การทดสอบและประเมินกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบบสถิตยศาสตร์
การทดสอบและประเมินกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบบสถิตยศาสตร์
Testing and assessing the load-bearing capacity of static piles (Static pile load test)
การทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบบสถิตยศาสตร์ (Static pile load test) หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า “การทดสอบกำลังฯ แบบสถิตย์”หรือ “Static load test” เป็นวิธีประเมินกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ซึ่งมักถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงสำหรับการเปรียบเทียบกับวิธีการทดสอบแบบอื่น ๆ
การทดสอบกำลังฯ แบบสถิตย์มีระบบการให้แรงที่ใช้ในการทดสอบด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่
1. การใช้สมอยึด (Anchor pile) คือ แบบการทดสอบโดยการตอกเสาเข็มเป็นสมอยึดคานรับแม่แรง (Hydraulic Jack) ที่อาศัยแรงฝืดของดินเป็นตัวต้านแรงถอนตัวจากแรงที่กดลงเสาเข็มทดสอบ การตอกเข็มสมอลงบนดินควรตอกในชั้นดินเหนียวเนื่องจากจะมีความฝืดมากกว่าดินประเภทอื่น ๆ
2. การใช้วัตถุถ่วงหรือการใช้แท่งน้ำหนักกดทับ (Kentledge) เป็นแบบการทดสอบของระบบจะถูกนำมาใช้ในกรณีที่เสาเข็มสมอใช้การไม่ได้ เนื่องจากชั้นดินที่ทำการตอกเข็มสมอมีแรงฝืดไม่เพียงพอที่จะรับแรงถอนของแม่แรง (Hydraulic Jack) ซึ่งโดยหลักการ คือการวางวัสดุหนัก ๆ ลงบนคานรับน้ำหนักโดยใต้คานนั้นจะมีหมอนรองรับน้ำหนักกันการโยกของคาน จากนั้นก็ติดตั้งแม่แรง (Hydraulic Jack) ลงทดสอบเสาเข็มนั้น เป็นวิธีทดสอบที่มีความแม่นยำสูง เนื่องจากใช้ระยะเวลาการทดสอบมากกว่าการทดสอบวิธีอื่น ๆ และการเก็บค่าของการยุบตัวเมื่อค่าการทดสอบเพิ่มหรือลดอย่างละเอียด
3. แบบผสมระหว่าง Kentledge และ Anchor Pile เป็นการนำ 2 แบบแรกมาผสมผสานกัน โดยวิธีนี้สามารถนำมาใช้ในทดสอบในกรณีที่กำลังดึงของเสาเข็มสมอไม่เพียงพอ
ฉะนั้น จึงมีการกำหนดมาตรฐานในการทดสอบเสาเข็มที่หน้างานจริงเอาไว้ เพื่อให้มั่นใจอีกชั้นหนึ่งว่าเสาเข็มที่วิศวกรกำหนดค่าการรับน้ำหนักไว้นั้นสามารถรับน้ำหนักได้ตามกำหนดจริง มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกันสากล คือ ASTM D1143-81 สำหรับเสาเข็มรับแรงอัดในแนวแกน ซึ่งบ้านเราใช้งานเสาเข็มในลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่
สรุปแบบง่าย ๆ ก็คือ
การทดสอบกำลังฯ แบบสถิตย์ หรือ Static load test เป็นการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่หน้างานจริง โดยการใส่น้ำหนักบรรทุกลงไปและตรวจวัดค่าการทรุดตัวประกอบเอาไว้พิจารณาการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่น้ำหนักต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบกับน้ำหนักบรรทุกที่กำหนดไว้จากรายการคำนวณว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร การทดสอบแบบนี้เป็นการทดสอบที่มีความน่าเชื่อถือมาก เพราะเป็นการทดสอบที่หน้างานกันจริง ๆ ทำให้สามารถตัดตัวแปรหลาย ๆ ตัวที่อาจก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากการทดสอบออกไปได้ แต่มีข้อเสียที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายที่สูงมากและใช้ระยะเวลาในการทดสอบเป็นเวลานาน การทดสอบนี้จึงทำให้ไม่อาจนำมาใช้ทดสอบกับทุกโครงการได้ โดยเฉพาะโครงการที่กำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างที่จำกัดหรือต้องการความรวดเร็ว.
ตัวอย่างสินค้าเทียบเคียง
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับสิทธิพิเศษเฉพาะคุณได้ที่ :
Facebook : m.me/Kemrexfanpage
Line@ : @Kemrex หรือคลิก! https://lin.ee/2ivBv5z
ผู้เขียนบทความ
านรากในรูปแบบเดิม เช่น การควบคุมระยะเวลา และปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการเกิดความเสียหายของพื้นที่บริเวณใกล้เคียง บริษัท SUTEE GROUP จึงนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบฐานรากแบบใหม่จากเยอรมนี ซึ่งเป็นที่ยอมรับด้านวิศวกรรมมาตราฐานระดับสากลมาเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับงานก่อสร้าง โครงสร้างทุกรูปแบบและบริษัทเข็มเหล็กยังเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเจ้าเดียวในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย
เข็มเหล็ก ผู้นำนวัตกรรมด้านฐานราก โดยพลิกโฉมระบบฐานรากของเมืองไทยและภาคพื้นเอเชีย ให้การก่อสร้างระบบฐานรากเป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้แม่นยำ ทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ตอบรับการขยายตัวของประเทศไทยและประเทศในภาคพื้นเอเชีย สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต
ลูกค้าที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์เข็มเหล็ก ทางบริษัทฯ จะให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์ ปรึกษาการใช้งานเบื้องต้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรคอยให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ... อ่านเพิ่มเติม