ไอเดียการออกแบบ Parametric design และวัสดุที่สามารถใช้งานในลักษณะดังกล่าวได้
Parametric Building คืออาคารที่มีลักษณะโค้งบิดไปมา หรือรูปทรงเรขาคณิตที่บิดเบี้ยวดูเหมือนไม่มีรูปทรงและทิศทางที่แน่นอน แต่จริงๆ แล้วเส้นสายเหล่านั้นถูกควบคุมไว้ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ ซึ่งถ้าเราปรับตัวแปรนึงในสมการก็จะทำให้เส้นโค้งในจุดต่างๆ นั้นปรับเปลี่ยนตามไป วันนี้เราจะพาไปชมโครงการ Parametric Building ที่น่าสนใจกันครับ
Project: Morpheus Hotel
Type: Hotel
Architect: Zaha Hadid Architects
Photo: Ivan Dupont, Virgile Simon Bertrand
Website: Archdaily.com
โครงการ Morpheus Hotel ตั้งอยู่ที่มาเก๊า เป็นโรงแรมที่ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นความบันเทิงที่ครบครันทั้งคาสิโน โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร และชอปปิ้งมอลล์ ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดัง ซาฮา ฮาดิด แม้ว่ารูปทรงภายนอกของอาคารจะมีลักษณะค่อนข้างเรียบ แต่การตกแต่งภายในนั้นหวือหวาไม่เบาเลยทีเดียว โดยเฉพาะ Feature wall บริเวณ Lobby ที่ใช้อะลูมิเนียมคอมโพสิทเป็นโมดูลสามเหลี่ยมเล็กๆ ต่อกันเป็นสามเหลี่ยมชิ้นใหญ่ต่อเนื่องกันไปหลายๆ ชิ้น และกลมกลืนกับฝ้ากับผนังบางส่วนมีการใช้กระจกทำเป็นโมดูลเล็กๆ รูปสามเหลี่ยมต่อเนื่องกันไป ในส่วนของเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์มีการใช้แผ่นลามิเนตลายหินมาตัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมแล้วต่อกันเพิ่มลูกเล่นด้วยการซ่อนไปเป็นบางจุด
......................................................................................
นอกเหนือจากอะลูมิเนียมคอมโพสิตแล้ว ยังมีวัสดุตกแต่งภายในที่สามารถใช้ในลักษณะนี้ได้นั่นคือ Reflection Crystal Board (แผ่นคริสตัลบอร์ด รุ่น รีเฟลคชั่น ซึ่งเป็นวัสดุที่มีพื้นผิวแวววาว) และ Mirror Crystal Board (แผ่นคริสตัลบอร์ด รุ่น มิลเลอร์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีลักษณะคล้ายกระจกเงา) เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบาและสามารถตัดชิ้นงานได้ง่าย ทั้งยังมีสีให้เลือกหลากหลายอีกด้วย นอกจากนี้ในส่วนของฝ้ากระจกนั้นก็สามารถใช้ Translucent Crystal Board (แผ่นคริสตัลบอร์ด รุ่นทรานส์ลูเซนต์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความโปร่งแสง) เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่ากระจกครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
Project: BIT Sports Center
Type: Sports Center
Architect: Atelier Alter Architects
Photo: Horizon Aerial, Highlite Images
Website: Archdaily.com
อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ที่ Beijing Institute of Technology เมืองปักกิ่งประเทศจีน ไฮไลท์อยู่ที่หลังคาด้านหน้าอาคารซึ่งการเลือกทำฟอร์มอาคารให้เป็น Parametric เนื่องจาก Parametric คือเส้นโค้งอ่อนช้อยสวยงามที่ถูกควบคุมไว้ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสื่อความถึงปรัชญาของทางสถาบันที่เน้นการผสมผสานวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยกันนั่นเอง และลักษณะที่เป็นคลื่นโค้งนี้ยังผสานไปกับแนวแลนด์สเคปโดยรอบอีกด้วย อีกส่วนที่น่าสนใจไม่แพ้กันนั่นคือฝ้าด้านในโครงการ โดยเฉพาะส่วนโถงต้อนรับและส่วนของสนามบาสเก็ตบอลที่มีลักษณะเป็นชิ้นสามเหลี่ยมเรียงต่อกันเป็นแนวโค้งและซ่อนไฟในบางจุด
......................................................................................
คริสตัลบอร์ดนั้นสามารถใช้งานเพื่อการติดตั้งในลักษณะนี้ได้เป็นอย่างดี เป็นฝ้าหรือผนังก็ได้เนื่องจากมีน้ำหนักบาซึ่งสามารถเจาะรู หรือตัดและต่อเป็นชิ้นงานได้ง่ายด้วยเครื่องมือช่างทั่วไปที่หน้างานได้ เมื่อแตกแล้วไม่เป็นเศษแหลมคม จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
Project: Cellular Tessellation
Type: Pavilion
Architect: Bond Architecture Department
Photo: Lidija Grozdanic
Website: Inhabitat.com
Pavillian นี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่องาน Sydney’s Vivid Light Festival โดยอาจารย์และนักศึกษา ภายหลังได้ถูกขายต่อไปให้หน่วยงานเอกชนรายหนึ่ง ความน่าสนใจของงานชิ้นนี้อยู่ที่โครงสร้างซึ่งเป็นการนำโมดูลรูปรวงผึ้งเล็กๆ จำนวน 380 เซลล์มาต่อกัน ในแต่ละชิ้นนั้นมีโครงเป็นไม้อัดและปิดช่องตรงกลางด้วยพลาสติก HDPE แบบกันน้ำ ซึ่ง HDPE นี้มีลักษณะโปร่งแสงทำให้สามารถส่องผ่านแสงของไฟแอลอีดีที่ซ่อนไว้ได้ ซึ่งทำให้ Pavillian นี้โดดเด่นเป็นอย่างมากและเข้ากับบรรยากาศแสงสีเสียงของงานได้เป็นอย่างดี
....................................................................
ยังมีวัสดุชนิดอื่นอีกที่มีความโปร่งแสงและสามารถตัดต่อได้ง่ายนั่นคือ คริสตัลบอร์ด รุ่น โปร่งแสง (Translucent Crystal Board) และที่สำคัญคือมีน้ำหนักเบาซึ่งสามารถใช้กับโครงสร้างไม้อัดได้เช่นกัน
Project: SXSW Features Parametric Vault Designed
Type: Exhibition
Architect: OTA+ and UT Students
Photo: Casey Dunn, Kory Bieg
Website: Archdaily.com
โครงการต้นแบบนี้ชนะการประกวด TEX-FAB's 2013 SKIN Competition เป็นการออกแบบโดยใช้แผ่นอะลูมิเนียมหลายๆ ชิ้นมาเชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างแบบโวลท์ (หลังคาทรงโค้งที่เชื่อมกับเสามีลักษณะคล้ายซุ้มประตู) แต่เป็นโวท์ที่ไม่สมมาตรและมีมิติที่ซับซ้อน แผ่นเหล็กนี้จะซ้อนกันสามชั้นโดยแต่ละชั้นมีหน้าที่ที่แตกต่างกันคือ ชั้นแรกหรือชั้นนอกสุดจะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมที่ถูกจัดเรียงให้มีฟอร์มที่สวยงามหล้ายแผ่นหินและโค้งเป็นซุ้ม ส่วนชั้นที่สองคือชั้นแผ่นอะลูมิเนียมที่เชื่อมแต่ละซุ้มเข้าด้วยกัน ส่วนชั้นสุดท้ายด้านในสุดคือชั้นโครงสร้างหลัก
....................................................................
อะลูมิเนียมนั้นมีข้อดีหลายอย่างนอกจากจะแข็งแรงแล้วยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย แต่ยังมีอีกวัสดุที่มีคุณสมบัตินี้เช่นกันนั่นคือ คริสตัลบอร์ดซึ่งมีน้ำหนักเบา และผ่านมาตรฐานการทดสอบด้านความแข็งแรงดังนี้
- ISO 179/1 fu: Impact Strength (Charpy, unnotched) = 16 kJ/m²
- ISO 527-2/1B/5: Tensile strength = 77 Mpa
- ISO 527-2/1B/1: Elastic modulus = 3,300 Mpa
หากต้องการทราบคุณสมบัติและค่าทดสอบอื่นๆ ของแผ่นคริสตัลบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิ้งก์ด้านล่างนี้ครับ
กรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงก์นี้
www.wazzadu.com/page/port09/contact
หรือติดต่อได้ที่เบอร์ 02 294 2569
line ID Port 09 : @port09
line ID Crystalboard : @crystalboard
www.firstsheet.co.th
#Wazzadu #Port09 #CrystalBoard #FirstSheet #CrystalBoardReflection #CrystalBoardTranslucent #CrystalBoardMirror #Facade #PerforatedFacade #Perforate #Punching #3d #ParametricDesign #Grasshopper #คริสตัลบอร์ด #เฟิร์สชีท #วัสดุทดแทนกระจก #วัสดุทดแทนอะคริลิค #วัสดุโปร่งแสง #วัสดุทดแทนโลหะ #ฟาซาด #ฟาซาดฉลุลาย #วัสดุเจาะรู #สามมิติ
ผู้เขียนบทความ