วิธีเลือกใช้คุณสมบัติหรือสเปคการใช้งานของประตูหนีไฟในแต่ละอาคาร (โรงแรม, โรงงาน, ออฟฟิศ สำนักงาน)
ประตูที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ประตูบานเปิด บานสวิง บานเฟี้ยม บานเลื่อน และสามารถผลิตได้จากหลากหลายวัสดุ เช่น ประตูไม้จริง ประตูไม้อัด ประตูอะลูมิเนียม ประตูเหล็ก ประตูเหล็กไส้ฉนวน การเลือกรูปแบบประตูและวัสดุของบานประตูนั้นเราควรพิจารณาจากฟังก์ชันของการใช้งานเป็นหลัก
วันนี้เราจะพาทุกคนไปชมการใช้งานประตูเหล็กในฟังก์ชันต่างๆ พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานกันครับ
1. ประตูหนีไฟ (Fire Door)
ประตูหนีไฟนั้นส่วนใหญ่เป็นประตูบานเปิดเดี่ยว ในบางพื้นที่ใช้เป็นบานเปิดคู่ได้ ใช้ติดตั้งบริเวณบันไดหนีไฟ หรือตามจุดต่างๆ ของอาคารแนวราบขนาดใหญ่เพื่อเป็นการกั้นพื้นที่หรือแบ่งโซน เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในการควบคุมไฟและควันในกรณที่เกิดเพลิงไหม้
คุณสมบัติของประตูหนีไฟตามที่กฎหมายกำหนดคือ ต้องสามารถทนไฟได้นานอย่างน้อย 2 ชั่วโมงและไม่เกิดควันหากประตูถูกเผาไหม้
สิ่งสำคัญอีกอย่างนอกเหนือจากการเลือกบานประตูที่เหมาะสมนั่นคือ วงกบ และอุปกรณ์ประกอบประตู วงกบประตูทั่วไปมีวงกบ 3 ด้านเว้นด้านที่ติดพื้นไว้ แต่วงกบประตูหนีไฟต้องเป็นรูปแบบที่ที่สามารถรองรับบานประตูได้แนบสนิทเป็นวงกบแบบรอบบาน 4 ด้านพร้อมระบบซีล ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ควันหรือเปลวไฟลอดผ่านช่องว่างระหว่างประตูกับวงกบไปได้นั่นเอง อุปกรณ์ที่ใช้กับประตูหนีไฟคือคานผลัก (Panic Bar) เพราะในกรณีที่เกิดไฟไหม้ ผู้ที่หนีไฟจะสามารถวิ่งมามาชนแล้วผลักประตูออกไปได้ทันที ไม่ควรใช้ลูกบิด หรือมือจับเขาควาย เพราะหากเกิดเพลิงไม้อุปกรณ์มือจับจะร้อนมากเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
แนะนำประตูกันไฟ SCL จากสกุลไทย ยูไนเต็ด รุ่น GD 1 ผลิตจากเหล็กรีดเย็น ด้านในของประตูบรรจุฉนวน Rockwool ซึ่งมีหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนและมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการลามของไฟ จากผลทดสอบโดยศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประตูรุ่น GD 1สามารถทนไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมงซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนดถึง 2 เท่า
2. ประตูกันเสียง (Acoustic Door)
ประตูกันเสียงใช้เพื่อเป็นกำแพงเสียง หรือลดระดับเสียงเข้าและออกจากสภาพแวดล้อมหรือพื้นที่ทำงาน หมายความว่าใช้กันเสียงข้างนอกเข้ามาในห้อง เช่น ห้องประชุม ห้องเรียน ห้องพักผู้ป่วย หรือใช้สำหรับกันในเสียงในห้องออกมาข้างนอก เช่น ห้องอัดเสียงสตูดิโอ โฮมเธียเตอร์ โรงภาพยนตร์ ห้องเครื่องจักรในโรงงาน
คุณสมบัติในการกันเสียงของประตูไม่ได้ถูกกำหนดโดยข้อกฎหมายแต่ขึ้นอยู่กับการใช้งานของพื้นที่นั้นๆ ว่าต้องการใช้กันเสียงได้กี่เดซิเบล เช่น เสียงคอนเสิร์ตมีความดัง 110-120 เดซิเบล เสียงในโรงงาน 100 เดซิเบล เสียงเครื่องตัดหญ้า 90 เดซิเบล และหากเราฟังเสียงที่ดังเกินเกิน 85 เดซิเบลต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้สูญเสียการได้ยินได้
วงกบที่ใช้กับประตูกันเสียงนั้นจึงเป็นวงกบแบบบังใบรอบบานพร้อมระบบซีลเช่นเดียวกับประตูหนีไฟ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกันเสียงที่เล็ดลอดออกมาตามช่องระหว่างประตูกับวงกบ และประตูมักเป็นแบบเปิดทางเดียวซึ่งอาจใช้เป็นบานเปิดเดี่ยวหรือบานเปิดคู่ได้ อุปกรณ์เปิดปิดประตูสามารถเลือกใช้เป็นลูกบิด หรือมือจับเขาควายในกรณีที่มีการใช้งานน้อย เช่น ห้องอัดเสียง แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานสูง เช่น โรงภาพยนตร์แนะนำให้ใช้มือจับคู่กับโช๊คอัพ
แนะนำประตูกันไฟ SCL จากสกุลไทย ยูไนเต็ด รุ่น GD 2 ผลิตจากเหล็กรีดเย็น ไส้ในบรรจุด้วยฉนวน Polyurethane Foam ที่มีคุณสมบัติในการยึดติดกับแผ่นเหล็กทำให้ตัวบานไม่ยุบตัวโดยไม่ต้องเสริมโครงสร้างเหล็กด้านใน นอกเหนือจากใช้กันเสียงแล้วสามารถประยุกต์ ประตูรุ่น GD 2 เป็นประตูทางออกนอกอาคารของอาคารได้ เนื่องจากประตูบริเวณนี้มักประสบกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เช่น ฝนตกหนัก แดดร้อนจัด การเลือกใช้ประตูเหล็กนั้นจะใช้งานได้นานและทนทานมากกว่าประตูทั่วไป
3. ประตูเหล็กทั่วไป
ประตูเหล็กทั่วไปสามารถใช้งานได้ในหลากหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ Heavy duty หรือพื้นที่ที่มีการใช้งานสูง เช่น ประตูโรงงาน ประตูห้องเก็บของ ประตูห้องขยะ การเลือกใช้ประตูเหล็กนั้นนอกจากมีความทนทานที่มากกว่าวัสดุอื่นๆ แล้วยังไม่ต้องกังวลเรื่องปลวก ประตูบวมหรือบิดโก่งอีกด้วย รูปแบบประตูจะใช้เป็นบานเดี่ยวหรือบานคู่และใช้เป็นบานเปิดทางเดียวหรือบานสวิงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่การใช้งาน
ประตูเหล็กต่างจากประตูหนีไฟและประตูกันเสียงคือไม่มีไส้ฉนวน เพราะฉะนั้นตัวบานจึงมีความเบามากกว่า ประตูเหล็กผลิตจากเหล็กได้หลายประเภท เช่น เหล็กรีดเย็น เหล็ก Hot Dip Galvanized Electro Galvanized
อุปกรณ์เปิดปิดประตูสามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งาน ทั้งลูกบิด มือจับเขาควาย มือจับพร้อมโช๊คอัพเพื่อช่วยบังคับบานให้ปิดกลับโดยอัตโนมัติ หรือเลือกให้ประตูตั้งค้างตามองศาที่กำหนดไว้ได้ และเพื่อเป็นการป้องกันบานประตูให้ดูสวยงามและสะอาดอยู่เสมอนิยมติดแผ่นสเตนเลสบริเวณด้านล่างประตู เพื่อกันการกระแทกที่เกิดจากเท้าหรือรถเข็น ติดตั้งวงกบสามด้านเหมือนประตูทั่วไปไม่ต้องมีระบบซีล
แนะนำประตูกันไฟ SCL จากสกุลไทย ยูไนเต็ด รุ่น GD 3 ผลิตจากเหล็กรีดเย็น ภายในไม่มีไส้หรือสารใดๆ บรรจุไว้ มีความแข็งแรงทนทานสามารถใช้ได้กับพื้นที่ที่มีการใช้งานสูง (Heavy duty) มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
หากเลือกใช้ประตูเหล็ก SCL จากสกุลไทย ยูไนเต็ด นั้นนอกจากได้บานประตูที่มีคุณภาพสูง ผ่านการทดสอบที่มีมาตรฐานแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นที่ที่ใช้งานร่วมกับประตูให้เลือกใช้อีกมากมาย
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
https://www.wazzadu.com/page/skulthaiunited/contact
สอบถามข้อมูล และติดต่อสั่งซื้อได้ที่เบอร์ ฝ่ายขาย 065 049 4222
และทาง Line: @skulthaiunited
#Wazzadu #Skulthai #Door #FireDoor #ExitDoor #Security #ExitDevice #อุปกรณ์ทางออกฉุกเฉิน #ประตูทางออกฉุกเฉิน #คานผลักประตูหนีไฟ #ประตูเหล็กทนไฟ #ประตูเหล็กกันไฟ #ประตูเหล็กทางหนีไฟ
ผู้เขียนบทความ