กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)

กระจกอบความร้อนได้จากการนำกระจกแผ่น หรือ กระจกโฟลตไปผ่านกระบวนการปรับแต่งคุณภาพเนื้อกระจก หรือแปรรูป เพื่อให้แข็งแกร่งมากขึ้น หรือรับแรงกระแทกได้มากขึ้น

กระจกอบความร้อน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ และกระจกฮีตสเตรงเทน

1.1 กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass)
เป็นกระจกที่ได้จากการผลิตที่คล้ายกับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ คือ ให้ความร้อนกับกระจกพื้นฐาน หรือกระจกเคลือบผิว ประมาณ 700 องศาเซลเซียส แล้วปล่อยให้เย็นตัวลง แต่แตกต่างจากกระจกนิรภัยเทอเปอร์ตรงที่การผลิตกระจกฮีตเสตรงเทนจะปล่อยให้กระจกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ โดยใช้ลมเป่า
ไปยังกระจกทั้ง 2 ด้าน

คุณสมบัติ

·  แข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า จึงสามารถรับแรงอัดของลมได้ดีกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันจึงสามารถนำไปใช้ในการติดตั้งกระจกกับโครงสร้างอาคารสูง

· เหมาะสำหรับการป้องกันการแตกของกระจกเนื่องจากความร้อน ลักษณะการแตกเหมือนการแตกของกระจกธรรมดา คือ แตกเป็นแผ่น

การใช้งาน

· ใช้ในการติดตั้งกับโครงสร้างอาคารสูง สามารถใช้แทนกระจกพื้นฐานโดยลดความหนากระจกลง

· ใช้กับสถานที่ที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ

·  ใช้กับผนังอาคารและหน้าต่างที่มีแรงกระทบของลมสูง

· ใช้กับสถานที่ที่ต้องการแข็งแรงและปลอดภัยของกระจกสูง

ใช้กับห้องโชว์สินค้าที่ต้องทนต่อแรงกระแทกในการใช้งาน
 

1.2 กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass หรือ T/P )
หรือที่เรียกทั่วไปว่ากระจกอบเป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคมจึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดาที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า

ความแข็งที่เพิ่มขึ้นของกระจกเทมเปอร์เกิดจากกระบวนการผลิต โดยการอบแผ่นกระจกด้วยความร้อนสูง ประมาณ 650-700องศาเซลเวียส และใช้ลมเป่าที่ผิวกระจกทั้งสองด้าน ให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ทำให้บริเวณเนื้อกระจกภายนอกเย็นตัวเร็วกว่าเนื้อในของกระจก   ขณะที่เนื้อกระจกภายนอกเย็นตัวแล้วเนื้อในของกระจกที่ค่อย ๆ เย็นจะเกิดความเค้นขึ้นส่งผลให้กระจกเทมเปอร์มีความแข็งเพิ่มมากขึ้น

ถ้าดูด้วยสายตาปกติ ปราศจากเครื่องมือพิเศษ ส่องดูเนื้อกระจกแล้ว กระจกเทมเปอร์
ก็จะดูเหมือน กระจกธรรมดาทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ความแข็งแกร่ง ที่มีมากกว่า กระจกธรรมดา (Float  Glass) ประมาณ 3-5 เท่าตัว เราจึงเรียกกระจกชนิดนี้ว่า กระจกนิรภัยเทมเปอร์

อย่างไรก็ตาม กระจกเทมเปอร์มีโอกาสที่จะระเบิดแตกเองได้(แต่น้อยมาก) เมื่อโดนความร้อนสูง (Spontaneous glass breakage) การใช้กระจก T/P ในงานภายนอกต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย ในงานที่มาตรฐานสูงจึงมักมีการระบุเพิ่มเติมให้มีการทา Heat soak test เพื่อลดโอกาสการระเบิดแตกเอง โดยกระจกเทมเปอร์ที่ทาฮีทโซคเทสจะมีราคาแพงกว่ากระจกเทมเปอร์ธรรมดา

คุณสมบัติ

·  มีความแข็งแกร่งมากกว่า กระจกธรรมดา (Float  Glass) ประมาณ 3-5 เท่าตัว

· เมื่อแตกแล้วเป็นเม็ดกลมๆเหมือนเม็ดข้าวโพด มีความคมน้อย  มีอันตรายน้อยกว่ากระจกแผ่นหรือกระจกโฟลต

· ก่อนการทำเทมเปอร์ต้องตัดกระจกให้ได้ขนาดตามที่ต้องการใช้งาน  หากทำเทมเปอร์แล้วค่อยตัดขนาด กระจกจะแตกละเอียดทั้งแผ่น

· จุดอ่อนของกระจกชนิดนี้คือ ความทนทานต่อแรงกระทำที่เป็นจุด ( Point Load)  หากมีการกระแทกด้วยวัตถุที่มีมุมแหลม ซึ่งทำให้เกิดการตัดลึกเข้าไปที่ภายในผิวกระจก ทำมห้ชั้นแรงอัด ( Compressed layer ) ถูกทำลาย จะเป็นสาเหตุที่ทำให้กระจกแตกได้

· ส่วนของกระจกเทมเปอร์ที่มีการพ่นทราย การเจาะรู จะเปราะบางมากกว่าส่วนอื่นๆ

·  เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพ ที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก หรือร้อนจัด หนาวจัด

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ