STOBICH ม่านกันควันและกันไฟ ช่วยหน่วงเวลาเมื่อเกิดไฟไหม้ เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน

เมื่อเกิดอัคคีภัยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เสียชีวิตมักมีสาเหตุมาจากการสำลักควันมากกว่าโดนไฟคลอก เพราะฉะนั้นการควบคุมทิศทางของควันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในโรงพยาบาลและสถานพักฟื้น เนื่องจากผู้ที่ใช้งานเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมต่อการเคลื่อนย้าย

 

ซึ่งโดยปกติแล้วในการออกแบบโรงพยาบาลนั้นจะมีการกำหนดหลักในการออกแบบ หรือมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) ในการทำ Fire Compartment หรือการแบ่งส่วนอาคารเพื่อควบคุมการลามไฟ โดยส่วนใหญ่มักใช้บริเวณ Corridoor เพื่อกันควันไฟลามไปยังส่วนอื่นๆ ของอาคาร

 

ม่านกันควันและกันไฟ STOBICH แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ตามลักษณะของเนื้อผ้า คือ

  • Smoke Protection Curtain ม่านกันควัน 
  • Fire Protection Curtain ม่านกันไฟ 

 

ม่านทั้ง 2 แบบไม่เหมาะกับการใช้เป็น Daily use เพื่อทดแทนการใช้งานประตูหรือฉากกั้นพื้นที่ทั่วไป จะต้องใช้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้เท่านั้นเพราะเนื้อผ้าคือสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวป้องกันเปลวไฟและควันไฟ วิธีการทำงานคือม่านจะถูกปล่อยลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงแต่ไม่เร็วจนทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน และจะถูกเก็บขึ้นด้วยระบบมอเตอร์ สำหรับรายละเอียดของบริเวณที่ติดตั้งม่านกันควันและกันไฟ รวมไปถึงรูปแบบในการติดตั้งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปชมกันเลยครับ  

1. Smoke Protection Curtain ม่านกันควัน

ม่านกันควันสามารถทนอุณภูมิ 600 °C ได้ 2 ชั่วโมง และสามารถทนอุณภูมิ 1100 °C ได้ถึงครึ่งชั่วโมง ลักษณะการทำงานของม่านกันควันจะเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติสั่งการจากส่วนกลางโดยมีการเชื่อมสัญญาณจาก Fire Alarm ตัวม่านจะถูกปล่อยลงมาตามแรงโน้มถ่วง โดยความเร็วของม่านจะเคลื่อนที่ตามความเร็วที่ถูกตั้งไว้ และสำหรับบริเวณทางเดินม่านจะถูกปล่อยลงมาถึงระดับที่สูงจากพื้นประมาณ 1.80 เมตร ซึ่งเป็นระดับที่คนสามารถลอดตัวหนีออกไป รวมทั้งสามารถเข็นเตียงผู้ป่วยไปยังที่ปลอดภัยได้ และเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้เช่นกัน  

2. Fire Protection Curtain ม่านกันไฟ 

วัสดุผลิตจากไฟเบอร์กลาสทอกับสเตนเลสจึงมีคุณสมบัติช่วยหน่วงการลามไฟ สามารถทนไฟที่มีอุณหภูมิ 1100 °C ได้นานถึง 2 ชั่วโมง ใช้ติดตั้งตามบริเวณต่างๆ ที่จะเป็นจุดสำคัญในการควบคุมเพลิงไหม้ได้ ลักษณะการใช้งานแตกต่างกับม่านกันควันคือ ม่านกันไฟจะต้องถูกปล่อยลงมาจนแนบสนิทกับพื้นเพื่อป้องกันการลามไฟให้ได้มากที่สุด ต่างกับม่านกันควันที่จะเว้นระยะห่างจากพื้นเพื่อการอพยพ การทำงานของม่านจะเป็นการสั่งงานจากส่วนกลาง โดยมีการเชื่อมต่อสัญญาณกับ Fire Alarm

นอกเหนือจากม่านกันควันแล้วยังมีอีกหนึ่งวัสดุที่ควรใช้เพื่อป้องกันอัคคัภัยและมีความสำคัญเป็นอย่างมากนั่นคือ ประตูเหล็กม้วนชนิดกันไฟ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ตามลิ้งก์ที่ท้ายบทความครับ

ติดต่อสอบถามสินค้าได้ที่ 

www.teohong.com หรือทาง Page Facebook: THSbuildingmaterials 

หรือโทร 02-312-0045

ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายวัสดุตกแต่งอาคาร ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ