อย่าให้ความเคยชินเป็นอุปสรรค เหล็กข้ออ้อย SD50 เหนือกว่าทุกด้าน จนคุณต้องอยากรู้จัก
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบจากการออกแบบแล้ว พบว่าการใช้เหล็กเส้นก่อสร้างชนิด SD 40 เปรียบเทียบกับ SD 50 แล้ว เหล็กเส้น SD 50 สามารถประหยัดปริมาณการใช้เหล็กเส้น ได้สูงถึง 10-21% ของการใช้เหล็กทั้งหมดในโครงการ ซึ่งการนำเหล็กไปใช้ในแต่ละส่วนของโครงสร้างนั้นมีรายละเอียดที่ต่างกันดังนี้
- เสาเข็มเจาะ ประหยัดได้ 18 %
- ฐานราก 16%
- เสา 18%
- คาน 12%
- พื้น 10%
- ผนังลิฟท์และกำแพงกันดิน 15%
ที่มาข้อมูล: สำรวจและเก็บข้อมูลจากโครงการก่อสร้างที่ใช้เหล็ก SD50 โดยทีมงานวิศวกรบริการคุณภาพเหล็กเส้น บมจ. ทาทา สตีล (ประเทศไทย) 2554
Information source: Survey and sample data collection obtained from construction projects that used SD50 by quality project engineer team from TATA Steel Thailand
คุณสมบัติเด่นของเหล็กเส้น TATA Tiscon (ทาทา ทิสคอน) คุณภาพ SD 50
- กระบวนการผลิตเหล็กข้ออ้อย ด้วยวิธี Thermo Mechanical Treatment (T.M.T) ที่จัดโครงสร้างภายในเนื้อเหล็กให้ได้คุณสมบัติความแข็งแกร่งทนทานที่ผิวด้านนอก ในขณะเดียวกันก็มีความเหนียวยืดหยุ่นสูงในแกนเหล็กด้านในทำให้สามารถดัดโค้งงอในวงแคบได้ โดยไม่ปริแตกได้ง่าย
- คุณสมบัติด้านกำลังที่มากกว่า จึงสามารถรับแรงดึงได้สูงกว่าเหล็ก SD 40 ทั่วไป
- ดัดโค้งได้มากกว่าเหล็ก SD 50 มาตรฐาน ไม่ปริแตกหักง่าย
ความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นหากเลือกใช้เหล็กเส้น ทาทา ทิสคอน ชั้นคุณภาพ SD50
- ลดต้นทุนงบประมาณเนื่องจากลดปริมาณการใช้เหล็กเส้นในโครงสร้าง ทดแทนการใช้เหล็ก SD30 และ SD40 รวมทั้งลดต้นทุนในงานส่วนอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง ค่าแรงงาน ค่าพื้นที่กองเก็บ
- คุณภาพงานเพิ่มขึ้น เพราะสะดวกและง่ายในการทำงาน เทคอนกรีตเนื่องจากปริมาณเหล็กเส้นที่ใช้ลดลงมีพื้นที่ให้เทคอนกรีตเพิ่มขึ้น ทำให้ควบคุมคุณภาพงานได้ตามแผนงาน โดยเฉพาะงานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น เสาตอม่อสะพาน ทางด่วน ตึกสูง หรือโครงสร้างขนาดใหญ่ต่างๆ ที่รับน้ำหนักมาก ต้องการความแข็งแรงเพื่อความปลอดภัย จึงต้องใช้เหล็กเสริมรับแรงจำนวนมาก
ปัจจุบันมีเหล็กก่อสร้างชั้นคุณภาพที่แตกต่างกันคือ SD30, SD40 และ SD50 ซึ่งมีคุณสมบัติรับแรงดึงได้จากน้อยไปหามากตามลำดับ และ SD50 ก็สามารถรับแรงดึงได้มากที่สุดในบรรดามาตรฐานชั้นคุณภาพทั้งหมดที่มีในตอนนี้ เมื่อเหล็กสามารถรับแรงดึงได้มากขึ้นส่งผลให้ใช้ปริมาณเหล็กลดลง จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายตามจำนวนน้ำหนักเหล็กที่ใช้น้อยลงโดยยังมีความมั่นคงแข็งแรงตามที่ต้องการ
เนื่องจากคอนกรีตสามารถรับแรงอัดได้สูงแต่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ เมื่อถูกแรงดึงมากระทำจะทำให้คอนกรีตเปราะแตกได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ ระบบคอนกรีตเสริมแรงจึงถูกนำมาใช้โดยการนำวัสดุอื่นที่สามารถรับแรงดึงได้ เช่น เหล็ก มาใส่ไว้ภายในคอนกรีตเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรง โดยอาจกล่าวได้ว่า คอนกรีตรับแรงอัด และเหล็กรับแรงดึง นั่นเอง
สอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ TATA TISCON call center: 02-315-7550
Email: tatatiscon.th@gmail.com, FB: TataTisconTH, Line@: @tiscon
#Wazzadu #TATASteel #TATATiscon #Steel #เหล็ก #เหล็กโครงสร้าง
#SD50 #Rebar #เหล็กข้ออ้อย #Stirrup #เหล็กเต็ม #เหล็กมอก #เหล็กปลอก
ผู้เขียนบทความ
ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปีเป็นโรงงานผลิตเหล็กที่จัดตั้งยาวนานที่สุดพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในการผลิต และยังได้รับความไว้วางใจในโปรเจคที่มีชื่อเสียง รวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ไอคอนสยาม และรถไฟฟ้าสายต่างๆ
โทรศัพท์ 02-937-1000
โทรสาร 02-937-1646-47 ... อ่านเพิ่มเติม