ไขข้อข้องใจ การตรวจสุขภาพเหล็กโครงสร้างควรเริ่มเมื่อไหร่ และรับมือกับสนิมอย่างไรจึงเหมาะสม
ไขข้อข้องใจ การตรวจสุขภาพเหล็กโครงสร้างควรเริ่มเมื่อไหร่ และรับมือกับสนิมอย่างไรจึงเหมาะสม
เมื่อปัญหาเรื่องของสนิมกับการเลือกใช้วัสดุเหล็กในงานโครสร้าง เกิดเป็นคำถามกวนใจให้เจ้าของโครงการและผู้ออกแบบพลอยสงสัยถึงวิธีรับมือและการบำรุงรักษาที่ดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาคารโครงสร้างเหล็กที่ก่อสร้างเสร็จไปหลายปีแล้ว หากไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่ที่มีวิศวกรคอยให้คำปรึกษา การตั้งคำถามและค้นหาคำตอบว่าโครงสร้างเหล่านั้นควรค่าแก่การตรวจสุขภาพเมื่อไหร่ และถ้าหากตรวจพบสนิมควรรับมืออย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
ทำความรู้จักกับสนิม
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า สนิม (Rust) นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่พบได้บ่อยครั้งกับชิ้นส่วนเหล็ก ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดปฏิกริยาของเหล็กกับน้ำหรือความชื้นในอากาศ จนเกิดเป็นคราบแดงบนผิวเหล็กลุกลามไปเรื่อยๆ ส่งผลให้เหล็กผุกร่อนและมีความแข็งแรงลดลง โดยชนิดของสนิมเหล็กถูกแบ่งออกง่ายๆ ด้วยตาเปล่าตามระดับสี มีตั้งแต่สีอ่อนไปจนถึงสีเข้ม ยิ่งสนิมมีสีที่เข้มมากขึ้นเท่าไหร่แน่นอนว่าการผุกร่อนของเหล็กก็ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์มากขึ้นเท่านั้น
แต่กว่าจะเป็นสนิมในแต่ละระดับได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยเร่งเร้าให้เกิดปฏิกิริยาร่วมด้วย เช่นกัน อาทิ สภาพแวดล้อมที่มีความชื้น มีความเป็นกรดสูง หรือมีความเข้มข้นของไอเกลืออย่างพื้นที่ริมทะเล ก็จะส่งผลให้เหล็กเกิดสนิมได้เร็วกว่าเวลาอันควร ฉะนั้นการป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดสนิมตั้งแต่กระบวนการผลิตหรือด้วยกระบวนเคลือบสีป้องกันสนิมที่ถูกวิธี เพื่อช่วยให้ผิวเหล็กสัมผัสกับสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้น้อยลงก่อนการนำไปติดตั้งใช้งานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
การตรวจสุขภาพเหล็กและบำรุงรักษา
ขณะที่ในกรณีของเหล็กที่ถูกใช้งานติดตั้งขึ้นเป็นโครงสร้างอาคารจนแล้วเสร็จนั้น การลดความเสี่ยงของการเกิดสนิมจะเป็นการหมั่นตรวจสุขภาพเหล็กตามรอบทุก 5-10 ปีอย่างสม่ำเสมอ โดยความถี่ของแต่ละรอบจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสีที่นำมาใช้เคลือบป้องกันสนิม รวมถึงความหนาของเหล็กที่ลดลง
ซึ่งสามารถตรวจดูด้วยเครื่องไมโครมิเตอร์และเวอร์เนียคาลิปเปอร์ หรือหากต้องการตรวจดูเบื้องต้นว่าโครงสร้างเหล็กเริ่มมีสนิมบ้างแล้วหรือยัง วิศวกรหรือช่างมักจะตรวจดูบริเวณจุดเชื่อมต่อ จุดขันน๊อต หรือจุดที่มีการเจาะเป็นส่วนแรก เพราะบางครั้งช่างก็อาจละเลยหรือไม่ทันได้เก็บรายละเอียดทาสีป้องกันสนิมทับไปในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดสนิมลามไปทั่วบริเวณได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี แม้สนิมกับเหล็กจะเป็นคู่ปรับกันก็ตาม แต่หากหมั่นบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี หรือทำการป้องกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกอย่างเหมาะสม โครงสร้างเหล็กเหล่านี้ก็จะสามารถตั้งตระหง่านและใช้งานได้ยาวนานไปอีกหลายสิบปีหรือถึงขั้นร้อยกว่าปี ซึ่งอาจสังเกตได้จากแลนด์มาร์คโครงสร้างเหล็กระดับโลก อย่าง หอไอเฟล หรือ สะพานโกเดนเกต ที่มีอายุยืนยาวนับชั่วอายุคน
แนวทางการป้องกันและรับมือกับสนิมที่ดีที่สุด
จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าการหมั่นบำรุงรักษานั้นคือหนึ่งในวิธีการป้องกันสนิมเพียงทางหนึ่ง แต่แนวทางการป้องกันสนิมที่ดีที่สุดนั้นย่อมเป็นการป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งเป็นขั้นตอนของการเตรียมผิวพร้อมกับเคลือบสีป้องกันสนิมบนผิวเหล็ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะสีและลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง
แน่นอนว่าก่อนที่จะทำการเคลือบสีนั้นก็ต้องทำการขจัดสนิมผิวให้หมดก่อน ซึ่งมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่ การขัดเหล็กด้วยแปรงลวดขัดหรือกระดาษทรายและตามด้วยการใช้แปรงเพื่อเคลือบทาสีทับไปบนผิวเหล็ก หรือกรรมวิธีที่ดีกว่านั้นคือการพ่นทราย (Sandblast) เพื่อขัดพื้นผิวเหล็กให้เกิดความหยาบก่อนการเคลือบสีกันสนิมไปที่เหล็กอีกครั้ง ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้สีกันสนิมสามารถติดคงทนกว่าการทาสีกันสนิมทั่วไป
อีกทั้ง SYS ยังได้เลือกนำกระบวนการพ่นทราย (Sandblast) มาใช้ในระบบป้องกันสนิม SYS PRIMEREBOND เพื่อให้เกิดประสิทธิการป้องกันได้อย่างสูงสุด
นอกจากเหล็กพร้อมระบบป้องกันสนิม SYS PRIMEREBOND ได้เป็นอย่างดีแล้ว เหล็กทุกท่อนยังถูกผลิตจากในโรงงานแบบปิดจึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมผิวและทาสีรองพื้นเหล็กที่หน้างาน ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งการรับมือกับการเกิดสนิมที่จะส่งผลต่อความแข็งแรงของเหล็กโครงสร้างได้เป็นอย่างดี
ผู้เขียนบทความ
Steel you can trust
บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS ผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนและเข็มพืดเหล็กกล้ารีดร้อน
- ผลิตจากโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง
- ผลิตสินค้าสนองตอบการใช้งานด้านโครงสร้าง ได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม
- ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสากหรรมไทยและและมาตรฐานต่างประเทศ ... อ่านเพิ่มเติม