Contactor คืออะไร? ต่างจากรีเลย์หรือไม่? มาหาคำตอบกัน
Contactor อุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นสำคัญที่หลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยว่าคอนแทคเตอร์ นั้นก็คือรีเลย์ ซึ่งแท้จริงแล้วคอนแทคก็มีความแตกต่างจากรีเลย์อยู่พอสมควร แถมในเรื่องของความสำคัญแล้วทั้งสองสิ่งนี้ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย และเพื่อไม่ให้เป็นปริศนาที่ยากจะแก้ไขต่อไป วันนี้เราเลยนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้มาฝากกัน รับรองว่าอ่านจบ จะได้คำตอบและรู้จักกับคอนแทคได้มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
Contactor คืออะไร?
คอนแทคเตอร์ เรียกอีกอย่างได้ว่าแมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) เป็นอุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้าที่ใช้เพื่อ เปิดและปิดหน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจรของระบบไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่นการควบคุมระบบปั๊มน้ำ หรือมอเตอร์ รวมทั้งในหลายๆ รุ่นก็ยังใช้งานกับเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้อีกด้วย ทั้งนี้ในการใช้งาน แมกเนติกคอนแทคเตอร์ ก็ต้องเลือกตามความเหมาะสมกับอุปกรณ์ที่จะใช้งาน รวมทั้งขนาดของเครื่องจักรในการใช้งานด้วย โดยส่วนประกอบหลักๆ ของ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ มีดังนี้
- แกนเหล็กที่ถูกออกแบบมาเป็นแผ่นบางๆ ซ้อนกันหลายชั้น โดยแผ่นเหล็กทั้งหมดจะมีการเคลือบฉนวนไฟฟ้าเอาไว้ เพื่อไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าไหลวนที่แกนเหล็กและไม่มีการสะสมความร้อน ซึ่งแกนเหล็กนั้นจะมีสองส่วนคือ แกนเหล็กเคลื่อนที่ และแกนเหล็กที่ติดอยู่กับที่
- ขดลวดที่ทำจากลวดทองแดงโดยจะมีการพันเอาไว้ที่รอบแกนเหล็กที่อยู่กับที่
- หน้าสัมผัสหลัก ทำหน้าที่ตัดและต่อกระแสในวงจรกำลังที่เข้าสู่โหลด
- หน้าสัมผัสรอง เป็นหน้าสัมผัสที่เล็กกว่า และมีความทนทานต่อกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่า
- สปริง ทำหน้าที่ดันแกนเหล็กทั้งสองส่วนให้แยกออกจากกันในช่วงที่ไม่มีการจ่ายไฟเข้าขดลวด
- สปริงที่ดันหน้าสัมผัส ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับหน้าสัมผัส
หน้าที่หลักของ คอนแทคเตอร์
สำหรับหลักการทำงานที่เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่หลักสำคัญของ คอนแทคเตอร์ ก็คือเมื่อมีการจ่ายไฟฟ้าไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่บริเวณขากลางของแกนเหล็ก ขดลวดก็จะทำการสร้างสนามแม่เหล็กที่มีแรงสนามแม่เหล็กมากกว่าแรงของสปริงเพื่อดึงแกนเหล็กชุดเคลื่อนได้ ให้เคลื่อนลงมา (ON) โดยที่ คอนแทคจะเปลี่ยนสภาวะในการทำงาน โดยคอนแทคปกติปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก ส่วนคอนแทคปกติเปิดจะทำการต่อวงจรของจุดสัมผัส และเมื่อใดก็ตามที่กระแสไฟฟ้าไม่มีการไหลผ่านเข้าไปยังขดลวดแล้ว สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งแบบปกติเปิด และแบบปกติปิดก็จะอยู่ในสภาวะเริ่มต้นอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ก็ต้องลองพิจารณาถึงปัจจัยร่วมด้านอื่นๆ เช่น การเลือกแมกเนติกคอนแทคเตอร์ในรุ่นและประเภทที่เหมาะสม และเหมาะกับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย ฉะนั้นแล้วการทำความเข้าใจในตัวของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็นในขั้นแรกก่อนที่จะเลือกซื้อ แมกเนติกคอนแทคเตอร์
Magnetic Contactor มีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่?
มาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจมีความสงสัยว่า แล้วจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการติดตั้ง Magnetic Contactor ในการใช้งาน ซึ่งก็ต้องบอกว่า ‘จำเป็น’ สำหรับปั๊มน้ำขนาดใหญ่ หรือเครื่องปั๊มที่ต้องใช้ในงานอุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่ เพราะหากเป็นปั๊มขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งานหนักและใช้งานอย่างต่อเนื่อง มีความเสี่ยงที่จะเกิดความร้อน และอาจทำให้ขดลวดเกิดการไหม้ สร้างความเสียหายได้เป็นจำนวนมาก การติดตั้ง Contactor เอาไว้ก็จะช่วยลดความเสี่ยง และช่วยให้การทำงานของเครื่องปั๊มในโรงงานอุตสาหกรรมมีความปลอดภัย รวมทั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ซึ่งกรณีของความจำเป็นนั้น สรุปได้ว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ที่จะใช้ว่ามีการทำงานมากน้อยเพียงใด และเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายหรือไม่
วิธีเลือกซื้อ Contactor
สำหรับการเลือกซื้อ Magnetic Contactor นั้นก็มีเรื่องที่ควรทราบอยู่ 3 ประการสำคัญด้วยกัน นั่นก็คือ
- ประเภทของโหลด จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ IEC รองรับ ซึ่งมอเตอร์ส่วนมากจะสามารถใช้งานกับคอนแทคนั้นจะเป็นประเภท A3 เป็นต้นไป ซึ่งประเภทของโหลดนั้นก็จะมีหลากหลายประเภทด้วย ฉะนั้นแล้วการเลือกซื้อโดยทราบว่าโหลดเป็นแบบใดก่อนก็จะให้ความปลอดภัยได้มากกว่า
- Inrush Current คอนแทคเตอร์ที่เลือกไปใช้งานนั้นจะต้องรองรับในเรื่องของกระแสที่สตาร์ทมอเตอร์ได้ด้วย เพราะไม่ใช่เพียงแค่รองรับกับการรันมอเตอร์เพียงอย่างเดียว
- แรงดันของระบบไฟฟ้า ประการสุดท้ายก็คือแรงดันที่ใช้ในโรงงานนั้นๆ จะต้องมีการตรวจสอบให้ดีก่อนว่าแมกเนติกที่จะซื้อไปใช้งานนั้นสามารถรองรับแรงดันซัพพลายของโรงงานได้หรือไม่ เพราะในแต่ละรุ่นก็จะมีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็เพื่อความเสถียรและความปลอดภัยจากการใช้งานด้วย
นอกจากทั้งสามข้อนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ Contactor ก็คือแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าชั้นนำ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยในปัจจุบัน
แนะนำ Contactor จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
สำหรับคอนแทคเตอร์จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นั้นก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซึ่งมีให้เลือกซื้ออยู่ด้วยกันทั้งหมด 8 ประเภทด้วยกัน คือ
- Contactors and Reversing Contactors
- Easypact TVS
- Electronic Over Current Relays
- Motor Management System
- Motor protection circuit breakers
- Motor starter combinations
- Motor switch-disconnectors and fuses
- Thermal Overload Relays
โดยในแต่ละรุ่น แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติ และฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกัน รวมทั้งความเหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำไปใช้ในแต่ละชนิดด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณสามารถเลือกซื้อแมกเนติก คอนแทคเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างง่ายดายเพียงแค่เลือกซื้อผ่านทาง Schneider Electric ซึ่งหากใครที่ยังไม่มั่นใจว่าควรซื้อรุ่นไหน ก็สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทางเจ้าหน้าที่ได้เลย เรียกได้ว่าทั้งง่าย และได้มาตรฐานที่ปลอดภัยต่อการใช้งานอย่างแน่นอน
ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่
เว็บไซต์: www.se.com
Facebook: Schneider Electric
Instagram: schneiderelectric_th
LinkedIn: Schneider Electric
Lazada: Schneider Electric
shopee: Schneider Electric official
ผู้เขียนบทความ