สุดยอดนวัตกรรมกระจก ”Acoustic Glass" ป้องกันเสียงรบกวนและอันตรายจากบริบทโดยรอบได้อย่างดีเยี่ยม
การเลือกใช้กระจกแต่ละประเภทถูกแบ่งออกตามการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่นบางชนิดมีความสวยงามราคาไม่สูงมากเหมาะสำหรับงานตกแต่งภายในที่ไม่ต้องการความแข็งแรงในตัววัสดุมากนัก แต่สำหรับบางชนิดเองก็ต้องการความแข็งแรงมากเช่นกระจกนิรภัยที่ต้องนำมาใช้เป็น ช่องเปิดขนาดใหญ่ซึ่งเป็นงานภายนอกที่มีความเสี่ยงสูงมากในการใช้งาน แล้ววันนี้กระจกที่เราจะมาพูดถึงคือ Acoustic Glass กระจกที่มาพร้อมคุณสมบัติที่น่าสนใจเป็นอย่างมากนั่นคือการเก็บเสียงและป้องกันเสียงรบกวนพร้อมกับความมั่นใจในความแข็งแรงของกระจกชนิดนี้ ด้วยกระบวนการผลิตที่ใช้กระจกนิรภัยมากถึง 2 ชั้น
ก่อนจะรู้จักกับกระจกกันเสียง (Acoustic Glass) ต้องรู้จัก และเข้าใจการดูค่า STC เสียก่อน โดยจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆโดยการแบ่งระดับ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ค่า STC นั้นสามารถแบ่งได้หลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะเสียงรบกวนแบบต่างๆ มีดังนี้
STC 30-39 ลดความดังของเสียงพูดคุยปกติได้ แต่ยังเข้าใจเนื้อหาการสนทนา
STC 40-49 สามารถป้องกันเสียงพูดคุยปกติได้ จนไม่เข้าใจ หรือ จับใจความเนื้อหาการสนทนาไม่ได้
STC 50-59 ลดความดังของเสียงคนทะเลาะได้ แต่ยังจับใจความเข้าใจบทสนทนาได้
STC 60-69 ป้องกันเสียงรบกวนจากคนทะเลาะกัน และเสียงรถวิ่งได้เกือบ 100%
STC 70-74 ลดความดังของเสียงดนตรีที่เล่นอีกฝั่งได้ แต่ยังได้ยินอยู่บ้าง
STC 75 ขึ้นไป ป้องกันเสียงรบกวนจากการเล่นดนตรีได้เกือบ 100%
กระจกกันเสียง คือ กระจกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะนำกระจกประเภทใดมาทำก็จะต้องมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 12 มม.(ในกรณีที่ใช้กระจกแบบสองชั้น จะต้องมีช่องว่างระหว่างกระจก 70 มม.ขึ้นไป) โดยกระจกชนิดนี้จะยังคงคุณสมบัติในการโปร่งแสงและโปร่งใส แต่ช่วยในการตัดเสียงรบกวนหรือเก็บเสียงภายในไว้ได้
ยกตัวอย่างการออกแบบที่ใช้หลักการเดียวกันกับ Acoustic Glass ดังภาพด้านบนที่มีกระจกซ้อนกัน 2 ระนาบซึ่งแสงจะสามารถผ่านเข้าไปภายในอาคารได้แต่เสียงจะถูกช่องว่างระหว่างกระจกเป็นตัวซับเก็บไว้ โดยในการทำกระจกกันเสียงนั้น ประเภทกระจกที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
1. กระจกชั้นเดียว (Single Glazing) คือ กระจกที่มี Layer เดียวแบบเพียวๆไม่ว่าจะเป็นกระจกใส หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ฯลฯ
2. กระจกลามิเนต (Laminated Glass) คือ การนำกระจก 2 แผ่นขึ้นไป มาประกบกันแบบสนิท โดยมีชั้นฟิล์ม PVB (Polyvinyl Butyral) ,EVA (Ethylene-vinyl acetate) หรือ SentryGlas ขั้นกลางระหว่างกระจกทั้งสองแผ่น ซึ่งฟิล์มจะช่วยยึดเกาะแผ่นกระจกไม่ให้ร่วงหล่นเวลาแตก
3. กระจกสองชั้น (Double Glazing) คือ การนำกระจก 2 แผ่น (จะใช้กระจกชั้นเดียว หรือ กระจกลามิเนต ก็ได้) มาประกบกันโดยเว้นช่องว่างระหว่างกระจกไว้
ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบที่กล่าวมา แบบที่ 2 มีความเหมาะสมสำหรับงานอาคาร สำหรับกระจกนิรภัยลามิเนตส่วนใหญ่ที่เห็น ตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ จะใช้ ‘ฟิล์ม PVB’ เป็นหลัก คำว่า ‘PVB’ ย่อมาจาก ‘โพลีไวนิลบิวทิรัล’ (Polyvinyl Butyral) ซึ่งเป็นเรซิ่นชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการนำมาทำกระจกลามิเนตมากๆ เพราะให้การยึดเกาะกับกระจกสูง แต่มีความยืดหยุ่นกำลังดี ทำให้กระจกสามารถป้องกันการทะลุทะลวงได้ดีและที่สำคัญ ยังมีราคาที่ไม่แพงมากนัก ฟิล์มชนิดนี้ จึงเรียกได้ว่าแทบจะเป็นทางเลือกเดียวในการใช้กระจกนิรภัยลามิเนตสำหรับงานอาคารมาอย่างยาวนาน
โดยความเหมาะสมในการเลือก Acoustic Glass ที่มีหลายระดับนั้นถูกแบ่งให้เหมาะสมต่อประเภทอาคารหรือการใช้งานดังนี้
STC 30-39 เหมาะกับอาคารที่พักอาศัยทั่วไป
STC 40-49 เหมาะกับร้านค้า ร้านอาหาร และอาคารสาธารณะทั่วไป
STC 50-59 เหมาะกับห้องประชุม พื้นที่สำนักงาน พิพิธภัณฑ์ หรืออาคารพักอาศัยที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
STC 60-69 เหมาะกับห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องคาราโอเก๊ะ ห้องอัดเสียงจัดรายการ หรือ สนามบิน
STC 70-74 เหมาะสำหรับโรงภาพยนตร์ โรงละคร หรือ เธียเตอร์สำหรับจัดงานคอนเสิร์ต
STC 75 ขึ้นไป เหมาะกับสถานบันเทิง
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่ากระจกที่มีมากมายหลากหลายชนิดนั้น ถูกออกแบบให้เหมาะสมต่อการใช้งานในพื้นที่นั้นๆ Acoustic Glass เองก็เช่นกันหากผู้ออกแบบหรือผู้ใช้อาคารต้องการความเป็นส่วนตัวในด้านเสียง กระจกชนิดนี้สามารถเข้ามาตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่ได้ลดความรู้สึกของวัสดุที่เป็นกระจกลงไปเลย โดยกระจกชนิดนี้ยังคงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และทางกลาสฟอร์มซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท ทีวายเค กรุ๊ป ในเครือตอยงเกียรติ ที่มีประสบการณ์ในการจัดจำหน่ายกระจก อลูมิเนียม และอุปกรณ์สำหรับงานกระจกครบวงจร ได้พยายามสร้างและพัฒนานวัตกรรมในงานกระจกมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า 50 ปี จึงทำให้ Acoustic Glass ที่ผลิตโดย Glassform by TYK เป็นที่ยอมรับและไว้วางใจเสมอมา
ผู้เขียนบทความ