กรุงเทพ ปลอดคาร์บอน ทำได้จริงหรือไม่
กรุงเทพ ปลอดคาร์บอน ทำได้จริงหรือไม่
ความฝันของคนกรุงเทพในยุคที่เต็มไปด้วยมลพิษและความล้มเหลวของการบริหารประเทศของนักการเมืองบางกลุ่มที่ไม่สนใจเรื่องมลพิษ และปากท้องของคน กทม เลย ล่าสุดคนกรุงมีความหวังขึ้นมาอีกครั้งหลังได้ผู้ว่า กทม คนใหม่ อย่างคุณ ชัชชาติ เข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งมันสามารถเป็นไปได้แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการทำให้ Bangkok Net Zero Carbon: กรุงเทพ ปลอดคาร์บอน เกิดขึ้นจริง และสิ่งที่ต้องทำมีอะไรบ้าง ใช้เงินเท่าไหร่ ลองมองง่ายๆ ก็เหมือนกับการพลิกโฉม กทม ให้น่าอยู่ ได้โดยเร็วที่สุด ในปัจจุบัน ราคาน้ำมัน Gasohol 95 พุ่งทะลุ 44.50 บาทแล้ว เมื่อเช้าวันที่ 8.6.65 นี้นี่เอง มันเหมือนการตอกย้ำคนไทยถึงความย่ำแย่ของรัฐบาลชุดนี่ที่ล้มเหลวอย่างชัดเจน ซึ่งหนึ่งในการปลดแอกคนไทย คนกทม. จาก น้ำมันแพง ก๊าซแพง PM2.5 และเงินเฟ้อต่างๆ มาลองคำนวณเบื้องต้นกันดูว่าเป็นฝันที่มีความเป็นไปได้หรือไม่ และถ้าเป็นไปได้ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ All Bangkok Net Zero Carbon จะแตกต่างจากนโยบาย "คาร์บอนคุมได้ กทม.ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero)" ของ อ.ชัชชาติ ซึ่งจะเป็นนโยบายที่ทำนำร่องเฉพาะหน่วยงานในสังกัดของกทม. มีเป้าคือ 2030 ส่วนถ้าจะทำทั้งกรุงเทพฯ นั้นจะเป็นอีกระดับพลังคอสมิกนึงเลย เร็วสุดก็น่าจะ 2040 - 2050 หรือถ้าเปรียบยุคหลังธานอสครับ ส่วนของเราก็จะต้องเป็นเหตุการณ์ในยุค "หลัง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์"สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ กทม.ปลอดคาร์บอน
- รถยนต์ทุกคันทั้งใหม่และเก่าเป็นรถยนต์ EV
- มอเตอร์ไซค์ ตุ๊กๆ ทุกคันทั้งใหม่และเก่าเป็น EV
- รถเมย์ รถบัส รถบรรทุก ทุกคันทั้งใหม่และเก่าเป็น EV
- เปลี่ยนเตาแก๊สทั้งหมดเป็นเตาไฟฟ้า
- ไฟฟ้าทั้งหมดมาจากพลังงานหมุนเวียน อย่างระบบ โซล่ารูฟท็อป | โซล่าเซลล์
การคำนวณ(เบื้องต้น):
- รถยนต์ 4,500,000 คัน วิ่งปีละ 20,000 km/คัน อัตราสิ้นเปลือง 7.00 km/kWh ต้องการไฟฟ้าทั้งหมด 12,857,142,857 kWh/ปี
- รถบรรทุก รถบัส 187,000 คัน วิ่งปีละ 50,000 km/คัน อัตราสิ้นเปลือง 0.67 km/kWh ต้องการไฟฟ้าทั้งหมด 14,025,000,000 kWh/ปี.
- รถจักรยานยนต์ 3,600,000 คัน วิ่งปีละ 20,000 km/คัน อัตราสิ้นเปลือง 40 km/kWh ต้องการไฟฟ้าทั้งหมด 1,800,000,000 kWh/ปี
- การใช้ไฟฟ้าในเขตกทม.ปัจจุบัน 36,966,000,000 kWh/ปี ความต้องการไฟฟ้ารวมทั้ง 4 ข้อ 65,648,142,857 kWh/ปี
ผลการคำนวณ:
- ต้องใช้ โซล่าเซลล์ 45,275 MW
- เงินลงทุนเฉพาะส่วนของโซล่าเซลล์ 1,131,865 ล้านบาท
- ถ้าติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ บนดินใช้พื้นที่ทั้งหมด 316,922 ไร่
- ถ้าติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาใช้พื้นที่ 271,647,488 ตร.ม. หรือเทียบเท่าหลังคาบ้านประมาณ 27 ล้านหลัง
- เงินลงทุนส่วนอื่นๆเช่นแบตเตอรี่ สมาร์ทกริด น่าจะ >2 ล้านล้าน บาท
ความเป็นไปได้และความคุ้มค่า:
- ติดตั้ง โซล่ารูฟ บนพื้นดินคิดเป็นพื้นที่ 32% ของทั้งกทม. แต่แค่ 0.1% ของทั้งประเทศ ที่ดินกทม.ไม่พอแน่นอน แต่ติดตั้ง ระบบโซล่ารูฟท็อป ใน ตจว.และขายเข้ากทม.ได้เหลือเฟือ
- ติดตั้ง โซล่าเซลล์ บนหลังคาบ้าน ไม่พอเพราะทั้ง กทม มีบ้านแค่ 24 ล้านหลัง และอาจจะใช้ได้แค่ครึ่งเดียว บ้างก็เป็นคอนโด แต่ถ้าใช้ Warehouse, ห้าง, โรงงาน จะช่วยได้อีกมาก
- ความคุ้มค่า คือ ประหยัดน้ำมันได้อย่างน้อยปีละ 500,000 ล้านบาท ที่ราคาน้ำมันลิตรละ 40 บาท และยังประหยัดค่าก๊าซ ถ่านหิน น้ำมันเตา
- ผลจากข้อ 1-3 จะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้นมาก
- คืนทุนไม่น่าเกิน 6 ปี แล้วก็จะเป็นอิสระกันจากราคาแก๊สและน้ำมัน
บทสรุป ความยาก และความท้าทาย:
- ใช้กำลังคน กำลังสมอง และเวลามหาศาลในการติดตั้ง ระบบโซล่ารูฟท็อป 45,275 MW
- งานวิศวกรรมไฟฟ้าและระบบ Smart Grid จะยากมากๆ อย่างน้อยต้องมี 20 ปี
- ต้องหาเงินประมาณ 3 ล้านล้านบาท
- กทม. อาจต้องทำเรื่องใบอนุญาตก่อสร้างระดับ 2-3 ล้านใบ เพราะประเทศเราอยู่ในช่วงล่าหลังเพราะรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งใช้เวลา 10 - 20 ปี ระบบปัจจุบันไม่มีทางเร็วได้ขนาดนั้น
- จะพึ่งแต่ ชัชชาติ ไม่พอแน่นอน น่าจะต้องใช้ความช่วยเหลือของ รัฐบาล ลุงตู่ (แต่คงยาก ฝันไปก่อน)
ผู้เขียนบทความ