อิฐมวลเบาช่วยประหยัดพลังงาน กันความร้อนได้อย่างไร
การใช้พลังงานในอาคารส่วนใหญ่เป็นการใช้ไปเพื่อระบบปรับอากาศ
การออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ผนังทึบเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร
อิฐมวลเบาเป็นวัสดุผนังที่มีประสิทธิภาพสูง ผ่านเกณฑ์อาคารอนุรักษ์พลังงาน และสามารถออกแบบให้มีอัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมดได้สูงกว่าวัสดุผนังอื่น ๆ (อิฐมอญ ผนังคอนกรีต precast)
ข้อมูลจาก คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
“การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน”
สัดส่วนการใช้พลังงานในอาคารจะเป็นของระบบปรับอากาศ 65% ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 25% และระบบอื่นๆ 10% ดังนั้น การประหยัดพลังงานในอาคารส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นไปที่การลดใช้พลังงานในการดำเนิน กิจกรรมในอาคาร การออกแบบระบบปรับอากาศ และระบบไฟฟ้าแสงสว่างให้มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามหากการออกแบบอาคารไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนแล้ว การประหยัดพลังงานในอาคารก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
ปัจจัยภายในต่อการออกแบบอาคาร
- ผนังทึบ
- ผนังโปร่งแสง
- หลังคา
- อุปกรณ์บังแดดภายนอก
- ระบบปรับอากาศ
- ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ผนังทึบ
ผนังทึบเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้อาคารมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน เนื่องจากพลังงานส่วนใหญ่ในอาคารใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิของระบบปรับอากาศให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้อาคาร ดังนั้นการเลือกใช้ผนังทึบที่เหมาะสมจึงเป็นส่วนสำคัญในการลดความร้อนเข้าสู่อาคารและลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ
แนวทางการออกแบบผนังทึบ
• เพิ่มความสามารถการต้านทานความร้อนให้สูง (R-value) ด้วยการติดฉนวนกันความร้อนที่ผนังด้านนอกหรือใช้ผนัง 2 ชั้น ที่มีช่องว่างอากาศระหว่างชั้น เพื่อกันความร้อนจากภายนอก
• สีของผนังทึบภายนอก ควรเป็นสีโทนอ่อน เช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์น้อยกว่าสีโทนเข้ม แต่ถ้าต้องการใช้สีโทนเข้มควรทาสีผนังทึบในตำแหน่งที่โดนแสงอาทิตย์น้อยหรือมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย
จากแบบจำลองอาคารต่าง ๆ ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สรุปได้ว่า อิฐมวลเบาเป็นวัสดุผนังทึบที่ดี มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน สามารถเลือกใช้ในงานอาคารอนุรักษ์พลังงาน และยังมีค่า WWR หรืออัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด สูงกว่าการใช้ผนังอิฐมอญและผนังคอนกรีตอีกด้วย
อิฐมวลเบา Q-CON ได้รับฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเป็นรายแรกและรายเดียวที่ได้ครบทุกชั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา
ดีจริง ประหยัดจริง
ทุกครั้งที่เลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการติด "ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง" ออกโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ทำการทดสอบประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐาน เห็นฉลากติดที่ผลิตภัณฑ์ใด มั่นใจได้เลยว่าประหยัดพลังงาน
อิฐมวลเบา พัฒนาขึ้นเพื่อการก่อสร้างผนัง มีน้ำหนักเบา เก็บเสียงได้ดี ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง อิฐมวลเบาที่ติดฉลากประหยัดพลังงาน จะสามารถป้องกันและต้านทานความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านร่มรื่น เย็นสบาย ประหยัดค่าใช้จ่ายจากเครื่องปรับอากาศ
เลือกอย่างไร ให้ประหยัดพลังงาน
- อิฐมวลเบาความหนา 7.5 เซนติเมตร ดูที่ค่าความต้านทานความร้อน เท่ากับหรือมากกว่า 0.58
- อิฐมวลเบาความหนา 10 เซนติเมตร ดูที่ค่าความต้านทานความร้อน เท่ากับหรือมากกว่า 0.77
ยิ่งมาก ยิ่งดี
ข้อมูลจาก คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ผู้เขียนบทความ
ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพสินค้ามากมาย อาทิ ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง , ฉลากลดคาร์บอน Green Industry ระดับ 4 , รางวัลอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ "Eco Factory" , CSR-DIW Award และรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หรือ ธงขาว-ดาวเขียว (Green Star Award)
Q-CON ผลิตคอนกรีตมวลเบาเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่ครบวงจร ทั้งประเภทไม่เสริมเหล็ก ได้แก่ บล็อค (Block) ขนาดต่างๆ และประเภทเสริมเหล็ก ได้แก่ คานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel), แผ่นผนัง (Wall Panel), แผ่นพื้น (Floor Panel) และแผ่นบันได (Stair) นอกจากนี้ Q-CON มีโรงงานผลิตปูนก่อ และปูนฉาบสำเร็จรูป เพื่อใช้สำหรับงานคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ ได้แก่ ปูนก่อบาง (Thin Bed Adhesive Mortar) และปูนฉาบ (Rendering Mortar) ตลอดจนเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น เกรียงก่อ ค้อนยาง หัวปั่นปูน เลื่อยตัด และ metal strap เป็นต้น
... อ่านเพิ่มเติม