แค่รู้ชั้นดิน งานหินก็กลายเป็นงานง่าย
“หากคุณจะสร้างอาคารสองชั้นบนพื้นที่บริเวณนี้ เสาเข็มที่คุณใช้ควรต้องมีความยาว 34 เมตรขึ้นไปเท่านั้นนะครับจึงจะเหมาะสม”
คุณเคยสงสัยหรือไม่? ทำไมวิศวกรโยธาที่คำนวนและควบคุมงานติดตั้งเสาเข็มถึงทราบดีว่าต้องใช้เสาเข็มที่มีขนาดยาวเท่าไร หรือพื้นดินบริเวณนั้นเป็นดินชนิดไหน ต้องใช้เสาเข็มชนิดไหนจึงจะสามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการการก่อสร้างขั้นตอนไหนไหนก็จำเป็นต้องมีการคำนวนและออกแบบกันก่อนทั้งนั้น ซึ่งสำหรับขั้นตอนการลงฐานรากหรือเสาเข็มนั้น ข้อมูลที่จำเป็นไม่ใช่เพียง Spec ของเสาเข็ม แต่เป็นตัวแปรที่สำคัญอย่าง “ดิน” ต่างหากล่ะ
“คุณจะกล้าลงเสาเข็มได้อย่างไร หากไม่มีการทดสอบชั้นดินว่าพื้นดินบริเวณนั้นเป็นดินชนิดไหนบ้าง?”
สำหรับวิธีทดสอบชั้นดินที่วิศวกรโยธานิยมใช้กันนั่นก็คือ
การสำรวจชั้นดินด้วยการทำ Kunzelstab Penetration Test หรือที่บางคนอาจจะเรียกว่า “การหยั่งทดสอบ Kunzelstab Penetrometer” หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินฝรั่งเรียกว่า Light Ram Sounding Test นั้น มันคือวิธีการหยั่งทดสอบชั้นดินตามมาตรฐาน DIN 4094 ของประเทศเยอรมันนี โดยการใช้แรงกระแทกส่งแท่งทดสอบลงไปในชั้นดินเพื่อหากำลังต้านทานที่ปลายหัวหยั่งที่เป็นหัวเจาะรูปกรวย (Cone Head) แต่เพราะหัวเจาะมีขนาดใหญกวากานเจาะก็เลยไมเกิดแรงเสียดทานขึ้นที่กานเจาะนั่นเอง ตามมาตรฐาน DIN 4094 ของประเทศเยอรมนี กำหนดอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบ Kunzelstab แค่ไม่กี่ชิ้น แต่ละชิ้นก็มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ขนขึ้นรถกันได้ง่าย ๆ ชิล ๆ ใช้คนเพียง 2-3 คนก็พากันไปทดสอบได้ทุกที่แล้ว นั่นคือ
1. หัวเจาะรูปกรวย (Cone Head) Ø 25 มิลลิเมตร
2. ก้านเจาะ (Rod) Ø 20 มิลลิเมตร
3. คอนตอก (Pile Hammer) หนัก 10 กิโลกรัม
4. แกนเหล็กนํา (Guide Rod)
5. แทนรองตอก (Anvil)
6. แผนเหล็กรองพื้นปรับระดับ (Base Plate)
เพราะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์น้อย คนไม่ต้องเยอะ วิธีนี้ก็เลยเหมาะกับการทดสอบบนภูเขาสูง ป่ารก หรือพื้นที่ห่างไกลจากถนนมาก ๆ เพราะการทดสอบใช้เวลาไม่นานก็รู้ผลได้ทันที แถมยังประหยัดกว่าการเจาะสํารวจแบบการตอกมาตรฐาน หรือ Standard Penetration Test (SPT) ที่เหมาะสำหรับการทดสอบดินเหนียวแข็งถึงแข็งมากและทรายแน่น (Stiff Clay, Hard Clay และ Dense Sand) มากกว่า แต่ไม่เหมาะสำหรับดินเหนียวอ่อนถึงแข็งปานกลาง และทรายหลวม (Soft Clay, Medium Clay และ Loose Sand) เพราะดินอ่อนจะต้านพลังงานจากการตอกไม่ไหว บางครั้งแค่ตอกลงไปครั้งเดียวอาจทำให้กระบอกผ่าจมลงไปมากกว่า 18 นิ้วเลยล่ะ
วิธีทดสอบคือ นำหัวเจาะรูปกรวยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Ø) 25 มิลลิเมตร (มีมุมที่ปลาย 60 องศา), ก้านเจาะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Ø) 20 มิลลิเมตร, ค้อนตอกหนัก 10 กิโลกรัม (ระยะยก 50 เซนติเมตร), มาทําการทดสอบโดยนับจํานวนครั้งของการตอกทุกระยะ 20 เซนติเมตร (blows/20 cm.) พูดง่ายๆ ก็คือ เราจะนับจํานวนครั้งของการตอกที่ทุก ๆ ความลึก 20 เซนติเมตร (blows/20 cm.) โดยมีระยะยกค้อน 50 เซนติเมตร ตอกไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับความลึกที่กําหนดหรือครบจํานวนครั้งการตอกที่กําหนดไว้ แล้วถึงจะถอนชุดทดสอบขึ้นเพื่อเอาไปทดสอบในตําแหน่งอื่น ๆ ต่อไป
ผลการทดสอบที่ได้จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนครั้งการตอกแต่ละช่วงกับระดับความลึกของดิน ซึ่งค่าแรงต้านการเคลื่อนที่ของแท่งทดสอบสามารถนำไปใช้ประมาณค่ากําลังและความหนาของชั้นดิน แถมยังทำให้เรารู้ถึงคุณสมบัติทางกายภาพของชั้นดินในเบื้องต้นอีกด้วย.
ตัวอย่างสินค้าเทียบเคียง
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับสิทธิพิเศษเฉพาะคุณได้ที่ :
Facebook : m.me/Kemrexfanpage
Line@ : @Kemrex หรือคลิก! https://lin.ee/2ivBv5z
ผู้เขียนบทความ
านรากในรูปแบบเดิม เช่น การควบคุมระยะเวลา และปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการเกิดความเสียหายของพื้นที่บริเวณใกล้เคียง บริษัท SUTEE GROUP จึงนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบฐานรากแบบใหม่จากเยอรมนี ซึ่งเป็นที่ยอมรับด้านวิศวกรรมมาตราฐานระดับสากลมาเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับงานก่อสร้าง โครงสร้างทุกรูปแบบและบริษัทเข็มเหล็กยังเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเจ้าเดียวในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย
เข็มเหล็ก ผู้นำนวัตกรรมด้านฐานราก โดยพลิกโฉมระบบฐานรากของเมืองไทยและภาคพื้นเอเชีย ให้การก่อสร้างระบบฐานรากเป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้แม่นยำ ทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ตอบรับการขยายตัวของประเทศไทยและประเทศในภาคพื้นเอเชีย สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต
ลูกค้าที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์เข็มเหล็ก ทางบริษัทฯ จะให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์ ปรึกษาการใช้งานเบื้องต้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรคอยให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ... อ่านเพิ่มเติม