Heatwave Effect คลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปี จะมีวิธีป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในอาคารได้อย่างไรบ้าง

ในปี 2567 เป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับคลื่นความร้อนที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน หลายๆ พื้นที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด 40-45 องศาเซลเซียส อันเป็นผลกระทบจากสภาวะโลกรวน สาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเป็นปริมาณมากในแต่ละปี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดผลตามมา เช่น ฤดูร้อนที่ร้อนจัด และยาวนานขึ้น ฤดูหนาวมีอุณหภูมิที่ไม่หนาวเย็นเหมือนเดิมและมีระยะเวลาที่สั้นลง การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบลม ซึ่งส่งผลต่อการกระจายและความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก สภาพอากาศที่รุนแรงและไม่สามารถคาดเดาได้ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบฝน

คลื่นความร้อนที่เกิดจากสภาวะโลกรวน ทำให้หลายคนที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนระอุไม่ได้ จนเป็นลมแดด (Heat Stroke) บางรายอาจอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำ ให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ความดันต่ำ หน้ามืด อ่อนเพลีย บางรายเกิดภาวะขาดเหงื่อ ชัก และอาจเกิดอาการช็อค จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

แม้เราจะอยู่ในบ้าน การเปิดหน้าต่างรับลมธรรมชาติก็แทบไม่สามารถช่วยให้คลายร้อนได้ หรือ การเปิดพัดลมแรงๆ ก็กลับกลายเป็นว่าพัดเอาไอร้อนมาใส่ตัวเรา ส่วนการเปิดเครื่องปรับอากาศสามารคลายร้อนได้ก็จริง แต่ก็ทำให้ค่าใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ในวันนี้ Smart Tec จึงนำไอเดียและวิธีป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในอาคาร (โดยไม่ติดพัดลม หรือ เครื่องปรับอากาศเพิ่ม) เพื่อทำให้พื้นที่ภายในอาคารเย็นสบายขึ้น มาแบ่งปัน เพื่อให้ผู้อ่านนำไปประยุกต์ต่อยอดใช้ในการออกแบบ หรือ ปรับปรุงอาคารของตนเอง

วิธีป้องกันความร้อน ด้วยวิธีการทางสถาปัตยกรรม

1. ปลูกต้นไม้ในบริเวณอาคารเพื่อให้ร่มเงา และเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพราะต้นไม้ และดินจะสามารถช่วยดูดซับความร้อนได้

2. หลีกเลี่ยงการเทพื้นคอนกรีตจนเต็มพื้นที่บริเวณอาคารโดยไม่มีพื้นที่สีเขียวเลย เพราะคอนกรีตจะสะสมความร้อน และลมจะพัดเอาคลื่นความร้อนจากพื้นคอนกรีตเข้าปะทะกับตัวอาคาร ทำให้ผนัง และพื้นที่ภายในอาคารร้อนขึ้น

3. ออกแบบช่องเปิด หรือ ตำแหน่งหน้าต่างให้ถ่ายเทอากาศได้อย่างเหมาะสม และติดตั้งกันสาดระแนงบังแดดทั้งแนวตั้ง หรือ แนวนอน (ขึ้นอยู่กับทิศทางแดด) เพื่อช่วยกรองแสง และเพิ่มร่มเงา

4. เปลี่ยนมาใช้กระจกฉนวนกันความร้อน และติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา เพื่อดูดซับความร้อน ทำทำให้พื้นที่ภายในอาคารมีอุณหภูมิที่เย็นสบายขึ้น

5. ทาสีอาคารในโทนอ่อน เพื่อลดอุณหภูมิ ช่วยลดการสะสมความร้อน และยังทำให้ดูโปร่งสบายตามากขึ้นอีกด้วย

6. สำหรับอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ หรือ ต้องการต่อเติมแนะนำว่าควรทำเพดานสูง ยิ่งเพดานมีความสูงจากพื้นมากเท่าไหร่มวลอากาศร้อนที่สะสมภายในอาคารจะมีการระบาย หรือ เคลื่อนตัวได้ดียิ่งขึ้น เพราะมวลความร้อนจะลอยสู่ที่สูงเสมอ ความสูงเพดานที่เหมาะสมตั้งแต่ 3.00-4.00 เมตร

7. ติดตั้งม่าน เพื่อช่วยกรองแสงและป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ภายในอาคารโดยตรง โดยมีให้เลือกหลายแบบทั้งม่านโปร่งแสง ที่มีค่าโปร่งแสงหลายระดับ และม่านทึบ

8. และวิธีที่ทำได้เร็วที่สุด คือ การติดฟิล์มกรองแสงป้องกันความร้อน ซึ่งมีให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลายในปัจจุบัน

ฟิล์มปรอท

หรือ ฟิล์มเคลือบโลหะ คือ ประเภทฟิล์มที่ถูกเคลือบผิวด้านหนึ่งด้วยโลหะ เช่น อะลูมิเนียม เงิน ทอง หรือ ไททาเนียม ในกระบวนการผลิตอาจมีการใส่สีต่างๆ เช่น สีเขียว สีฟ้า สีดำ ฯลฯ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และเข้ากับโทนสี หรือ สไตล์ของอาคารนั้นๆ อีกทั้งยังมีราคาที่ย่อมเยาจนได้รับความนิยมนำไปใช้ในงานสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งอาคารอย่างแพร่หลาย

ในด้านคุณสมบัติทางสถาปัตยกรรม ฟิล์มปรอทช่วยลดความร้อนภายในอาคารได้ดี และไม่สะสมความร้อน อีกทั้งยังช่วยป้องกันรังสียูวี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคเกี่ยวกับดวงตาได้

ฟิล์มปรอทมีจุดเด่น คือ ค่าสะท้อนแสงที่สูงกว่าฟิล์มเซรามิค หรือฟิล์มโทนดำ เพราะฟิล์มปรอทออกแบบมาเพื่อสะท้อนความร้อนออกไป ถ้าหากมองจากภายนอกไปที่ตัวกระจกอาคาร จะเห็นเป็นกระจกเงาสะท้อนแสง 

และข้อดีอีกอย่าง คือ ความร้อนจะไม่สะสมที่กระจก จึงช่วยให้กระจกมีความคงทนใช้งานได้นานหลายปี ถือว่าตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการติดฟิล์มกรองแสงที่ช่วยลดความร้อนได้ดี ในราคาไม่สูงมาก

สำหรับการนำไปใช้งานจะต้องระวังไม่ให้มีค่าการสะท้อนแสงมากเกินไป หรือ ไม่ควรเกินกว่า 30% (มีค่าระดับความเข้มของฟิล์มให้เลือกใช้) เพื่อป้องกันผลกระทบด้านการสะท้อนที่อาจเกิดกับอาคารอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบ หรือ อาจเกิดปัญหาแสงสะท้อนเข้าตาผู้ผ่านไปผ่านมาจนเป็นอันตรายได้

ฟิล์มเซรามิค

เป็นฟิล์มที่ผลิตแบบนาโนเทคโนโลยีผสมเซรามิค (Ceramic) ที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักในการลดความร้อน ในปัจจุบันฟิล์มเซรามิคได้รับความเป็นนิยมอย่างมากในประเทศไทย ถ้าหากมองจากภายนอกจะเห็นกระจกเป็นโทนสีดำ ซึ่งจะช่วยให้ตัวอาคารดูสวยทันสมัยมากขึ้น และช่วยลดความร้อนได้ดีเยี่ยม

ในด้านคุณสมบัติทางสถาปัตยกรรม ฟิล์มเซรามิคจะช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคาร สามารถป้องกันรังสียูวี รังสีอินฟราเรด แสงสว่างที่มากเกินไป และช่วยถนอมสายตาและผิวหนัง จึงเหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้กับอาคารประหยัดพลังงาน หรือ Eco & Green Architecture

นอกจากนี้ฟิล์มเซรามิค ยังมีอีกจุดเด่นที่สามารถเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายในอาคาร โดยผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารยังสามารถมองออกไปข้างนอกได้อย่างสว่างและมีความชัดเจน สัญญาณดิจิทัลทะลุผ่านได้ 100% ฟิล์มยึดเกาะกระจกได้ดี ช่วยลดความอันตรายจากอุบัติเหตุ หรือ ภัยธรรมชาติได้

หากสนใจผลิตภัณฑ์ Writing Film

TEL : 02-444-3044

E-mail: mkt@smarttecfilm.com

บริษัท : บริษัท สมาร์ทเทค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
เริ่มก่อตั้งและจดทะเบียนการค้าตั้งแต่ปี 2544 โดยบริษัทได้ดำเนินธุรกิจในการนำเข้า และจัดจำหน่ายฟิล์มกรองแสง ฟิล์มใสลดความร้อน ฟิล์มนิรภัยสำหรับติดรถยนต์,อาคารและที่พักอาศัย ฟิล์มเพื่อการตกแต่งภายใน และเครื่องมือในการติดตั้งฟิล์ม โดยในส่วนของฟิล์มติดอาคาร ทางบริษัทได้จัดจำหน่ายแบรนด์สมาร์ทเทค และซันการ์ด ( จากอเมริกา )

ทางบริษัทได้ดำเนินธุรกิจโดยการเน้นหลักคุณธรรมกับลูกค้าและองค์กรมาตลอด การจัดจำหน่ายสินค้าจะเน้นให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด จึงทำให้ฟิล์มกรองแสงจากบริษัทฯ ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายซึ่งปัจจุบันมีตัวแทนมากกว่า 500 รายทั่วประเทศ อีกทั้งยังได้การตอบรับที่ดีจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมากมายในการใช้บริการติดตั้งฟิล์มติดอาคาร อาทิเช่น พระราชวังสวนจิตรลดา, Pullman Hotel, Novotel, Honda Asia Pacific R&D, Toyota Motor Thailand, ช่อง 7 สี, กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ, โรงพยาบาลกลาง, มหาวิทยาลัยมหิดล, สวทช รวมถึง รีสอร์ท อลีลา วิลล่า ที่หมู่เกาะมัลดีฟ เป็นต้น ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
รวมไอเดียการตกแต่งด้วย "ฟิล์มฝ้าสีขาว"

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ