How to การออกแบบตกแต่งอาคารด้วยบล็อกช่องลม (Idea design of ventilation block)

ปัจจุบันเรานิยมใช้บล็อกช่องลมมาตกแต่งอาคารมากขึ้นเนื่องจากคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง เช่น ระบบผนังที่ก่อง่าย รวดเร็ว น้ำหนักเบา ออกแบบผนังรูปแบบต่างๆ ได้ง่ายเหมือนการต่อเลโก้ (LEGO) และเนื่องจากขนาดของบล็อคแต่ละชิ้นนั้นมีมาตรฐานไม่ขาดไม่เกินจึงทำให้มีความแม่นยำในการทำงานสูง 

บล็อกช่องลมเหมาะกับอาคารแนวโมเดิร์นลอฟท์ (Modern Loft) เช่น บ้าน ร้านอาหาร รีสอร์ท ออฟฟิศสำนักงาน สามารถเลือกทาสีทับได้ตามต้องการ นับว่าเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการใช้วัสดุสำหรับตกแต่งสถาปัตยกรรมทั้งงานภายในและภายนอก

ภาพมีลิขสิทธิ์ห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลง

1. ขนาดของพื้นที่ก่อบล็อคช่องลม

การก่อบล็อคช่องลมนั้นมีหลักการเดียวกันกับการก่ออิฐมอญทั่วไปโดยแนะนำให้ก่อผนังโดยมีขนาดความกว้างไม่เกิน 3 เมตร และมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หากเกินนี้จะต้องทำเสาเอ็นและคานทับหลัง เพื่อความแข็งแรงของผนัง

แน่นอนว่าหากเลือกใช้บล็อคช่องลมแล้วจะต้องไม่มีการฉาบปูนทับเหมือนอิฐมอญ ดังนั้นระยะของความกว้างความสูงจะต้องวางบล็อคช่องลมได้ลงตัวเพราะหากพื้นที่เหลือเศษจะไม่สามารถตัดบล็อคช่องลมได้และการก่อปูนทับปิดช่องว่างก็อาจทำให้ดูไม่สวยงาม

ก่อนทำการก่อบล็อคจะต้องขึงเอ็นเพื่อบังคับแนวการก่อบล็อคให้เรียบร้อย เนื่องจากบล็อคมีขนาดใหญ่หากเบี้ยวเพียงเล็กน้อยก็จะสังเกตเห็นได้ง่าย 

2. การทำ Sub wall หรือผนังชั้นที่ 2

บล็อคช่องลมนั้นช่วยให้ลมผ่านได้ เป็นการระบายอากาศให้กับพื้นที่ แต่ก็แน่นอนว่าหากลมผ่านได้ละอองน้ำฝนและแสงแดดก็ผ่านได้เช่นกัน หากเป็นพื้นที่เอ้าท์ดอร์ เช่น เป็นระเบียง รั้วบ้าน ผนังตกแต่งในสวน ก็ไม่มีปัญหาในการใช้งาน

แต่หากต้องการให้ลมผ่านได้อย่างเดียว เช่น บริเวณผนังห้องครัว แนะนำให้ทำหลังคากันสาดเพื่อป้องกันแสงแดดและละอองฝน

ในกรณีที่ต้องการใช้บล็อคช่องลมในการตกแต่งเพื่อความสวยงาม เช่น ใช้เป็นฟาซาด (Facade) หรือผนังด้านหน้าอาคารเพื่อโชว์ลวดลายของบล็อค แนะนำให้ทำผนังชั้นที่สอง หรือ Sub wall เพื่อทำหน้าที่ในการกันลมกันฝนและกรองความร้อนจากแสงแดด เพื่อให้ผู้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นพื้นที่ภายในอาคารและให้ผู้ที่ใช้งานภายในอาคารยังสามารถมองเห็นด้านนอกได้เช่นกัน

ภาพมีลิขสิทธิ์ห้ามทำซ้ำหรือดัดแปลง

3. การออกแบบแสงสว่างควบคู่กับบล็อคช่องลม

อีกสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงหากต้องการเลือกใช้บล็อคช่องลมคือ เอฟเฟกต์ของแสงสว่างที่เกิดขึ้น ในตอนกลางวันผู้ที่อยู่ภายในอาคารจะมองเห็นแสงสว่างและสิ่งต่างๆ ภายนอกอาคาร แต่ในเวลากลางคืนเมื่อด้านนอกมืดกว่าในอาคาร คนที่อยู่ด้านในจะมองไม่เห็นด้านนอกแต่คนด้านนอกจะมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ด้านในแทน 

ดังนั้นบริเวณที่เลือกใช้งานบล็อคช่องลมนั้นควรเป็นพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่เป็นพื้นที่ส่วนตัวมากเกินไป เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน เพราะจะทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัว 

หากใช้บล็อคช่องลมควบคู่กับผนัง Sub wall แบบทึบ แนะนำให้ติดตั้งไฟสปอตไลท์เพื่อส่องไปยังผนังบล็อคช่องลมในเวลากลางคืน แสงเงาที่เกิดขึ้นจากองศาของหลอดไฟที่ส่องสว่างนั้นเป็นการเพิ่มมิติที่น่าสนใจให้กับตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

4. การทำความสะอาด

ในประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อนที่มีลมและฝุ่นละอองเยอะ หากเลือกใช้บล็อคช่องลมก็ควรหาวิธีป้องกันหรือทำความสะอาดเตรียมไว้ บล็อคช่องลมมีความหนาประมาณ 9 cm ฝุ่นและคราบสกปรกจะสะสมบริเวรช่องว่างของบล็อคได้ง่ายและยิ่งลวดลายมากก็ยิ่งสะสมฝุ่นได้มาก 

การใช้บล็อคช่องลมในบริเวณเอ้าท์ดอร์ฝนก็จะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ได้ แต่หากใช้บล็อคช่องลมบริเวณในร่มและมองเห็นได้ชัด อาจใช้วิธีทาสีเป็นสีโทนเข้ม เช่น เทาหรือดำ ก็จะช่วยพลางสายตาทำให้ภาพรวมดูสะอาดได้

กรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้

www.wazzadu.com/page/ccppavingstone/contact

 

#Wazzadu #CCPPavingstone #บล็อคช่องลม #อิฐบล็อค

  • บล็อคช่องลม CPS โอบล็อค

    วัสดุปูพื้น บล็อกปูพื้น

    45 บาท/ชิ้น

    Online
บจก.ซีซีพี เพวิ่งสโตนส์ CPS จำหน่ายสินค้า เพื่อตอบโจทย์ในด้านงานการจัดการ Landscape โดยเฉพาะพื้นที่สโลปหรือแนวเนิน เชิงเขาต่างๆเรามีสินค้าเพื่อให้เหลือใช้ได้เหมาะสมกับงานและตอบโจทย์ในเรื่องของการติดตั้งง่าย ประหยัดแรงงานและเวลา เพราะเรามีนวัตกรรมในการใช้เครื่องจักรเข้ามาติดตั้ง จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการได้เป็นอย่างดี
หมายเหตุ:
1)อบรมให้ฟรี สำหรับลูกค้าที่มีทีมติดตั้งแล้ว
2)ปรึกษาฟรี และ สำรวจหน้างานฟรี ทั่วประเทศ แต่ถ้ากรณีลูกค้าให้ติดตั้ง ทางแบรนด์
ก็ได้ทำขั้นตอนเสนอราคากลับไปให้ค่ะ ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ