ฮาร์ดแวร์ประตู (Door Hardware) คืออะไร มีคุณสมบัติในการใช้งานอย่างไร
ประตูที่เราใช้กันทั่วไปนั้นมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะของการใช้งาน ทิศทางการเปิดของบาน วัสดุที่ใช้ทำบานประตู ขนาดและน้ำหนักของบานประตู ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ประตูหรือฮาร์ดแวร์นั่นเอง สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำฮาร์ดแวร์ที่เป็นอุปกรณ์หลัก รวมไปถึง Accessories หรืออุปกรณ์เสริมของประตูกันครับว่ามีมีอะไรบ้างและมีวิธีการเลือกใช้งานคร่าวๆ อย่างไร
1. บานพับ (Door Hinge)
บานพับเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ติดตั้งบานประตูเข้ากับวงกบ หรือยึดบานประตูเข้าด้วยกันในกรณีที่เป็นบานเฟี้ยม การกำหนดรุ่นและจำนวนของบานพับจะต้องพิจารณาถึงชนิดของประตู ความกว้างและน้ำหนักประตู บานพับแบ่งเป็นหลายประเภทดังนี้
- บานพับสเตนเลส แหวนสเตนเลส เหมาะสำหรับประตูไม้
- บานพับสเตนเลส แหวนลูกปืน รับน้ำหนักได้มากกว่าแบบแรก เหมาะสำหรับประตูไม้และประตูเหล็ก
- บานพับทองเหลือง แหวนลูกปืน เหมาะสำหรับประตูไม้
- บานพับเหล็ก แหวนลูกปืน เหมาะสำหรับประตูไม้
- บานพับสเตนเลสจุดหมุน ใช้กับวงกบประตูชนิดไม่มีบังใบ เช่น บานช่องท่อหรือบานที่มีน้ำหนักไม่เกิน 20 กก.
- บานพับบานเฟี้ยม เหมาะสำหรับประตูไม้บานเฟี้ยม ติดตั้งได้ทั้งด้านซ้ายและขวา
- บานพับแบบถอด เหมาะสำหรับประตูไม้และประตูเหล็ก
- บานพับซ่อน เหมาะสำหรับประตูไม้ ใช้ติดตั้งแบบซ่อน
2. อุปกรณ์ล็อคกุญแจ (Lock)
อุปกรณ์ล็อคกุญแจของทางสกุลไทย ยูไนเต็ดแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 กุญแจลิ้นกลอนระบบมอร์ทิส (Mortise Lock) คือล็อคเซตแบบฝังไว้ในประตู ลักษณะการใช้งานจะสัมพันธ์กับมือจับและไส้กุญแจ ต้องใช้กุญแจเพื่อไขล็อคประตู แบ่งตามพื้นที่การใช้งานต่างๆ ได้ดังนี้
- กุญแจลิ้นกลอนสำหรับประตูหมุนตรงกลาง
- กุญแจลิ้นกลอนสำหรับประตูเปิดสองทาง
- กุญแจลิ้นกลอนสำหรับประตูบานเลื่อน
- กุญแจลิ้นกลอนสำหรับประตูบานแคบ
- กุญแจลิ้นกลอนสำหรับประตูหนีไฟ
- กุญแจลิ้นกลอนสำหรับทางหนีไฟ
2.2 ลิ้นกุญแจเสริมความปลอดภัย (Deadbolt) มีลักษณะกลมๆ ปูดขึ้นมาจากบานประตู ใช้ในการล็อคประตูเพื่อเสริมความแข็งแรง มีล็อคในตัวไม่ต้องใช้ไส้กุญแจ ทำงานแยกกับมือจับ แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- แบบลิ้นตายไส้กุญแจเดียว คือใช้ติดด้านนอกเพื่อใช้กุญแจไขเปิด ปิดได้ ส่วนด้านในเป็นมือจับใช้เปิดได้แต่ล็อคไม่ได้
- แบบไส้กุญแจสองทาง คือต้องใช้กุญแจไขทั้งสองด้าน
2.3 ลิ้นกุญแจทางผ่าน (Tubular Passage Latch) มีลิ้นเพื่อใช้สำหรับปิดประตูแต่ไม่ต้องใช้กุญแจ มีหลายรูปแบบโดยแบ่งตามพื้นที่การใช้งานได้ดังนี้
- ลิ้นกุญแจสำหรับประตูทางผ่าน
- ลิ้นกุญแจสำหรับประตูห้องน้ำ
- ลิ้นกุญแจสำหรับประตูห้องงานระบบ
3. มือจับและลูกบิด (Handle & Lever) ใช้ในการผลักหรือดึงประตู แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
3.1 มือจับแบบผลัก/ดึง (Push/Pull Handle) มีดีไซน์และขนาดให้เลือกหลากหลาย วัสดุผลิตจากสเตนเลส ใช้ได้กับทั้งประตูไม้ ประตูกระจก และประตูเหล็ก
3.2 มือจับก้านโยก (Lever) แกนเปลี่ยนที่ได้แบบ SFIC (แบบเล็ก) ไส้กุญแจมีความปลอดภัยสูง มีการทำงานแบบกดทั้งหมด เหมาะสำหรับแกน 6 หรือ 7 พินที่มีลักษณะแบบ Best & Falcon มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นของประตู โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- มือจับก้านโยกแบบใช้ลูกกุญแจ ด้านนอกมีรูสำหรับไขกุญแจ แต่ด้านในเป็นล็อคแบบกด เช่น กุญแจทางเข้า กุญแจห้องเรียน กุญแจห้องเก็บของ
- มือจับก้านโยกแบบไม่ใช้ลูกกุญแจ เช่น ประตูทางผ่านที่เปิดได้ตลอดเวลาโดยไม่ล็อค กุญแจห้องน้ำในห้องส่วนตัว หรือมือจับข้างเดียวแบบไม่มีตัวล็อคใช้สำหรับประตูแบบดึงหรือใช้เพื่อการตกแต่ง
3.3 ลูกบิด (Knob) วัสดุผลิตจากโลหะรีดเย็นและดุมกลที่มีเกลียวใช้ป้องกันไม่ให้กุญแจลูกบิดหลุดหลวม โดยใช้สลักยึดโครงกุญแจไว้กับประตู มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นของประตู โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- ลูกบิดทำงานแบบใช้ลูกกุญแจ ทำงานแบบใช้ลูกกุญแจไขจากด้านนอก ด้านในใช้ปุ่มกดล็อค เช่น ลูกบิดประตูทางเข้า ลูกบิดประตูห้องเรียน และ ลูกบิดประตูห้องเก็บของ
- ลูกบิดทำงานแบบไม่ใช้ลูกกุญแจ เช่น ลูกบิดประตูทางผ่าน ลูกบิดประตูห้องน้ำหรือห้องส่วนตัวสามารถเปิดจากข้างนอกด้วยไขควงขนาดเล็กและคลายปุ่มด้วยแกนล็อคด้านใน
4. โช้คอัพ (Door Closer)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อหน่วงเวลาประตูให้เปิดหรือปิดช้าลง และช่วยปิดประตูอัตโนมัติโดยสามารถเปิดประตูค้างไว้ได้โดยการเปิดประตูไปจนถึงระดับองศาที่ตั้งค่าไว้ การเลือกใช้โช้คอัพนั้นต้องพิจารณาถึงชนิดของบานประตู ขนาดและน้ำหนักของประตู ลักษณะการเปิดของบานว่าเปิดทางเดียวหรือเปิดสองทาง แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
- โช้คอัพแบบแขนธรรมดา (ติดลอย) ใช้กับประตูเหล็ก ประตูไม้ และเป็นประตูแบบเปิดทางเดียว
- โช้คอัพแบบไฮดรอลิคซ่อนฝังในวงกบประตู ใช้กับประตูอะลูมิเนียม ใช้กับประตูเปิดสองทางได้
- โช้คอัพแบบฝังพื้น ใช้กับประตูกระจก ประตูไม้ ใช้กับประตูเปิดสองทางได้
- โช้คอัพแบบฝังในบานประตู ใช้กับประตูอะลูมิเนียม ใช้กับประตูเปิดสองทางได้
5. อุปกรณ์เสริม (Door Accessories)
นอกจากฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ประตูที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ที่ต้องใช้ควบคู่กัน เช่น ฟิตติ้งสำหรับประตูกระจกบานเปลือย เนื่องจากประตูไม่มีเฟรมจึงจำเป็นต้องมีตัวจับกระจกเพื่อยึดกับโช้คอัพหรือจุดหมุนอีกที ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ต้องระบุใช้ให้ครบถ้วนสำหรับประตูแต่ละบาน
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เพื่อให้สามารถใช้งานประตูได้สะดวกมากขึ้น เช่น ช่องตาแมว โซ่คล้องล็อคประตู กลอนล็อคประตูแบบฝังในบาน ตัวกันกระแทกหรือตัวหยุดบานประตู และอื่นๆ ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดนี้สามารถปรึกษาสกุลไทย ยูไนเต็ด ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ประตูที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 70 ปี
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
www.wazzadu.com/page/skulthaiunited/contact
สอบถามข้อมูล และติดต่อสั่งซื้อได้ที่เบอร์ ฝ่ายขาย 065 049 4222
และทาง Line: @skulthaiunited
#Wazzadu #Skulthai #GarlandofLight #Lockset #Handle #Thai #Brass #MoetiseLock #Schlage #KevoContemporary #Door #Security #Smartlock #Lock #สกุลไทยยูไนเต็ด #มือจับร้อยเรียงแสง #อุปกรณ์ล็อค #มือจับทองเหลือง #มอร์ทิสล็อค #กุญแจ #กุญแจชเลค #คีโว่
ผู้เขียนบทความ