Wazzadu Academy :: "ฉนวนกันเสียง" กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง สำคัญมากสำหรับผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้งานอาคาร โรงงานหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่ประสบปัญหาด้านเสียง ทั้งเรื่องเสียงดังเกินกว่ากฎหมายกำหนด เสียงก้อง และ เสียงสะท้อนภายในอาคาร เสียงจากการทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน และเสียงรบกวนภายในห้องอัดเสียง หรือ ห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ เป็นต้น ฉนวนกันเสียงที่ดี และได้รับการออกแบบไว้อย่างถูกต้อง จะช่วยลด ปัญหาด้านมลภาวะทางเสียง ให้หมดไป หรือลดน้อยลงไปจนรู้สึกได้

ฉนวนกันความร้อน ต่างจาก ฉนวนกันเสียง ตรงไหน

การแก้ปัญหาเรื่องเสียง ในบางครั้งสามารถนำ ฉนวนกันความร้อน มาประยุกต์ใช้แทน ฉนวนกันเสียงได้ แต่ก็ไม่ทุกครั้ง หรือทุกงานไป เพราะ ฉนวนกันเสียงมีตัวแปรที่ต้องพิจารณาคือค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และค่า STC (Sound Transmission Class) ซึ่งสำคัญมากในการบอกว่า ฉนวนนั้นจะลดเสียงลงได้ประมาณเท่าไร แต่สำหรับฉนวนกันความร้อน ตัวแปรที่ต้องพิจารณาจะเป็นเรื่องของ Thermal Conductivity และ Density เป็นหลัก เพราะสองค่านี้สามารถนำมาคำนวณได้ว่า ความร้อนจะลดลงเหลือเท่าไรหากติดตั้งฉนวนไปแล้ว

 

แผ่นซับเสียง , แผ่นกันเสียง , แผ่นเก็บเสียง แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

แผ่นซับเสียง (sound absorption) และ แผ่นเก็บเสียง (acoustic board) จะใช้สำหรับ แก้ปัญหาเสียงก้อง และ เสียงสะท้อน ในห้องหรือในอาคาร มีหลักการทำงานคือยอมให้เสียงผ่านเข้ามาใน ฉนวนและดูดซับพลังงานเสียง นั้นเอาไว้ส่วนหนึ่ง เปรียบเสมือนกับเราเอาฟองน้ำซับน้ำที่หกลงบนโต๊ะ แต่สำหรับ แผ่นกันเสียง (soundproof) จะมีความแตกต่างตรงที่จะไม่ยอมให้เสียงผ่านไปได้ คล้ายกับการสาดน้ำใส่แผ่นพลาสติคที่น้ำจะกระเด็นกลับมา เป็นต้น

 

วัสดุดูดซับเสียง วัสดุซับเสียง วัสดุกันเสียง วัสดุเก็บเสียง มีอะไรบ้างที่นิยมกันในปัจจุบันนี้

วัสดุซับเสียง และ วัสดุกันเสียง ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภทที่เป็นไฟเบอร์ หรือเส้นใย อย่างเช่น ใยแก้ว และใยหิน ซึ่งจะมีความอ่อนนุ่มให้ตัวได้ และส่วนใหญ่จะไม่กันน้ำ กับอีกประเภทคือ วัสดุที่เป็นยาง หรือไวนิล ที่มีผิวเรียบ ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหา หากสัมผัสกับน้ำหรือของเหลว

 

 

การดูดซับเสียงหรือการควบคุมเสียงสะท้อน (Sound Absorption)

การออกแบบห้องที่ต้องการลดเสียงสะท้อน เช่น ห้องประชุม, โรงละคร, โรงภาพยนตร์, ห้องบรรยาย, ห้องดูหนัง – ฟังเพลง, ห้องคาราโอเกะ หากมีเสียงสะท้อน หรือเสียงก้องเกิดขี้น จะทำให้ประสิทธิภาพของเสียงที่หูของผู้ฟังได้ยินอาจลดประสิทธิภาพลงไป ดังนั้นต้องออกแบบให้มีวัสดุที่สามารถดูดซับเสียงได้ดี เพื่อป้องกันเสียงที่มากระทบฝ้าเพดาน พื้น ผนัง โดยสามารถดูได้จากค่า NRC ซึ่งเป็นค่าที่ระบุความสามารถการดูดซับเสียงของวัสดุต่าง ๆ

วัสดุทุกชนิดสามารถดูดซับเสียงได้ในระดับที่แตกต่างกันไป เมื่อคลื่นเสียงวิ่งกระทบวัสดุ จะมีบางส่วนของพลังงานเสียงถูกดูดซับและที่เหลือจะสะท้อนออกไป และเสียงที่สะท้อนออกไปนั้นจะมีพลังงานน้อยกว่าแหล่งกำเนิดเสียงเสมอ และพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับเข้าไปจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปอื่น โดยทั่วไปจะเป็นความร้อน และจำนวนพลังงานที่ถูกดูดซับเข้าไปจะถูกแสดงในรูปของสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง (Sound Absorption Coefficient) คือค่าที่แสดงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุ ถ้าหากใช้วัสดุที่ดูดซับเสียงไม่ดีจะทำให้เกิดเสียงก้องภายในห้องนั้น ๆ ได้ สามารถพิจารณาค่าต่าง ๆ ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

Sound Absorption Coefficient (SAC)

SAC หมายถึงสัดส่วนของพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับไปเมื่อชนกระทบ เทียบกับพลังเสียงจากแหล่งกำเนิด ยกตัวอย่าง เช่น มีวัสดุหนึ่งมีค่า SAC 0.85 นั่นก็หมายความว่าพลังเสียง 85% ได้ถูกดูดซับไว้เมื่อเคลื่อนที่ไปชนกับวัสดุนี้ และ 15% ของพลังงานที่เทียบกับแหล่งกำเนิดจะสะท้อนออกมาค่าการดูดซับเสียงของทุกวัสดุจะแปรผันกับความถี่ของเสียงที่เข้าไปกระทบ ดังนั้นค่าการดูดซับเสียง (SAC) จะถูกวัดที่หลายความถี่คือ 125, 250, 500, 1,000, 2,000 และ 4,000Hz ความถี่เหล่านี้เป็นความถี่ตรงกลางของเสียงที่วิ่งกระทบน้อยมากที่จะมีการ ใช้ค่า SAC ของเสียงที่ช่วงความถี่เดียวในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม หรือระบุว่าวัสดุใด ๆ มีค่า SAC เป็นเท่าไร ในการออกแบบสถาปัตยกรรมค่า SAC จะเป็นค่าดูดซับเสียงที่ความถี่ที่เจาะจงเท่านั้น

 

เป็นตัวเลขที่จะระบุได้ถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุ โดยที่ NRC คือค่าเฉลี่ยของ SAC ที่ถูกวัดที่ 250, 500, 1,000, 2,000 Hz และปัดเศษให้อยู่ที่ 0.05

โดยทั่วไปค่า NRC จะต้องมีค่ามากกว่า 0.40 ถึงจะถือว่าเป็นวัสดุดูดซับเสียง (Acoustic) วัสดุที่มีรูพรุน ฉนวนจะยอมให้คลื่นเสียงทะลุผ่านไปได้ลึกมาก ซึ่งจะเป็นที่ที่พลังงานเสียงจะเปลี่ยนเป็นความร้อนเนื่องจาก ความเสียดทานระหว่างช่องอากาศกับเส้นใยวัสดุประเภทนี้สามารถมีค่า NRC ได้มากถึง 0.95 – 1.00 ขึ้นอยู่กับความหนาของฉนวน

อย่างไรก็ตามหูของมนุษย์ไม่สามารถรับทราบ ได้ถึงความแตกต่าง ระหว่างวัสดุดูดซับเสียงที่มีค่าต่างกันเพียง 0.05 ยกตัวอย่างเช่น คนเราจะรู้สึกไม่แตกต่างกันระหว่างการใช้วัสดุที่มีค่า NRC 0.80 กับ 0.85
ส่วนใหญ่สถาปนิกหรือผู้ออกแบบจะเลือกวัสดุโดยดูที่ค่า NRC เป็นหลักส่วน Acoustician จะดูที่ค่า SAC เป็นหลัก

ตัวอย่างฉนวนกันเสียงแบบต่างๆ

ฝ้าเพดานใยแร่หรือไฟเบอร์กลาส ระบบแขวน

ฝ้าเพดานทำจากเหล็กหรืออลูมิเนียม

ฝ้าเพดานวัสดุเลียนแบบไม้ธรรมชาติ

ฝ้าอะคูสติกซอฟไฟเบอร์รุปทรงพิเศษ

วัสดุ : แผ่นกลาสวูล
ขนาดสินค้า
ความกว้าง : 60 ซม.
ความยาว : 120 ซม.
ความสูง/หนา : 5 ซม.
น้ำหนัก : 9.72 กก.
คำแนะนำ และข้อควรระวัง
ระบบ Cylencetm รุ่น ZoundBlock tm กับผนังอิฐมอญ
STC 65 ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น ฉาบปูน 2 ด้าน หนา 10 ซม. ติดตั้งกับโครงคร่าวสำเร็จ C65, U66 เบอร์ 24 กรุช่องว่างด้วยแผ่น Cylence สำหรับผนังกันเสียง รุ่น ZoundBlock S050 ปิดผิวด้านในด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หนา 8 มม.

ระบบ Cylencetm รุ่น ZoundBlock tm กับผนังสมาร์ทบอร์ด
STC 51 ผนัง สมาร์ทบอร์ดหนา 10 มม. 1 ชั้น 2 ด้าน ติดตั้งกับโครงคร่าวสำเร็จ C65, U66 เบอร์ 24 กรุช่องว่างด้วยแผ่น Cylence สำหรับผนังกันเสียง รุ่น ZoundBlock S050

STC 60 ผนัง สมาร์ทบอร์ดหนา 10 มม. 1 ชั้น 2 ด้าน ติดตั้งกับโครงคร่าวสำเร็จ C65, U66 เบอร์ 24 กรุช่องว่างด้วยแผ่น Cylence สำหรับผนังกันเสียง รุ่น ZoundBlock S050

*STC (Sound Transmission Class) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงการลดเสียง

จากด้านหนึ่งไปยังด้านหนึ่งของระบบผนังหรือหลังคา มีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB) ซึ่งค่า STC ยิ่งมาก แสดงว่าระบบนั้นสามารถกั้นเสียงได้ดียิ่งขึ้น
แผ่น Cylence ตราช้าง สำหรับผนังกันเสียง รุ่น ZoundBlock สามารถติดตั้งร่วมกับระบบผนังตราช้าง สมาร์ทบอร์ด, ผนังยิปซั่ม, ผนังอิฐมอญ และผนังอื่นๆ เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก หรือลดเสียงรบกวนระหว่างห้อง

วัสดุ : แผ่นกลาสวูล
ขนาดสินค้า
ความกว้าง : 10 ซม.
ความยาว : 30 ซม.
ความสูง/หนา : 2.5 ซม.
น้ำหนัก : 0.11 กก.
คำแนะนำ และข้อควรระวัง
วัสดุอะคูสติก อะคูสติกสำหรับผนังตกแต่งดูดซับเสียงรุ่น Cylence Zandera Natura 2014 ใช้สำหรับติดผนังโดยทากาวตะปูเป็นแนวแทยงมุมด้านหลังแผ่น แล้วติดกับได้หลายแบบ เช่นผนังปูน ผนังสมาร์ทบอร์ด ยิปซั่ม และอื่นๆ

 

#Wazzadu #WazzaduAcademyInnovativeMaterialsforArchitecturalDesign #WazzaduAcademy #MaterialReview #คลังข้อมูลวัสดุ  #ฉนวนกันเสียง

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ