ไอเดียการออกแบบตกแต่งบ้านในสไตล์ Modern Tropical & Botanical ที่ให้ความสวยงามแบบธรรมชาติร่วมสมัย
เมื่อความเป็นธรรมชาติเขตร้อน Natural Tropical ถูกนำมาผสมผสานกับแนวทางการออกแบบที่เรียบง่ายทันสมัยแบบ Modern ทำให้ความเป็นสภาวะทางธรรมชาติก็ถูกดึงเข้ามาผสมผสานกับความเรียบง่ายตามแบบฉบับรสนิยมสมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจ
ถือเป็นอีกมิติหนึ่งของการตกแต่งที่เปี่ยมไปด้วยวิวัฒนาการ โดยการลดทอนลายระเอียดสัจจะของธรรมชาติลงอย่างพอเหมาะ แล้วเพิ่มเส้นสายที่ตรงไปตรงมา แต่มีความเรียบง่ายทันสมัยเข้ามาเพิ่มจนกลายเป็นแนวทางการตกแต่งแบบ "Modern Tropical & Botanical" หรือ การตกแต่งที่ผสมผสานระหว่างสัญลักษณ์ทางธรรมชาติเขตร้อน และความเรียบง่ายทันสมัย
Modern Tropical & Botanical เป็นสไตล์การออกแบบตกแต่งที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้คนที่เริ่มเปลี่ยนไป สืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ทำให้โลกมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นในทุกๆ วัน จึงส่งผลให้วิถีการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เร่งรีบ รวดเร็ว และสับสนวุ่นวายมากยิ่งขึ้น จากการแข่งขันกันในหลายๆด้าน ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด และปัญหาสุขภาพตามมา
หลายคนจึงมีพฤติกรรม หรือ ความรู้สึกที่โหยหาพื้นที่ ที่เปรียบเสมือนโอเอซิสส่วนตัว ที่ให้ความสงบผ่อนคลาย รวมถึงบรรยากาศของธรรมชาติที่ให้ความสดชื่น สบายใจ และมีส่วนสำคัญในการบำบัดความตึงเครียด และช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในรูปแบบธรรมชาติบำบัด Natural Therapy (แม้จะเป็นพื้นที่เล็กๆภายในบริเวณบ้านก็ตาม) นั้นจึงทำให้สไตล์ที่ผสมผสานระหว่างธรรมชาติเขตร้อน และความเรียบง่ายทันสมัยแบบ Modern Tropical & Botanical จึงได้รับความนิยมมากขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบปัจจุบัน
และวันนี้แบรนด์ LiteWOOD ก็มีไอเดียการออกแบบตกแต่งบ้านในสไตล์ Modern Tropical & Botanical ที่ให้ความสวยงามแบบธรรมชาติร่วมสมัย มาฝากท่านผู้อ่าน ซึ่งรายละเอียดจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ตามมาชมกันได้เลยครับ
---------------------------------------------------------------------------
ไอเดียแรก เป็นการออกแบบตกแต่งบ้านเดี่ยวในภูมิประเทศเขตร้อนชื้น ด้วยสไตล์ Modern Tropical & Botanical บ้านหลังนี้มีชื่อว่า Jungle Frame House พื้นที่รอบๆบ้านรายล้อมไปด้วยบริบทธรรมชาติที่คอยให้ความร่มรื่น ชั้นล่างของบ้านจะเป็นพื้นที่นั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ครัว และสระว่ายน้ำแบบ Pool & Lounge Bar ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ ในขณะที่ชั้นสองจะเป็นห้องนอน
ถ้าหากสังเกตดีๆ จะพบว่าบ้านหลังนี้มีกลิ่นอายของความเป็น Industrial ผสมผสานอยู่ด้วยอย่างลงตัว เนื่องจากโครงสร้างหลักของตัวบ้านทำมาจากเหล็กรูปพรรณ ที่โชว์ให้เห็นถึงความดิบเท่แข็งแกร่งของพื้นผิวเหล็ก ซึ่งข้อดีของการใช้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณจะทำให้บ้านมีความเพรียวบางของโครงสร้างมากขึ้น เมื่อเทียบกับโครงสร้างปูนที่จะมีความทึบตันมากกว่า
บ้านหลังนี้ถูกออกแบบให้แต่ละชั้นมีความสูงโปร่งแบบ (Double Space) และมีผนังห้องให้น้อยที่สุด (Open Space) เพื่อลดความอึดอัด และทำให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างสามารถส่องเข้ามาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งฟังก์ชั่นแต่ละโซนจะสามารถมองเห็นเชื่อมต่อกันได้ทั้งทางสายตา และทางการสัญจรใช้งานภายในบ้านโดยไม่มีผนังมาปิดกั้น
บ้านหลังนี้ใช้กระจกเป็นตัวกลางในการเชื่อต่อบริบทภายในบ้าน และบริบทภายนอกบ้านเข้าหากัน ความโปร่งใสของกระจกนอกจากจะทำให้แสงสว่างส่องเข้ามาได้ และทำให้ภายในบ้านโปร่งโล่งไม่ทึบตันแล้ว ยังทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในบ้านสามารถมองเห็นทัศนียภาพ และเข้าถึงความเปลี่ยนของธรรมชาติภายนอกที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดูกาลได้อย่างใกล้ชิด
สำหรับวัสดุหลักอีกอย่างที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือไม้ ที่ผู้ออกแบบได้นำมาใช้ในการทำพื้นไม้ ผนังไม้ เฟรมผนังกระจก พื้นบันไดไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ และที่เป็นไฮไลท์เลยก็คือใช้ทำระแนงไม้ในลักษณะซ้อนเกล็ดปรับองศา ซึ่งนอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยลดความร้อนในทิศทางที่ตัวบ้านจะปะทะกับแสงแดดช่วงบ่ายอีกด้วย
นอกจากนี้ผู้ออกแบบได้คุมโทนบ้านหลังนี้ด้วยโทนสีขาวที่ให้ความรู้สึกเรียบง่าย และเลือกใช้วัสดุประเภทไม้ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นธรรมชาติ ตัดกับสีเทาเข้มของโครงสร้างเหล็กที่ให้ความรู้สึกดุดัน แต่ทั้งหมดก็ผสมผสานรวมกันได้อย่างกลมกลืน เฉกเช่นบ้านหลังนี้ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบริบทธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน
---------------------------------------------------------------------------
ไอเดียที่สอง เป็นการรีโนเวทตึกแถวเก่าในเวียดนามที่มีชื่อเรียกสั้นๆว่า CH House ด้วยสไตล์การตกแต่งแบบ Modern Tropical & Botanical ซึ่งเวียดนามถือเป็นประเทศในพื้นที่เขตร้อนชื้นที่มีสภาพอากาศใกล้เคียงกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก
สำหรับฟังก์ชั่นการใช้งานหลักๆ ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณชั้น 1 ใช้สำหรับจอดรถ เก็บของ และเป็นโซนต้อนรับแขก ในขณะที่ชั้น 2 ซึ่งมีชั้นลอยด้วย จะใช้เป็นพื้นที่ครัว รับประทานอาหาร พื้นที่นั่งเล่น รวมไปถึงพื้นที่สีเขียวภายในอาคาร และในชั้น 3 จะเป็นพื้นที่ห้องนอน และห้องน้ำส่วนตัว
ในด้านการออกแบบพื้นที่ภายใน ได้มีการออกแบบ Space ได้อย่างน่าสนใจ ในชั้น 2 ถูกออกแบบให้มีความสูงโปร่งเป็นพิเศษ (Double Space) และมีการเล่นระดับของพื้นที่ในแต่ละโซน (Space Volume) ให้มีความลดหลั่นจากต่ำไปสูง พร้อมเจาะช่องเปิด Skylight ขนาดใหญ่บนหลังคา ซึ่งข้อดีของการออกแบบในลักษณะนี้จะทำให้พื้นที่ภายในมีความโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อึดอัด ไม่ทำให้เกิดความอับชื้น ทำให้มีอากาศใหลเวียนที่เย็นสบายไม่ร้อน และทำให้ต้นไม้ที่นำมาใช้ตกแต่งภายในสามารถได้รับแสงในการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
ในด้านการออกแบบ Mood & Tone และการเลือกใช้วัสดุ ผู้ออกแบบได้เลือกใช้กระเบื้องผนัง และการทาสีด้วยโทนสีขาวเป็นหลัก ซึ่งเป็นโทนสีที่สว่าง สบายตา และทำให้พื้นที่ตึกแถวที่มีความแคบดูกว้างขึ้น ตัดกับสีของคอนกรีตเปลือย และวัสดุประเภทไม้ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นธรรมชาติ ซึ่งในการตกแต่งภายในก็ได้มีการนำไม้มาใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำมาทำผนังบานเฟี๊ยม ประตู พื้นบันได พื้นห้องนอน ระแนงตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ Built-in และเฟอร์นิเจอร์ไม้ (เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว)
นอกจากนี้ได้มีการใช้วัสดุเหล็กมาใช้ในการทำราวบันได และราวกันตก โดยทาสีเทาเข้ม ในขณะที่ภายนอกด้านหน้าของตึกแถวได้มีการนำอิฐช่องลมมาใช้ในการทำผนังด้านนอกสุด (Double Skin Wall) พร้อมติดตั้งหน้าต่างบานสูง ซึ่งแสงสว่างสามารถส่องเข้ามาได้อย่างเหมาะสม และลมก็สามารถโฟลวถ่ายเทได้สะดวก ไม่ทึบตัน
และที่มีความโดดเด่นมากๆ เลยก็คือมีการนำต้นไม้จริงทั้งไม้เลื้อย และไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มาใช้ในการตกแต่งภายในตึกแถว ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นลักษณะ Open Air โดยแบ่งออกเป็นส่วน Indoor และ Outdoor เพื่อให้เกิดพื้นที่โอเอซิสส่วนตัวภายในที่พักอาศัย ที่คอยให้ความร่มรื่น สดชื่น เขียวขจีสบายตา ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ได้รับแสง และอากาศจากช่องเปิด Skylight บนหลังคานั่นเอง
ในอดีตการตกแต่งในสไตล์ธรรมชาตินอกจากการนำต้นไม้จริงมาใช้ในการตกแต่งแล้ว การเลือกใช้วัสดุที่ให้ความรู้สึกถึงธรรมชาติมักจะใช้วัสดุจากธรรมชาติจริงๆ เช่น แผ่นหิน หรือ ไม้ธรรมชาติที่นำมาแปรรูปใช้ในการก่อสร้าง และตกแต่ง เช่น เสาไม้ คานไม้ พื้นไม้ ผนังไม้ ระแนงไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ฯลฯ
แต่ในปัจจุบันด้วยความที่ทรัพยากรไม้ธรรมชาติลดลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้มีการคิดค้นวัสดุทดแทนไม้จริงขึ้นมาอย่างหลากหลาย เช่น เหล็กทำสี ลามิเนตปิดผิว ไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้พลาสติกคอมโพสิต พื้นลามิเนต รวมถึงอะลูมิเนียมโปรไฟล์ลายไม้ (อะลูมิเนียมเส้น) ที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้งานเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
วัสดุอะลูมิเนียมโปรไฟล์ลายไม้ (อะลูมิเนียมเส้น) นอกจากจะมีคุณสมบัติเด่นที่มีความคงทนแข็งแรง ไม่เป็นสนิม มีน้ำหนักเบา ให้สีสัน และผิวสัมผัสที่สวยงามติดทนนานไม่น้อยกว่า 10 ปี แล้ว ยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปทำฝ้าเพดานตกแต่ง หุ้มตกแต่งผนัง ทำประตูรั้ว ทำฟาซาดอาคาร และที่นิยมเป็นอย่างมากเลยก็คือใช้ทำระแนงตกแต่งอาคารในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพื้นผิวลายไม้ให้เลือกถึง 6 ลวดลาย อีกด้วย
Detail Section ขนาดหน้าตัดอลูมิเนียมโปรไฟล์ลายไม้ (แบบเส้น) สำหรับงานสถาปัตยกรรม
Wood Charts และ Colors Charts อลูมิเนียมโปรไฟล์ลายไม้ (แบบเส้น) สำหรับใช้ในงานสถาปัตยกรรม
รายละเอียดผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมโปรไฟล์ (อลูมิเนียมเส้น) รุ่นต่างๆ จากแบรนด์ LiteWOOD
-
อลูมิเนียม Spandrel รุ่น S40-75 :Spandrel # SD-75-40
วัสดุปิดผิวผนัง วัสดุตกแต่งฝ้าและผนัง
1,280 บาท/เส้น
Online -
LiteWood อลูมิเนียม Spandrel รุ่น S20-1008 :Spandrel SD-100-20B
วัสดุปิดผิวผนัง วัสดุตกแต่งฝ้าและผนัง
1,510 บาท/เส้น
Online -
อลูมิเนียม Spandrel รุ่น S40-50 : Spandrel # SD-50-40
วัสดุปิดผิวผนัง อลูมิเนียมคอมโพสิท
1,130 บาท/เส้น
Online
ถ้าหากท่านใดที่สนใจอลูมิเนียมโปรไฟล์ลายไม้ (อลูมิเนียมเส้น) เพื่อนำไปใช้ตกแต่ง ปรับปรุงต่อเติมอาคาร
สามารถสอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @wazzadu.com
ผู้เขียนบทความ
เหมาะสำหรับงานตกแต่ง เช่น งานฝ้าเพดาน งานระแนงบังแดด งานกรุผนัง งานรั้วระแนงและประตู งานระแนงตกแต่งอาคาร
-สีสดสวยงามไม่ซีดง่าย
-เสมือนไม้จริง
-นำหนักเบา แข็งแรง
-ทนทาน สีไม่ลอกล่อน
-ติดตั้งง่าย
-มีหลายขนาด
-มีลายไม้ให้เลือก 6 สี
-ช่วยลดความร้อนภายในอาคาร ช่วยลดค่าไฟฟ้า
-ทนต่อทุกสภาพอากาศ ... อ่านเพิ่มเติม