CMY Pavilion ผลงานการออกแบบยุค 90 ของ Bernard Tschumi กับแนวคิด" shift architecture urbanism" ด้วยการใช้วัสดุกระจกสร้างมิติที่แตกต่างให้กับบริบท

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

CMY Pavillion ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1990 ในช่วงเวลาของนิทรรศการ "What a Wonderfull World" Pavillion ซึ่งหลายๆงานถูกตั้งกระจัดกระจายออกไปตามพื้นที่สาธารณะ โดยงานออกแบบเหล่านี้เป็นผลงานของสถาปนิกชั้นแนวหน้าของวงการในช่วงเวลานั้น เช่น MOMA,Eisenman,Hadid,Himmelblau แต่ผลงานที่ยังคงสามารถมีให้ชมอยู่เป็นผลงานของ Koolhaas และ Tschumi 

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

วิธีการออกแบบที่น่าสนใจของทั้งคู่นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่ง OMA ใช้โปรแกรมการออกแบบโดยอาศัยการจับป้ายรถเมล์มาเป็นส่วนหนึ่งของ Pavillion นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ Pavillion แห่งนั้นยังคงอยู่(เพราะเป็นป้ายรถเมล์) แต่ Pavillion ที่ Bernard Tschumi ออกแบบกลับตรงกันข้ามด้วยแนวคิด"อาคารที่ไม่เสถียร"

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

Tschumi ออกแบบให้อาคารมีลักษณะที่โปร่งใสที่สุดเท่าที่เคยออกแบบมา อาคารเกือบทั้งหมดทำด้วยกระจกเคลือบสีเพื่อเปลี่ยนให้ "Pavillion ล่องหนให้กลายเป็น Pavillion ลวงตา" และตัวอาคารเองก็กลายเป็นชิ้นงานกราฟิกสามมิติที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของผู้เข้าชม

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

รูปแบบแถบสีที่เป็นเส้นทแยงมุมห่อรอบตัวอาคาร ด้วยคุณสมบัติเด่นของกระจกที่มีความโปร่งใสในตัว เมื่อผสมผสานกับคุณสมบัติของสี ก็จะยิ่งทำให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมามองเห็น Pavillion แห่งนี้มีลักษณะมิติที่เปลี่ยนไปตามมุมมองใหม่ๆทุกครั้งอย่างไม่น่าเบื่อนั่นเองครับ 

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

"CMY Pavillion" เป็นสถาปัตยกรรมขนาดเล็กที่แฝงไปด้วยแนวคิด และรายละเอียดที่น่าสนใจ ทั้งการเลือกใช้วัสดุที่เป็นกระจกเกือบทั้งหมดเพื่อตอบสนองแนวคิดของ Tschumi งานออกแบบแห่งนี้จึงถูกเก็บไว้เนื่องจากสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับพื้นที่ และวิถีชีวิตผู้คนบริเวณนั้นในมิติที่แตกต่างจากที่เคยเป็น ตามแนวความคิดของงานนี้แต่แรกเริ่ม "shift architecture urbanism" นั่นเอง

ไอเดียการตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยวัสดุ "กระจกเคลื่อบสี" ที่น่าสนใจ

TYK
Because "I love glass" ที่กลาสฟอร์ม พวกเรารักและให้ความใส่ใจกับกระจกทุกแผ่น เพราะเรามองกระจกเป็นมากกว่าวัสดุตกแต่งทั่วไป เพราะเราเห็นความสวยงามในการสร้างสรรค์ผลงานกระจก และเพราะเราเห็นรอยยิ้มของลูกค้าที่เกิดจากการใช้สินค้าของเรา ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ