ครูศิลปาชีพผู้สืบสานงานแกะสลักไม จนเกิดผลงานที่ทรงคุณคา “ครูอนุชา สาขาเรือน”

จากชายหนุ่มผู้มีอาชีพทำนาทำไร่ เป็นช่างปูน ช่างไม้ รับสร้างบ้าน รับจ้างทั่วไป ได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกงานแกะสลักไม้ วิชาเขียนลาย การปั้น ฯลฯ ณ โรงฝากศิลปาชีพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่งได้รับพระมหา กรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้เป็นครูสอนแกะสลักไม้ ประจำ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านทุ่งจี้ และศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ จังหวัดลำปาง นับตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๔๕ - ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) ครูอนุชา สาขาเรือน.. ก็ได้สืบสานงานแกะสลักไม้ อันเป็นงานศิลปะที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ สร้างสรรค์ ให้เป็นงานศิลปาชีพ เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลัง.. สำหรับคนไทยทั้งแผ่นดิน

งานแกะสลักไม้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่นของชุมชน โดยส่วนใหญ่ใช่ไม่สักเป็นวัสดุสำคัญ เนื่องจากเป็นไม่ที่หาได้ง่าย ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของไทยในอดีต ไม่ใช่ของหายากเช่นในปัจจุบัน เป็นไม่ที่มีคุณภาพดี มีความงดงามในเนื้อไม้ และมี ความอ่อน ความเหนียวเหมาะสมกับการแกะสลักให้เป็น ลวดลายที่คมลึกงดงาม เมื่อนำไปทาสีหรือลงรักปิดทอง ก็จะมี คุณสมบัติในการดูดซับสีได้เป็นอย่างดี ลักษณะอันโดดเด่นของ ไม่แกะสลัก มักเป็นไม้สักทองที่เป็นไม้เศษ หรือไม้ล้ม ไม้ที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติ ตอไม้เก่า โพรงไม้ ปีกไม้ธรรมชาติ สามารถนำมาสร้างสรรค์ให้มีรูปแบบชิ้นงานที่วิจิตรงดงามได้

การแกะสลักไม้มี ๓ ลักษณะ คือ การแกะเป็นภาพลายนูนต่ำ หรือ ลายนูนสูงบนเนื้อไม้ และการแกะลอยตัว ซึ่งมีกรรมวิธีที่คล้ายคลึงกัน โดยการร่างภาพที่ต้องการลงบนชิ้นไม้ จากนั้นจึงใช้สิ่วและค้อน สลัก ตกแต่งให้มีรูปลักษณะดังภาพที่วาด เป็นงานที่ต้องอาศัยความใจเย็น และความระมัดระวังอย่างยิ่ง จากขั้นตอนหยาบไปสู้ขั้นตอนละเอียด เพื่อให้เกิดลวดลายอันงดงามวิจิตรและทรงคุณค่ายิ่งๆ ขึ้นไป

รางวัลแห่งความภูมิใจของ ครูอนุชา สาขาเรือน.. คือการได้มีโอกาสถวายงานรับใช้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการสืบทอดและดำรงรักษางานแกะสลักไม้ ให้คงอยู่คู่บ้านคู่เมืองตลอดไปไม่ให้สูญหาย ด้วยความรู้สึกผูกพันกับการแกะสลักไม้ของครูศิลปาชีพท่านนี้ จึงคิดว่าตราบที่ยังมีลมหายใจจะทำงานสืบทอดเจตนารมณ์ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่..

#Wazzadu #DecorativeSocialPlatform #WazzaduTALK #SACICT #ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ(องค์การมหาชน) #เทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ2560 #INTERNATIONALINNOVATIVECRAFTFAIR2017

เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีชื่อย่อว่า SACICT (อ่านพ้องเสียงกับคำว่า "ศักดิ์สิทธิ์" ในภาษาไทย) เราจะใช้ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มคุณค่าหัตถศิลป์ไทย ให้ร่วมสมัยกับชีวิตและความต้องการปัจจุบัน ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ