มอก. 24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต กับสิ่งที่ควรรู้และควรเข้าใจก่อนนำไปใช้งาน
การผลิตเหล็กให้ได้คุณภาพดีมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ
- การคัดเลือกวัตถุดิบต้องดี ในกรณีใช้เศษเหล็กต้องคัดแยกแบ่งเกรดตามคุณภาพเศษเหล็กตั้งแต่ต้นทาง
- กระบวนการผลิต หมายถึงการหลอมเหล็กต้องเลือกใช้กระบวนการผลิตที่ดี ปัจจุบันกล่าวได้ว่ากระบวนการผลิตเหล็กที่เรียกว่า อิเล็กทริกอาร์กเฟอร์เนซ (electric arc furnace process) หรือ EAF เป็นกระบวนการที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 24-2559 คือข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ซึ่งมีใจความดังนี้ “เหล็กข้ออ้อย ต้องทำขึ้นจากเหล็กแท่งเล็ก (billet) หรือเหล็กแท่งใหญ่ (bloom)เท่านั้น ด้วยกรรมวิธีการรีดร้อน โดยต้องไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาก่อน และเหล็กแท่งดังกล่าวต้องมีการคัดแยกคุณภาพเศษเหล็กอย่างเข้มงวด มีการตรวจสอบส่วนประกอบทางเคมีทุกขั้นตอน มีกระบวนการทำน้ำเหล็กให้บริสุทธิ์ (refining process) เพื่อให้ได้เหล็กที่มีคุณภาพ รวมถึงต้องระบุกรรมวิธีการทำเหล็กแท่งดังกล่าว เป็นตัวนูนถาวรบนเนื้อเหล็กข้ออ้อยทุกเส้น โดยมีสัญลักษณ์ดังนี้ จากกรรมวิธีโอเพนฮาร์ท (Open Hearth Process)ระบุ OH จากกรรมวิธีเบสิกออกซิเจน (Basic Oxygen Process)ระบุ BO จากกรรมวิธีอิเล็กทริกอาร์กเฟอร์เนซ (Electric Arc Furnace Process) หรือที่มักเรียกกันว่า EAFระบุ EF และจากกรรมวิธีอินดักชั่นเฟอร์เนซ (Induction Furnace Process)ระบุ IF”
สำหรับเหล็กเส้นของ TATA TISCON นั้นได้ผ่านกรรมวิธีผลิตเหล็กด้วยเตา Electric Arc Furnace : EAF (อิเล็กทริกอาร์กเฟอร์เนซ) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย เนื่องจากเตาหลอมชนิดนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ สามารถให้อุณหภูมิที่สูงพอเหมาะ การควบคุมอุณหภูมิทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ที่สำคัญมลพิษที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเตาหลอมประเภทอื่นแล้วถือว่ามีปริมาณน้อยกว่ามาก กระบวนการผลิตเริ่มจาก
- ใส่เศษเหล็กลงในเตา จากนั้นแท่งถ่านอิเล็กโทรดซึ่งมีกระแสไฟฟ้าจะเคลื่อนเข้าหาเศษเหล็กในเตา ซึ่งความต่างศักดิ์ระหว่างแท่งอิเล็กโทรดกับเศษเหล็กจะมีค่าสูงมากกว่า 500 โวลต์ ทำให้เศษเหล็กถูกหลอมกลายเป็นน้ำเหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดการอาร์กที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 2,000 องศาเซลเซียส
- เมื่อเศษเหล็กกลายเป็นน้ำเหล็กเกือบหมดแล้วกระบวนการอาร์กจะลดลง และมีการพ่นออกซิเจนเข้าไปในน้ำเหล็กเพื่อให้เกิดกระบวนการ oxidation ช่วยในการฟอร์มตะกรัน (Slag) และลดสิ่งปนเปื้อนในเหล็กทำให้น้ำเหล็กที่ได้มีความสะอาดมากขึ้น
- จากนั้นจึงส่งน้ำเหล็กที่สะอาดไปยังกระบวนการปรับปรุงส่วนผสมตามที่กำหนดต่อไป แล้วทำการเทลงแบบหล่ออย่างต่อเนื่องจนได้เหล็กแท่งยาว (Bloom, Billet)
กระบวนการทั้งหมดนี้จะทำเป็น Batch คือไม่สามารถผลิตอย่างต่อเนื่องได้แต่ก็ช่วยให้การควบคุมคุณภาพในแต่ละ Batch สามารถทำได้ดีขึ้น
สอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ TATA TISCON call center: 02-315-7550
Email: tatatiscon.th@gmail.com, FB: TataTisconTH, Line@: @tiscon
#Wazzadu #TATASteel #TATATiscon #Steel #เหล็ก #เหล็กโครงสร้าง
#SD50 #Rebar #เหล็กข้ออ้อย #Stirrup #เหล็กเต็ม #เหล็กมอก #เหล็กปลอก
ผู้เขียนบทความ
ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปีเป็นโรงงานผลิตเหล็กที่จัดตั้งยาวนานที่สุดพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในการผลิต และยังได้รับความไว้วางใจในโปรเจคที่มีชื่อเสียง รวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ไอคอนสยาม และรถไฟฟ้าสายต่างๆ
โทรศัพท์ 02-937-1000
โทรสาร 02-937-1646-47 ... อ่านเพิ่มเติม