รู้หรือไม่ ระบบโซล่าเซลล์ มีหลักการทำงานอย่างไร

รู้หรือไม่ ระบบโซล่าเซลล์ มีหลักการทำงานอย่างไร

ถ้าจะกล่าวสั้นๆระบบโซล่าเซลล์ (Solar cell) ก็คือ การสร้างกระแสไฟฟ้าโดยใช้แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบน แผงโซล่าเซลล์ อย่างไรก็ตามหลายๆคนบางทีก็อาจจะยังไม่ทราบว่าลักษณะการทำงานจริงๆของมันเป็นอย่างไร หรือมีวัสดุอุปกรณ์อะไรที่จำเป็นต่อระบบนี้บ้าง เนื้อหานี้จะก่อให้คนอ่านคลายเรื่องที่น่าสงสัยที่มีต่อระบบโซล่าเซลล์อย่างแน่นอน ส่วนประกอบหลักๆของระบบโซล่าเซลล์มีอยู่ด้วยกัน 4 อย่าง ดังนี้

1.แผงโซล่าเซลล์

  ภายใน แผงโซล่าเซลล์ นั้นจะประกอบไปด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ มีหน้าที่หลักคือ รับแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง DC โดยหลายคนอาจจะกำลังเข้าใจผิดว่าแผงโซล่าเซลล์นั้น ต้องการแค่ความร้อนเฉยๆ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า แต่จริงๆ แล้วแผงโซล่าเซลล์นั้นต้องการแสงแดดจากแสงดวงอาทิตย์ เนื่องจากแสงแดดนั้นประกอบด้วยกลุ่มพลังานที่เรียกว่าโฟตอน (  +  ) และเมื่ออนุภาคโฟตอนเหล่านี้ไปตกกระทบกับแผงโซล่าเซลล์ จะทำให้เซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่ภายในแผงนั้นปล่อยอิเล็กตรอน (  –  ) ออกมา ดังนั้นในช่วงเวลาที่มีเมฆมากหรือฝนตก การผลิตไฟฟ้าก็จะน้อยลงเป็นเรื่องปกติ องค์ประกอบหลักของ ระบบโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัตถุที่มีซิลิกอนเป็นส่วนประกอบ หรือเรียกว่า (เซลล์ PV) ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแสงพระอาทิตย์ได้ ซึ่งเซลล์ PV นี้จะเชื่อมต่อกันภายในแผงโซล่าเซลล์ และจะเชื่อมต่อกับแผงที่อยู่ติดกัน โดยใช้สายเคเบิลยึดติดกันไว้เรียกรูปแบบนี้ว่า “สตริง” โดยปริมาณพลังงานที่สร้างได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ตำแหน่งการวางและมุมเอียงของแผงโซล่าเซลล์ ประสิทธิภาพของตัวแผงโซล่าเซลล์ วัสดุ สิ่งสกปรก หรือ เงา ที่มาบังแสงแดดไม่ให้ตกกระทบกับแผงโซล่าเซลล์ รวมไปถึงอุณหภูมิโดยรอบก็ด้วยเช่นกัน

2.อินเวอร์เตอร์

  แผงโซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ออกมาซึ่งจำเป็นต้องแปลงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ก่อนนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ดังนั้นแล้วจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ชนิดหนึ่งมาทำหน้าที่นี้ นั่นคือ อินเวอร์เตอร์ หน้าที่หลักของมันก็คือ แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) ซึ่งก็คือ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านเรือนทั่วไปนั่นเอง

3.แบตเตอรี่

  แบตเตอรี่ที่ใช้สำหรับเก็บพลังงานแสงอาทิตย์มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ กรดตะกั่ว (AGM & เจล) และลิเธียมไอออน นอกจากนี้มีประเภทอื่นๆ อีกหลายประเภทให้เลือก ทั้งนี้แบตเตอรี่มีหน้าที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตได้ และเมื่อไรที่เราต้องการใช้ไฟฟ้า ระบบจะถูกสั่งการให้แบตเตอรี่คลายพลังงานที่กักเก็บไว้ และส่งต่อมายังอินเวอร์เตอร์เพื่อทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็น AC นั่นเอง ความจุของแบตเตอรี่จะมีหน่วยวัดเป็นชั่วโมงแอมป์ (Ah)  หรือกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) สำหรับแบตเตอรี่กรดตะกั่ว หรือแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โดยทั่วไปจะสามารถจ่ายไฟได้ถึง 90% ของความจุที่มีอยู่ ยกเว้นแบตเตอรี่ตะกั่วที่ไม่ควรจ่ายไฟ 30%-40% เพื่อป้องกันการเสื่อมของแบตเตอรี่นั่นเอง

4.แผงสวิตช์ไฟฟ้า

  แผงสวิตช์ไฟฟ้า (Electricity Switchboard) ในระบบโซล่าเซลล์นั้นมีหน้าที่ควบคุมและจัดการกับกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปดังนี้ 1.ระบบ off-grid แผงสวิตช์จะคำนวณและส่งกระแสไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานไปจัดเก็บยังแบตเตอรี่และจะดึงออกมาใช้ในภายหลัง 2.ระบบ on – grid แผงสวิตช์จะทำการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งานในขณะนั้น กล่าวคือถ้าหากใช้ไฟปริมาณน้อย ระบบจะจ่ายไฟจากโซล่าเซลล์เพียงอย่างเดียว หากใช้ไฟปริมาณมากกว่าที่โซล่าเซลล์ผลิตได้ ระบบจะจ่ายไฟบ้านเข้ามาช่วย และเมื่อตอนกลางคืนระบบจะจ่ายไฟบ้านเท่านั้น 3.ระบบ Hybrid จะคล้ายกับระบบ on – grid แต่จะมีแบตเตอรี่เข้ามาในระบบด้วย ทำให้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งาน ไฟจะถูกจัดเก็บไฟยังแบตเตอรี่และจะดึงออกมาใช้ในตอนกลางคืนหรือในตอนที่โซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้

Enrich Energy ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ

สนใจ โซล่ารูฟท็อป สามารถติดต่อเราได้ที่ 065-845-8698 ต้องการทราบรายละเอียดการติดตั้งระบบ โซล่ารูฟท็อป คลิก https://bit.ly/solarrich https://www.enrichenergy.co.th/โซล่ารูฟท็อป/ https://www.enrichenergy.co.th/โซล่าเซลล์/

Enrich Energy and Rich led นักเขียนอิสระ ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ