จากเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอยุธยา สู่สถาปัตยกรรมยุคใหม่ที่ทรงคุณค่า “The Wine pavilion Ayutthaya”

"The Wine pavilion Ayutthaya" 

เป็นผลงานการออกแบบของ Bangkok Project Studio ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา เป็นงานออกแบบเพื่อสังคมอีกหนึ่งโปรเจคที่ถูกจับตามมองจากทั้งสื่อไทยและสื่อนอก ด้วยความพิเศษในการเลือกใช้วัสดุที่ถูกมองข้ามและที่สำคัญแรงบันดาลใจและที่มาของสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่ามากกว่ามูลค่านี้ทำเพื่อชาวอยุธยาอย่างแท้จริง

ที่มา และจุดเริ่มต้นของ "The Wine pavilion Ayutthaya"​

ในปัจจุบันคนส่วนมากรู้จักอยุธยาแค่เพียงเรื่องเกี่ยวกับโบราณสถาน และใช้เป็นเส้นทางสำหรับผ่านไปยังจังหวัดอื่นๆเพียงเท่านั้น จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นว่าจะทำยังไงให้อยุธยาเป็นที่รู้จักและคนอยากมาท่องเที่ยวมากกว่านี้จึงเกิดเป็นความคิดที่ต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นมา

จากจดหมายเหตุลา ลูแบร์ ระบุหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งไว้ว่า "การดื่มไวน์ของไทยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา"

ทั้งนี้ยังได้ข้อมูลสนับสนุนมาจาก จดหมายเหตุลา ลูแบร์ ที่นอกจากจะบอกถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วเรายังได้ทราบข้อมูลอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือการดื่มไวน์ของไทยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จึงนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ด้วยเหตุนี้ทางเจ้าของโครงการ คุณคุณสรวีย์ วิศิษฏ์โสพา จึงต้องการสร้างพื้นที่สำหรับดื่มไวน์ให้กับคนอยุธยาเพื่อต้องการให้เป็นจุดสนใจและดึงดูดให้คนมาเที่ยวที่อยุธยาเพิ่มมากขึ้น

แนวคิดในการออกแบบที่หยิบนำเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอยุธยา มาผสมผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมยุคใหม่​

เนื่องจากพื้นที่ของโครงการตั้งอยู่ในบริเวณเกาะนอกเมืองของอยุธยา ซึ่งชุมชนโดยรอบเป็นบ้านไม้ทั้งหมด จึงต้องการให้ตัวอาคารของโปรเจคมีความกลมกลืนไปกับบริบทโดยรอบแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้มีความโดดเด่นด้วยตัวของอาคารเองด้วย จึงมีความต้องการที่จะทำอาคารไม้สักหลัง โดยใช้ไม้อัดยาง ทั้งนี้เพื่อต้องการศึกษาและทดสอบประสิทธิภาพของไม้อัดยางด้วย อีกทั้งงบประมาณในการก่อสร้างค่อนข้างมีจำกัด วัสดุที่เลือกนำมาใช้ในโครงการจึงเป็นการใช้วัสดุที่ราคาไม่แพงแต่มีประสิทธิภาพทดแทนกันได้

การเลือกใช้ Material ภายในโครงการ 

วัสดุหลักในโครงการคือไม้อัดยางมีเสริมโครงเหล็กใช้เป็นทั้งผนังและโครงสร้างหลักของตัวอาคาร ทั้งนี้ผู้ออกแบบได้มองเห็นว่าการใช้ไม้อัดยางในปัจจุบันลดน้อยลงมากเนื่องจากมีวัสดุชนิดอื่นขึ้นมาทดแทนและส่วนใหญ่จะใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรืองานภายในเป็นหลัก ไม้อัดยางที่เลือกใช้มีหลากหลายขนาดด้วยกันซึ่งขนาดที่เลือกใช้เป็นหลักก็คือ 20x20 มิลลิเมตร

สำหรับตัวบันไดเป็นเหล็กแฟลตบาร์ ทับด้วยเหล็กแผ่น ส่วนโครงสร้างใช้เป็นเหล็กเพื่อความแข็งแรง

ใช้ PVC sheet คลุมอาคารทั้งหลังเพื่อป้องกันน้ำฝน นอกจากนี้ตัว PVC sheet ยังสามารถเลื่อนเปิดเหมือนม่านเพื่อรับลมได้ นอกจากนี้ยังให้เอฟเฟคการสะท้อนของแสงที่แตกต่างไปจากการใช้กระจก และผิวของอาคารยังเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาในแต่ละวันอีกด้วย

จุดเด่นความเป็นตัวตนของ "The Wine pavilion Ayutthaya"

จุดเด่นของอาคารทรงสี่เหลี่ยมขนาด 11x11 เมตร สูง 9.40 เมตร หลังนี้ก็คือ คือบันได 5 ตัวที่อยู่ภายในอาคาร จุดประสงค์ก็เพื่อต้องการสร้างประสบการณ์ในการใช้บันไดที่หลากหลาย จะเห็นได้ว่าบันไดทั้ง 5 ตัวนั้นมีขนาดที่แตกต่างกันแต่หากสามารถใช้งานได้ดีเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนและการออกแบบลูกตั้งลูกนอนที่เหมาะสมกับขนาดของบันไดแต่ละตัว  ข้อดีของการใช้บันไดวนคือไม่สิ้นเปลืองพื้นที่มาก เมื่อดูแค่ผิวเผินอาจจะเห็นว่าเป็นแค่บันไดวนธรรมดาๆ แต่จริงๆแล้วคือ บันไดทางตรงขาเดียว เป็นบันไดที่เป็นวงรีปรับตรงกลางให้เป็นชานพัก หรือลูกนอนที่กว้างสามารถเป็นชานพักได้นั่นเอง 

"The Wine pavilion Ayutthaya" ให้คุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ใช้งานอย่างไร 

 ทำให้เมืองอยุธยามีความน่าสนใจ เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งยังสร้างรายได้กับกับชาวบ้านในชุมชนละแวกนั้น นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษณ์ประวัติศาสตร์และยังสารมารถเผยแพร่ให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติได้อีกทางหนึ่งด้วย 

ผู้ออกแบบ : Bangkok Project Studio (ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา)

เจ้าของโครงการ  : คุณสรวีย์ วิศิษฏ์โสพา

ที่อยู่โปรเจค : 3469, ตำบลบ้านรุน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

รูปภาพประกอบโดย : wazzadu.com 

 

#Wazzadu #Decorativesocialplatform #BangkokProjectStudio #TheWinepavilionAyutthaya #AStoryofanordinarygal #INSPIRESPECTIVE

การศึกษา: จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไลฟ์สไตล์: ชื่นชอบการเดินทาง และหลงไหลในงานสถาปัตยกรรม ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ