พื้น Epoxy กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน
สีเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ มีความนิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนพื้น Floor Hardener อีกทั้งยังมีสีให้เลือกได้หลากหลายประเภทและราคา นอกจากนี้ฟิล์มสีอีพ็อกซี่ยังให้ความยืดหยุ่นตัวได้ดีกว่า Floor Hardener ทำให้ปกปิดรอยแตกเล็กๆ ของพื้นผิวปูนได้ดีกว่า อีกทั้งยังสามารถป้องกันสารเคมี กรด-ด่าง ได้หลากหลายประเภท รวมถึงทำความสะอาดได้ง่าย
สีเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ เป็นสาร Bitumen ชนิดหนึ่งที่ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท
- สีอีพ็อกซี่มักมีส่วนผสมของสารตะกั่ว (Lead) อลูมิเนียมและสังกะสี(Zinc)
- แต่สีเคลือบอีพ็อกซี่ที่มีคุณภาพสูงมักใช้โลหะสังกะสี (Pure Metallic Zinc) ผสมในปริมาณสูงร่วมกับสารเคมีประเภท Organic หรืออาจใช้ Inorganic ซึ่งจะมีราคาสูงและใช้ค่อนข้างยาก
สีอีพ็อกซี่เป็นสีที่เหมาะกับงานภายในหรือบริเวณที่แสง U.V.สาดส่องไม่ถึง เนื่องจากอีพ็อกซี่เรซิ่นในสีจะเสื่อมสภาพได้เร็วเมื่อฟิล์มสีถูกแสง U.V. สีอีพ็อกซี่ที่มีจำหน่ายทั่วไปจะทำเป็นสองส่วนคือ ส่วน A (Base) และส่วน B (Hardener) ซึ่งจะสะดวกต่อการจัดเก็บในระยะเวลานานๆ การใช้งานต้องผสมส่วน A และส่วน B ใน อัตราส่วนที่ถูกต้อง และต้องกวนสีให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้งาน เพื่อให้การแห้งตัวของสีเคลือบพื้นเป็นไปที่กำหนด อย่างไรก็ตาม สีอีพ็อกซี่จะแห้งด้วยปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Reaction) จึงต้องใช้สีให้หมดภายในเวลาที่กำหนดไว้
พื้นอิพ็อกซี่ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามการใช้งาน คือ
1. พื้นepoxy Mortar มีความแข็งแรงและทนทานสูงสุด เหมาะสำหรับพื้นที่ต้องการรับโหลดสูงๆ เช่น ลานโหลดสินค้า และใช้ได้ดีที่ช่วงอุณหภูมิต่ำ -40 องศาเซลเซียส จึงเหมาะสำหรับงานห้องเย็น
2. พื้นepoxy self leveling มีความเงางามสุงสุด มีความยืดหยุ่นดีมาก เหมาะกับพื้นโรงงานทั่วไปไปจนถึงพื้นแบบ Heavy Duty
3. พื้นepoxy coating มีราคาถูกที่สุด เหมาะกับโรงงานทั่วไป
4. พื้นepoxy anti-static พื้นที่ออกแบบสำหรับพื้นที่ปลอดไฟฟ้าสถิตในโรงงานอุตสาหกรรมเคมีหรืออิเล็กทรอนิค
พื้นอิพ็อกซี่สามารถออกแบบให้มีได้หลายชั้นตามความต้องการของชื้นงาน โดยหากมีความหนามากกว่า 2 มิลลิเมตรเราเรียกว่า Epoxy Self Leveling หากความหนาน้อยกว่านั้นเรียกว่า อีพ็อกซี่โคทติ้งส์ โดยพื้นอิพ็อกซี่มีคุณสมบัติเด่น ดังนี้
- ไม่มีรอยต่อและรูพรุน
- ป้องกันการเกิดเชื้อรา
- หลากหลายสีสัน, การติดตั้งและแบบผิว
- ทนทานต่อการใช้งาน มีความยืดหยุ่นสูง
- ทนทานต่อสารเคมี, กรด-ด่างและความชื้น
- ทนทานต่อการใช้งานรถโฟล์คลิฟ
- มีช่วงการใช้งานอุณหภูมิกว้าง จาก -40 ไปจนถึง 75 องศาเซลเซียส
- ทำความสะอาดง่าย
- ป้องกันไฟฟ้าสถิตได้ดี จำเป็นมากในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- ติดตั้งได้รวดเร็ว
- ไม่ทนต่อแสงแดดและรังสี UV
- เป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย
- พื้นผิวลื่นเมื่อเปียกน้ำและหลุดร่อนง่าย
- หากมีความชื้นใต้ผิวอีพ็อกซี่ จะทำให้อีพ็อกซี่บวมพองได้ง่าย จึงควรแน่ใจว่าพื้นคอนกรีตนั้นไม่มีความชื้น
- ไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบฉับพลัน
- การใช้งานต่อเนื่องภายหลังจากติดตั้ง ผิวที่เรียบจะเริ่มด้านและหมดความมัน
- ไม่เหมาะสมต่อการที่จะใช้เพื่อรองรับน้ำหนัก
- อายุการใช้งาน ประมาณ 8 ปี
การเลือกใช้
- ในกรณีที่นำไปใช้กับงานที่สัมผัสกับสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างโดยตรง ควรใช้สีเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ที่มีส่วนผสมของโพลีอะมีน (Epoxy Polyamine) ซึ่งจะให้ความแข็งแรง
- กรณีที่ใช้ในพื้นที่มีความเปียกชื้นควรใช้อีพ็อกซี่ โพลีอะไมด์ (Epoxy Polyamide) ที่มีส่วนผสมของดินน้ำมันผสมอยู่ในสี
- ในกรณีที่ต้องการความแข็งแรงพิเศษก็สามารถเพิ่มชั้นกลางซึ่งผสม Mortar เข้าไปก็จะได้ฟิล์มที่หนามากขึ้นด้วย ในกรณีที่ต้องการความประหยัดและไม่ต้องการความแข็งแรงของฟิล์มสีมากนัก อาจใช้สีเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ประเภทฟิล์มสีบางซึ่งการใช้งานไม่ยุ่งยากแต่ ต้องการรีดสีด้วยอุปกรณ์การเคลือบเพื่อให้ได้ฟิล์มที่สวยงาม
บริเวณที่เหมาะกับการใช้งาน
- พื้นโรงงาน
- พื้นรีสอร์ท
- พื้นศูนย์บริการรถยนต์,โชว์รูม ซ่องบริการ
- พื้นห้องแล็ป , ห้องทดลอง
- พื้นคลังสินค้า
- พื้นห้องปลอดเชื้อ
- ซุปเปอรํมารเก็ต หรือศูนยการค้า เป็นต้น
ความจริงที่ต้องรู้ก่อนการทำสีพื้นอีพ๊อกซี่ (Epoxy Floor)
จากประสบการณ์การทำงานทางเทคนิคที่ต้องเข้าสำรวจหน้างานและติดตั้งพื้น อีพ็อกซี่มา จะมีคำถามมักถูกถามเป็นประจำจากลูกค้าของเรา ทำไมพื้นอิพ๊อกซี่จึงบวมและหลุด ทาแล้ว 2 เดือนผ่านไปต้องทาใหม่อีกแล้ว หรือพื้นทำไมเป็นรอยขีดข่วน หรือรอยรถโฟล์ลิฟ ซึ่งคำถามเหล่านี้เกิดจากท่านทำการทาสีพื้นอีพ๊อกซี่กันเอง ผมจะแยกเป็น 3 ประเด็นหลักให้เป็นแนวทางเบื้องต้น คือ ความชื้นของคอนกรีต การติดตั้งผิดขั้นตอนและการใช้งานพื้นอีพ๊อกซี่ที่เหมาะสม
ความชื้นจากคอนกรีตเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการบวมและหลุดร่อนของพื้นอีพ๊อก ซี่ ซึ่งโดยปกติแล้วตัวฟิล์มมีการยึดเกาะได้ดีมากบนพื้นปูน แต่การดันจากความชื้นจากข้างในปูนทำให้หลุดได้ แรงดันจากการออสโมซิสมีความรุนแรงจนสามารถทำให้ฟิล์มสีเกิดการพอง (Blistering Defect) แล้วฟิล์มสีก็หลุดร่อนในที่สุด
การเตรียมพื้นผิวก่อนการทำการทาสีผิดวิธี เช่น การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ไม่สะอาด มีคราบน้ำมัน หรือบางครั้งไม่ทาตัวรองพื้นก่อนทาสีอีพ๊อกซี่ หรือใช้ผิดตัว ซึ่งปูนต้องถูกปรับสภาพก่อนการจึงจะทำให้เกิดการยคดเกาะที่ดี ไม่หลุดง่าย
การใช้งานพื้นอีพ๊อกซี่ที่เหมาะสม ตัวสีพื้นอีพ๊อกซี่ถูกออกแบบมาสำหรับพื้นที่ใช้ระบบล้อเลื่อน เช่น ล้อ PU, ไนลอนท์ หรือ ล้อยางเป็นต้น หากเราใช้งานผิดวิธีหรือไม่เหมาะสม เช่น การสไลด์ด้วยพาเลตไม้ การถูด้วยชิ้นงานเหล็ก ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวมีความแข็งกว่าพื้นอีพ๊อกซี่ ผลรับก็คือพื้นเกิดการขีดข่วน เป็นรอย ซึ่งมันทำลายพื้นผิวแล้ว จึงไม่สามารถทำการเช็ดออกได้ครับ
นอกจากนี้ยังมี Epoxy ชนิดอื่นๆ
- Metalic epoxy
- Color flake
COLOR FLAKE เป็นการโรยผง Polymer color chip ลงบนพื้นผิวที่เท Epoxy แล้ว ทำให้ผิวสัมผัสเหมือนหินธรรมชาติ และทรายล้าง ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร สามารถเคลือบบนชั้นดาดฟ้าเพื่อทำเป็นกันซึมได้
- Fiber glass Resin
ระบบเคลือบพื้นผิววัสดุด้วย Fiber Resin สำหรับเคลือบพื้นผิววัสดุที่ต้องการป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี สามารถทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรง ทนต่อ UV ทนต่อการขังน้ำปกป้องพื้นผิวของโลหะเพื่อป้องการกัดกร่อน และป้องกันสนิม สามารถเคลือบทับได้หลายพื้นผิววัสดุ ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต หรือโลหะ
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม