กระจกโฟลต (Float Glass) : วัสดุเเนะนำกับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน !!

มาพบกันอีกแล้ว กับ WAZZADU Material Review กระจกโฟลต (Float Glass) เป็นกระจกที่มีความโปร่งแสงสูง ผิวเรียบสนิท การสะท้อนสามารถทำได้ดี ฟองอากาศน้อยกว่า Sheet Glass การจัดเรียงของโมเลกุลภายในเนื้อกระจกทำได้ดีกว่าทำให้มีความแข็งแรง เเละกระบวนการผลิตที่ทันสมัย โดยให้น้ำแก้ว(น้ำกระจก)ไหล และลอยบนดีบุกหลอม ภายใต้อุณหภูมิ และความดันที่เหมาะสม ทำให้ผิวทั้งสองด้านของกระจกขนาน และเรียบสนิท ให้ภาพการมองผ่านที่ชัดเจนและภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ และยังใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคารทุกประเภท เช่น ประตู หน้าต่าง การตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน หรือร้านค้าทั่วไป ห้องแสดงสินค้า หน้าร้าน หรือตู้แสดงสินค้าทั่วไป

มาตรฐานการผลิต กระจกโฟลต (Float Glass) 

มอก. 880-2547 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระจกโฟลตใส กระจกโฟลตใส (Clear float glass) มีลักษณะโปร่งใส (Transparent) และไม่มีสี แบ่งออกเป็น 2 ชั้นคุณภาพ คือ ชั้นคุณภาพทั่วไปและชั้นคุณภาพพิเศษ 

มาตรฐานกำหนดขนาดและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ความหนา ความกว้างและความยาว คุณลักษณะที่ต้องการ (ชนิดของตำหนิ: ฟองอากาศ วัสดุแปลกปลอม ตำหนิเป็นจุดรวมเป็นกลุ่ม ตำหนิเป็นเส้นเป็นปื้นต่อเนื่องกัน ตำหนิเป็นเส้นไม่ต่อเนื่องกัน การราน การเห็นภาพบิดเบี้ยว และตำหนิที่ขอบ) การบรรจุ เครื่องหมายและฉลาก การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน และการทดสอบ  

 

ประเภทของกระจกโฟลต (Float Glass) 

กระจกโฟลต (Float Glass) แบ่งออกเป็น 2  ประเภทดังนี้

 

1.กระจกโฟลตใส (Clear Float Glass) เป็นกระจกที่เกิดจากการหลอมของซิลิก้าสารประกอบต่างๆ กระจกประเภทนี้จะทำให้มีรอยต่อระหว่างกระจกน้อย สามารถนำไปใช้งานได้กับผนังภายนอก ผนังภายในอาคารได้ Clear Float Glass เหมาะกับการใช้งานประเภทแสดงสินค้า แต่อาจไม่เหมาะกับส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

2.กระจกสี (Tinted Float Glass) มีการผสมออกไซด์ในเนื้อกระจกเพื่อให้เกิดสีสันแตกต่างกันไป เกิดความสวยงาม ช่วยลดความจ้าของแสงที่ส่งผ่านกระจกสีทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลและเกิดความสบายตาในการมอง แต่ออกไซด์ที่ใส่เข้าไปจะอมความร้อนจึงแตกได้ง่ายสีของกระจกยังสามารถช่วยตัดแสงที่จะส่องเข้ามาในตัวอาคาร ทำให้ประหยัดพลังงานภายในอาคารจึงเหมาะกับงานภายนอก 

การใช้งานของ กระจกโฟลต (Float Glass)

กระจกโฟลต (Float Glass) ใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกอาคารทุกประเภท เช่น ประตู หน้าต่าง การตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน หรือร้านค้าทั่วไป ห้องแสดงสินค้า หน้าร้าน หรือตู้แสดงสินค้าทั่วไป และยังนำไปใช้เป็นโครงสร้างผนังกระจกสูงขนาดใหญ่

อีทั้งยังตอบสนองความต้องการในทุก ๆ ด้านของผู้ใช้ โดยเฉพาะการใช้กับอาคารสมัยใหม่ที่ต้องการช่องเปิดขนาดใหญ่ จึงมีให้เลือกตั้งแต่ความหนา 2-19 ม.ม. ความกว้างประมาณ 3 เมตร และความยาวถึง 12 เมตร (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาและขนาด) 

กระจกโฟลตสีตัดแสง (Tinted Float Glass)

ผลิตขึ้นโดยการผสมโลหะออกไซด์เข้าไปในส่วนผสม ในขั้นตอนการผลิตกระจก ทำให้กระจกมีสีสัน จัดเป็นกระจกดูดกลืนความร้อน  ปริมาณแสงที่ทะลุผ่านกระจกสีขึ้นอยู่กับความหนา สี และความเข้มข้นของสีของกระจก ผู้ผลิตในประเทศไทยปัจจุบันผลิตได้ตั้งแต่ความหนา 3ถึง 12 มม. และผลิตได้ขนาดกว้างxยาว สูงสุดไม่เกิน 3x7 เมตร และสีที่พบเห็นได้ทั่วไปคือ สีชา (Grey)  สีฟ้า(Blue) สีเขียว(Green) และสีบรอนซ์ (Bronze) บางครั้งผู้ผลิตอาจผลิตสีอ่อน-แก่ได้มากกว่านี้ และใช้ชื่อเรียกทางการค้าที่แตกต่างกัน เช่น สีชาอ่อน (Cool Grey) สีเขียวเข้ม(Ocean Green) สีฟ้าเข้ม(Sky Blue) เป็นต้น

 

ขนาดมาตรฐานการใช้งานทั่วไป

ขนาดความหนาตั้งแต่ 2 มม. ถึง 19 มม. โดยจะมีความหนาตามนี้

 2mm     8mm

3mm     10mm

4mm     12mm

5mm     15mm

6mm     19mm   (22mm,25mm)

 

คุณสมบัติของกระจกโฟลตสีตัดแสง (Tinted Float Glass)

 

-มีคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่งมากระทบผิวกระจกได้ถึง 35-50%  

-ผิวกระจกจะร้อน เนื่องจากสีของกระจกที่เกิดการเติมโลหะออกไซด์ ทำให้ความร้อนจากผิวกระจกแผ่เข้ามาใอาคาร 

-ตัดแสงไม่ให้เข้ามาในอาคารมาก

-สามารถกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่ากระจกโฟลตใส 

-ช่วยลดความสว่างของแสง ทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลสบายตา 

คุณสมบัติที่น่าสนใจของ กระจกโฟลต (Float Glass)

 

-โปร่งใส ให้แสงส่องผ่านสูง

-สามารถนำไปเคลือบโลหะ เป็นกระจกสะท้อนแสง และกระจกประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี

-สามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบ ตามความต้องการในการใช้งาน

-สามารถนำไปแปรรูป เป็นกระจกนิรภัยลามิเนต กระจกฉนวนความร้อน กระจกเคลือบสี กระจกเงา กระจกดัดโค้ง กระจกพ่นทราย กระจกแกะสลัก กระจกเพ้นท์ และอื่นๆ เป็นต้น

 

กระจกโฟลต (Float Glass) เป็นกระจกที่มีความโปร่งแสงสูง ผิวเรียบสนิท การสะท้อนสามารถทำได้ดี ฟองอากาศน้อยกว่า Sheet Glass การจัดเรียงของโมเลกุลภายในเนื้อกระจกทำได้ดีกว่าทำให้มีความแข็งแรงกว่ากระจก Float จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือป็นรอยขูดขีด ผิวค่อนข้างขรุขระ เป็นคลื่น อาจจะมีบิดเบี้ยวบ้าง การนำไปใช้ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะ เป็นกรอบรูป กระจกเงา และกระจกที่ใช้สำหรับเครื่องเรือนน (Sheet Glass) เป็นกระจกที่พบเห็นทั่วไป ไม่มีความซับซ้อน และมีความแข็งแรงต่ำ ฟองอากาศมาก ผิวกระจกเป็นรอยขูดขีดได้ง่าย 

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก

http://www.euroglas.com

http://pacificglass.com.ph

http://www.cmc.co.th

http://intelligence.masci.or.th

www.agc-flatglass.co.th

baansanruk.blogspot.com

http://www.idealkote.com

www.siamsafetyglass.com

https://thai.alibaba.com

thai.alibaba.com

#WAZZADU #WazzaduMaterialEncyclopedia #CollectionMaterialIdea #glass # FloatGlass #กระจกโฟลต

ราคารเฉลี่ยของแผ่น กระจกโฟลต (Float Glass)

กระจกโฟลต (Float Glass) ตามท้องตลาดปัจจุบันแล้ว มีสินค้าราคาเกรดสูง-ตำ่ ราคารเฉลี่ยของแผ่น กระจกโฟลต (Float Glass) จะอยู่ที่ราคาเริ่มต้นประมาณ 15.75 บาท ต่อตารางฟุต (ราคารขึ้นอยู่กับขนาดความหนา เเละความยาว) 

 

ตัวอย่างของรายละเอียดสินค้า

กระจกธรรมดาหรือกระจกโฟลต ( Float Glass )ขนาดต่างๆ หน่วยเป็นนิ้ว ที่มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านกระจก ความหนา ยอดนิยมกับงานทั่วไป คือ 5 mm. และ 6 mm.

ราคาต่อตารางฟุต

5 mm. ใส 15.75 บาท 

5 mm. เขียวใส 19.50 บาท

6 mm. ใส 19 บาท

6 mm. เขียวใส 22.50 บาท

มีเเหล่งร้านค้าและตัวแทนจำหน่าย : บริษัทเอจีซี,siamsafetyglass,idealkote,besteasterngroup,visionglass

ข้อดีของ กระจกโฟลต (Float Glass)

1.การส่งผ่านแสงสูง,ประสิทธิภาพแสงที่ดีเยี่ยม

2.พื้นผิวเรียบและแบน,ที่มองเห็นได้ข้อบกพร่องจะถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด

3.สามารถนำมาใช้กับบ้านของเราได้เช่นกัน เนื่องจากกระจกใสเองมีค่าการสะท้อนแสงน้อย จึงเหมาะสำหรับห้องที่ต้องการมองทัศนียภาพภายนอกด้วย แม้ไม่ค่อยเป็นส่วนตัวสักเท่าไหร่ แต่ก็สามารถติดตั้งม่านเพิ่มเติมเมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว

 

ข้อแนะนำ

1.สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ซึ่งเหมาะกับการใช้งานประเภทแสดงสินค้า แต่อาจไม่เหมาะกับส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เพราะคนภายนอกสามารถมองเห็นเข้ามาภายในได้อย่างชัดเจน

2.ไม่ควรให้ลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศเป่ากระทบผิวหน้าของกระจกโดยตรงเพราะจะ ทำให้กระจกสูญเสียพลังงานมาก

3.ไม่ควรติดผ้าม่านที่มีความหนาทึบหรือวางตู้เหล็ก หรือสิ่งของอื่นๆ ชิดกับกระจก หรือติด ตั้งปิดบังกระจกโดยไม่มีการถ่ายเทความร้อน เพราะอาจทำให้กระจกสะสมความร้อนเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุให้กระจกสีแตกร้าวได้ง่าย

4.ไม่ควรทาสีหรือติดแผ่นกระดาษใดๆลงบนผิวกระจก

5.ควรจะต้องมีการตัดหรือฝนขอบกระจกให้เรียบ เพื่อทำให้ขอบกระจกมีความทนทานต่อการแตกร้าวจากแรงดึงและแรงเค้นที่ผิวและขอบของกระจก

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ