"Triple-Layer Glass Facade"การออกแบบเปลือกอาคาร เพื่อให้สถาปัตยกรรมมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับบริบท
บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมสัญชาติอิตาเลียน Giovanni Vaccarini Architetti ได้ออกแบบสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ SociétéPrivée de Gérance (SPG) โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ Route de Chêne ซึ่งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของเมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ งานนี้เป็นการปรับปรุงขยายอาคารที่มีอยู่เดิม โดยเริ่มจากการสร้าง Facade กระจกขนาดใหญ่ที่มีลักษณะแบบครีบแก้ว โดยตอบสนองความต้องการในการนำแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ภายในอาคารได้อย่างสูงสุด นอกจากนี้ยังตอบโจทย์ด้านความสวยงาม ในมิติที่มีความเบลอกลมกลืนกับบริบทพื้นที่โดยรอบให้มากที่สุด
Facade ที่ทำจากกระจกอะคูสติกพิมพ์ลาย ซึ่งได้ติดตั้งจัดเรียงกันในลักษณะแบบครีบแก้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี และยังสามารถระบายอากาศภายในอาคารได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมภายในอาคารได้ โดยองค์ประกอบของโครงสร้างเหล็กบน Facade ผลิตโดย Stahlbau Pichler (ผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมเหล็ก) ซึ่งถูก Design ให้สร้างจังหวะการติดตั้งแบบแยกส่วน โดยครีบเหล็กขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดภาระด้านการมองเห็นให้เหลือน้อยที่สุดจะให้ความรู้สึกที่เบา บางเฉียบ ซึ่งจะถูกประกอบเข้ากับแผ่นกระจกจำนวนมาก และจะยึดติดเข้ากับกรอบโครงสร้างเหล็กที่รองรับน้ำหนักในแต่ละชั้น
ผู้สนับสนุน
องค์ประกอบลายเส้นกราฟิกสีขาวที่พิมพ์ลงบนผืนกระจก ช่วยให้ภาพรวมของ Facade อาคารดูมีมิติที่น่าสนใจมากขึ้น ซึ่ง Pattern ที่ทับซ้อนกันของ Facade กระจกจำนวนมากจะก่อให้เกิดมิติที่ดูเคลื่อนไหวได้เสมือนมิติของ "เนบิวลา" ที่มีความแวววาว ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว และในบางช่วงเวลาก็ดูเบลอกลมกลืนไปกับบริบทโดยรอบ ดังที่ "Giovanni Vaccarini ได้ตั้งใจกำหนดไว้ โดยในช่วงกลางคืน Facade กระจกจะสว่างขึ้น ซึ่งการออกแบบ Lighting สถาปนิกได้ใช้ไฟ LED สีขาว ซึ่งเป็นโทนสีกลางที่เรียบง่าย ที่จะช่วยทำให้ตัวสถาปัตยกรรมมีชีวิตชีวา และทำให้ดูระยิบระยับมีเสน่ห์ท่ามกลางภูมิทัศน์ของเมืองในยามค่ำคืน
นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ในการทำ Facade มีลักษณะพื้นผิวที่มีความวาววับ จึงทำให้เกิดการสะท้อนไปตามบริบทพื้นที่โดยรอบ ซึ่งมิติการรับรู้ของตัวอาคารจะแปรเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงเวลาของวัน โดย Pattern ที่ทับซ้อนกันของ Facade กระจกจะทำให้เกิดมิติการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาราวกับว่าอาคารแห่งนี้กำลังมีชีวิต
รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com
วัสดุเทียบเคียงในหมวดกระจกลามิเนต
สินค้าเทียบเคียงในหมวด"กระจกนิรภัยลามิเนต"
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม