงาน บางครั้งสามารถใช้แจ็คเก็ตลดเสียง (acoustical jackets) เพื่อลดเสียงได้ แต่อาจจะได้ผลในการลดเสียงไม่เท่ากับการสร้างห้องเก็บเสียง ที่ต้องคำนึงถึงตอนออกแบบห้องเก็บเสียงสำหรับ ammonia compressors คือ ความสะดวกในการซ่อมบำรุงเครื่องประจำปี เนื่องจากจะต้องมีการรื้อถอดและใช้เครนยกบางชิ้นส่วนของเครื่องออกมา ดังนั้นห้องเก็บเสียงจึงควรเป็นแบบถอดได้ทุกด้านโดยเฉพาะด้านบน และสามารถประกอบกลับได้เหมือนเดิม ยกเว้นการต่อเติมห้องที่ไม่ต้องการผนังกันเสียงแบบถอดได้ เพราะไม่มีการใช้เครน

ห้องเก็บเสียงเครื่องบดย่อยพลาสติค (plastic recycling room)

ห้องเก็บเสียงเครื่องบดย่อยพลาสติค จะนิยมสร้างด้วยวัสดุประเภทใหญ่ หนา หนัก เนื่องจากเป็นเสียงกระแทกแบบต่อเนื่องขณะที่เครื่องย่อยทำงาน ประสิทธิภาพของห้องเก็บเสียงเครื่องย่อยควรมีค่า STC (Sound Transmission Class) ไม่น้อยกว่า STC60 สำหรับห้องเก็บเสียงที่จำเป็นต้องมีพนักงานอยู่ภายในห้องด้วย (manual load) จะต้องออกแบบและก่อสร้างให้มีระบบซับเสียงอยู่ภายใน เพื่อลดระดับความดังเสียงภายในห้องที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของพนักงาน ขณะที่เครื่องทำการบดย่อยชิ้นงาน

ที่มา : www.ฉนวนกันเสียง.com

เพิ่มเพื่อน

ภาพ : ห้องเก็บเสียง by @newtechinsulation
Heat & Sound Insulation
LINE ID: @newtechinsulation
ยินดีให้บริการ งานฉนวนกันความร้อน และฉนวนกันเสียง
โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสินค้าคุณภาพจากเยอรมนี ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
แผ่นซับเสียง ดูดซับเสียงได้อย่างไร
แนะนำสินค้า และบริการ
ฉนวนกันเสียงผนังเบา
การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
แผ่นซับเสียง คืออะไร

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ