TIPS : 4 เทคนิคจากช่างมือโปร ในการใช้กระจกเทมเปอร์ ตกแต่งภายในบ้าน

สวัสดีครับ  วันนี้  WAZZADU  มีเทคนิค  และเคล็ดลับในการใช้กระจกเทมเปอร์  ที่ใช้ตกแต่งบ้านของคุณให้ดูโปร่งโล่ง  และปลอดภัยอย่างถูกวิธีมาแนะนำกันครับ

กระจกเทมเปอร์  (Tempered Glass)  หรือที่เรียกกันเต็มๆ  ว่า  กระจกนิรภัยเทมเปอร์  คือกระจกที่มีจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัยตามชื่อกระจกเลยครับ  ด้วยการผลิตโดยกระบวนการอบกระจกธรรมดาด้วยความร้อนสูง  และทำให้เย็นลงทันที  ทำให้เนื้อกระจกมีคุณสมบัติทนทานต่อแรงกด  แรงกระแทกได้ดีกว่ากระจกธรรมดาหลายเท่า  นอกจากนี้เมื่อกระจกแตก  เศษกระจกจะมีลักษณะเป็นเม็ดข้าวโพดเล็กๆ  ทำให้มีอันตรายน้อยกว่ากระจกทั่วไป

ปัจจุบันกระจกเทมเปอร์เป็นที่นิยมในงานตกแต่งภายในบ้าน  ด้วยการนำมาทำเป็นบานประตู  ฉากกั้นต่างๆ  ทั้งห้องอาบน้ำ  ห้องนอน  เพราะความใสทะลุปรุโปร่ง  ช่วยทำให้พื้นที่ในบ้านดูกว้างขวางขึ้น  และยังสามารถใช้ฟิล์มหลากสีสัน เพิ่มความสวยงามได้อีกด้วย

แม้ว่ากระจกเทมเปอร์จะมีข้อดีมากมาย  แต่ก็มีข้อที่ควรรู้ในการเลือกใช้งานด้วย เราจึงมี  4  วิธีง่ายๆ มาฝาก  ไปดูกันครับ

1. กระจกเทมเปอร์จะถูกผลิตเป็นแผ่น  ไม่สามารถตัดแต่ง  เพื่อนำไปใช้ในงานอื่นๆได้  ดังนั้นต้องเลือกซื้อให้มีขนาดพอดีกับพื้นที่การใช้งาน  เช่น  ความสูงของห้อง

2. ความหนาของกระจกในงานประตู  และฉากกั้นห้องต่างๆ ควรเลือกที่  8-10 ม.ม.  สำหรับประตูควรเลือกซื้อควบคู่กับมือจับเพื่อวัดตำแหน่งก่อนการผลิตกระจก  เพราะจะไม่สามารถเจาะรูกระจกในภายหลังได้

3. ห้ามใช้ทำพื้นหรือหลังคาโดยปราศจากโครงสร้างอื่นรองรับ  เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้คนด้านล่างเมื่อกระจกแตก  และควรระวังเรื่องการกระแทกด้วยของมีคมต่างๆ  อาจทำให้กระจกแตกได้

4. วิธีสังเกตง่ายๆ  ว่าเป็นกระจกเทมเปอร์หรือไม่  คือหาคำว่า  Tempered Glass บนขอบกระจก  โดยปกติผู้ผลิตจะกำกับไว้ทุกครั้ง

สำหรับผู้ที่กำลังสนใจการตกแต่งบ้านด้วยกระจกเทมเปอร์แล้ว  ควรเลือกใช้ให้ถูกวิธี  เพื่อการใช้งานที่เหมาะสม  และลงตัวกับบ้านของคุณครับ

ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.pinterest.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ