สลัดคราบความล้าสมัยทิ้งไป!!! ใครจะคิดว่านี่คือออฟฟิศธนาคารในเมืองไทย KBTG Smart Office

KBTG Building (KASIKORN BUSINESS TECHNOLOGY GROUP)

เป็นผลงานการออกแบบของบริษัท PBM (Progressive Building Management Company Limited)  ซึ่งก่อตั้งมากว่า 40 ปีแล้วโดยเริ่มจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่ ส่งต่อมาถึงรุ่นของลูกๆ เรียกได้ว่าเป็นบริษัทภายในครอบครัว ผลงานที่ทำมีความหลากหลาย ทั้งงานด้านสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายใน รวมไปถึงงานโครงสร้าง

การเริ่มต้นของโปรเจคนี้แสดงถึงการกล้าเปลี่ยน ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาฉีกกรอบออกจากสิ่งเดิมๆ

ก่อนหน้านี้ PBM เคยร่วมงานกับทางกสิกรมาก่อน ดังนั้นจึงได้รับเชิญให้มาร่วมประกวดแบบในโปรเจคนี้ โดยทางกสิกรมีความต้องการออฟฟิศสมัยใหม่ที่มีความสนุกสนานเหมาะกับสตาร์ทอัพในยุคนี้ ซึ่ง KBTG เป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ของธนาคารกสิกร โดยเป็นสตาร์ทอัพใหม่ของกสิกรที่เน้นเรื่องของฟินเทค

Concept Design คือ Solution (การแก้ปัญหา)โดยเน้นการออกแบบเพื่ออนาคต

ซึ่งจะเน้นการแก้ไขปัญหาทุกๆด้านเพื่อตอบโจทย์การออกแบบ และการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการออกแบบเพื่ออนาคตในอีกหลายสิบปีข้างหน้า โดยเน้นเรื่องของประสิทธิภาพมาก่อนความสวยงามเพราะความสวยงามในมุมมองของแต่ละคนไม่เท่ากัน และเปลี่ยนไปตามกาลเวลาได้ แต่ประสิทธิภาพนั้นส่งผลต่อผู้ใช้งานโดยตรงคือเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน และทำให้ผู้ใช้งานพึงพอใจสูงสุด

สไตล์การออกแบบอันผสมผสาน ที่สลัดคราบความล้าสมัยทิ้งไป ใครจะคิดว่านี่คือออฟฟิศธนาคารในเมืองไทย KBTG Smart Office

เป็นการนำเสน่ห์ในแต่ละด้านของ Contemporary ,Modern และ Industrial  มาผสมผสานรวมกันอย่างลงตัวโดย Contemporary เป็นตัวแทนของความรู้สึกอบอุ่น ใช้เส้นสายสมัยใหม่ในแบบ Modern และความงามจากการจัดระบบของงานระบบในอาคารนี่คือส่วนของ Industrial 

ที่มาของงานตกแต่ง ซึ่งเน้นโทนสีเป็นค่ากลางเหมาะแก่คนทุกเพศทุกวัยที่มาใช้งานนั้น มาจากมุมมองของสตาร์ทอัพยุคใหม่ ซึ่งก็คือคนที่มีวิศัยทรรศน์ใหม่ๆไม่จำกัดอายุ คนที่ก้าวทันเทคโนโลยี พร้อมที่จะเรียนรู้ก้าวทันโลกมารวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้ โดยการตีความว่าฟินเทคเค้ามีความสนุกสนานแต่ในขณะเดียวกันก็มีความจริงจังเป็นธนาคาร กราฟฟิกดีไซน์ที่ออกมาจึงมีทั้งความสนุกสนาน และเรียบง่ายผสมผสานกันอย่างมีเสน่ห์

การเลือกใช้วัสดุที่ใส่ใจความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

มีการเลือกใช้วัสดุหลากหลายชนิดโดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ และสรุปได้ว่าวัสดุที่เลือกใช้จะต้องผลิตภายในประเทศหาซื้อได้ง่าย เป็นวัสดุรีไซเคิล ปลอดสารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน

Functional Design

เนื่องจากอาคารมีทั้งหมด 11 ชั้น จึงแบ่งการออกแบบออกเป็น 2 ส่วน คือ 

1. พื้นที่อาคารสำนักงาน

คือพื้นที่ตั้งแต่ชั้น 5 ถึงชั้น10 ซึ่งในแต่ละชั้นมีพื้นที่มากกว่า 4,000 ตารางเมตร รองรับคนทำงานประมาณ 850 คนต่อชั้น แนวคิดในการออกแบบ จะเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา เพื่อเปลียนพฤติกรรมผู้ใช้งานภายในอาคารให้ดีขึ้นกว่าเดิม ด้วยการปรับพื้นที่ทำงานให้เล็กลงและเพิ่มพื้นที่กิจกรรมเช่นมีพื้นที่ทานข้าว และพักผ่อน พื้นที่ทำงานที่สามารถนั่งทานกาแฟไปพร้อมกับคุยงานกันได้

และสำหรับในโซนพื้นที่ออฟฟิศ ได้มีการเจาะบันไดตรงกลางอาคารเพิ่มเติมตั้งแต่ชั้น 6 จนถึงชั้น 10 ทั้งนี้ไม่ได้มองแค่ว่าเป็นการประหยัดพลังงานในการใช้ลิพท์เพียงอย่างเดียวแต่เพื่อให้พนักงานได้เดินติดต่อคุยงานกันได้อย่างสะดวกสบาย ไม่เป็นอุปสรรคในการทำงานข้ามแผนกของพนักงาน 

2. ชั้นที่ 11 เป็น Innovation campus

ถือเป็น core concept หลักของอาคารหลังนี้ เพราะหากใครได้มาที่อาคารนี้แล้วไม่ได้ขึ้นมาที่ชั้น 11 นั้นถือว่ามาไม่ถึงกันเลยทีเดียว แนวความคิดในการออกแบบชั้นนี้คือ เสมือนการสร้างเมืองๆหนึ่งขึ้นมา เพื่อให้ประชากรได้อยู่อาศัย ซึ่งภายในเมืองจะประกอบด้วยพื้นที่ในแต่ละโซน ซึ่งจะมีความแตกต่าง และมีความหลากหลาย เช่น มีที่พักอาศัย มีลานคนเมือง มีโซนคอมเมอร์เชียล ร้านกาแฟ คาเฟ่ มีพื้นที่สีเขียวที่อยู่บริเวณพื้นผิวอาคาร และมีแสงธรรมชาติส่องเข้ามา จึงทำให้ไม่รู้สึกอึดอัดเวลาทำงาน 

 

ส่วนโซนธุรกิจก็จะแทนค่าด้วยห้องประชุม และสำหรับส่วนที่เป็นไฮไลท์ก็จะเป็นลานคนเมือง คือที่ประชุมสำหรับคนเมือง จากโจทย์ที่ต้องการจุคนในที่ประชุมได้เยอะๆนอกจากนี้ยังต้องมีความแตกต่างออกไปจากเดิมที่เคยมีมาด้วย โดยมีความคิดว่าต้องการให้มีคนที่เป็นสปอร์ตไลท์อยู่ตรงกลาง เพื่อบรรยายให้คนจำนวนมากนั่งฟังล้อมรอบ

โถงทางเดินภายในอาคาร

โซนพื้นที่ห้องประชุม : ชั้น G

โซนร้านอาหาร

บทสรุปของการออกแบบที่กล้าเปลี่ยน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าผู้ออกแบบไม่ได้ทำการดีไซน์ออกแบบตกแต่งแค่บริเวณภายในอาคารเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงส่วนอื่นที่สำคัญอีกหลายจุดเช่นเรื่องของโครงสร้างและงานระบบ ทุกอย่างได้ผ่านกระบวนการคิดและวิเคราะห์มาทั้งหมดกว่าจะออกมาเป็นงานดีไซน์ที่เท่และได้ฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์ต่อพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริงๆ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกล้าที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์เดิมขององค์กรให้เป็นเป็นภาพลักษณ์ใหม่ที่เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันรวมไปถึงในอนาคตด้วย

PBM (Progressive Building Management Company Limited):ทีมสถาปนิก-ผู้ออกแบบ

รูปภาพประกอบโดย : wazzadu.com

#Wazzadu #Decorativesocialplatform #KBTG #KASIKORNBUSINESSTECHNOLOGYGROUP#PBM #ProgressiveBuildingManagementCompanyLimited #contemporarystyle #modernstyle #indrustrialstyle #AStoryofanordinarygal #INSPIRESPECTIVE

 

สามารถเข้าชมผลงานของทาง PBM ได้ตามช่องทางดังนี้

website:  www.pbm.co.th

facebook: facebook.com/pbm.co.th

instagram: pbm.co.th

การศึกษา: จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไลฟ์สไตล์: ชื่นชอบการเดินทาง และหลงไหลในงานสถาปัตยกรรม ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ