เทคนิค และดีเทลการเข้าไม้รูปแบบต่างๆ (Detail Design) ด้วยไม้จ๊อยส์, ไม้ประสาน, บล็อกบอร์ด
การเข้าไม้ (Wood Joints) นั้นมีหลากหลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน และประเภทของไม้เป็นหลัก วันนี้เราจะพาไปชมวิธีการเข้าไม้ หรือต่อไม้ในแต่ละรูปแบบกันครับ
1. การเข้าไม้แบบต่อชน (Butt Joints)
การเข้าไม้แบบ Butt Joint เป็นวิธีที่การทำงานได้รวดเร็ว และง่ายที่สุด ด้วยการยึดไม้เข้าด้วยกันโดยใช้วิธียึดด้วยกาวและเดือยไม้หรือเดือยโลหะด้วยวิธีการชนไม้เพียงด้านเดียว จึงทำให้การยึดรอยต่อไม่ได้แข็งแรงมากนัก นอกจากมีการเสริมความแข็งแรงเพิ่มเติม สามารถเอาข้อต่องานไม้แบบนี้ออกได้ด้วยมือเปล่า เหมาะมากกับการทำงานด้วยไม้อัด งานไม้ที่เบาเป็นชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก
ไม้ที่สามารถใช้วิธีการนี้ได้แก่ ไม้จ๊อยส์ (Joint Wood), ไม้แปรรูป LVL, ไม้สนอัดประสาน (Pine Finger Joint Laminated Board) ไม้เอเชี่ยนวอลนัทประสาน (Asian Walnut Finger Joint Laminated Board)
2. การเข้าไม้แบบบังใบ (Rabbet Joint)
การเข้าไม้แบบบังใบนี้ เหมาะสำหรับการทำชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นต้องต่อแผ่นไม้สองแผ่นเข้าด้วยกัน และเป็นการต่อที่ไม่จำเป็นต้องซ่อนรอยต่อ วิธีการคือให้บากปลายไม้ของทั้ง 2 ชิ้นลงให้เหลือความหนาครึ่งนึง ความกว้างเท่ากับหน้าไม้นั้น จากนั้นจึงนำไม้ทั้ง 2 ชิ้นมาประกบกัน ติดกาวที่รอยต่อ หรือตอกยึดด้วยอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ตะปู น๊อต
ไม้ที่สามารถใช้วิธีการนี้ได้แก่ ไม้จ๊อยส์ (Joint Wood), ไม้แปรรูป LVL, ไม้สนอัดประสาน (Pine Finger Joint Laminated Board) ไม้เอเชี่ยนวอลนัทประสาน (Asian Walnut Finger Joint Laminated Board), บล็อกบอร์ด (Block Board) หรือ ไม้อัดไส้ระแนง
3. การเข้าไม้แบบร่องลิ้น (Tongue and groove)
คือเทคนิคการต่อไม้ที่ใช้ยึดไม้สองแผ่นเข้าหากันบนจากขอบของไม้ แทนการใช้ด้านปลายของไม้ โดยขอบด้านหนึ่งจะมีชิ้นส่วนยื่นออกมาเรียกว่า "ลิ้น" และประกบเข้ากับชิ้นไม้อีกชิ้นที่ทำเป็น "ร่อง" ไว้ โดยที่ไม้ทั้ง 2 ชิ้นจะประกบเข้ากันได้อย่างพอดี วิธีการต่อไม้ชนิดนี้สามารถเสริมด้วยกาวได้ บางครั้งลิ้นและร่องถูกตัดเป็นมุมเล็กน้อยเพื่อให้แผ่นไม้เข้า “ล็อค” ได้พอดี การต่อไม้วิธีนี้ส่วนใหญ่ใช้กับไม้พื้น หรือการทำประตู จุดประสงค์คือเพื่อซ่อนรอยต่อ หากไม้มีการยืด หรือหดตัวก็จะมองไม่เห็นร่องเพราะมีลิ้นไม้กั้นอยู่
ไม้ที่สามารถใช้วิธีการนี้ได้แก่ ไม้จ๊อยส์ (Joint Wood), ไม้แปรรูป LVL, ไม้สนอัดประสาน (Pine Finger Joint Laminated Board) ไม้เอเชี่ยนวอลนัทประสาน (Asian Walnut Finger Joint Laminated Board)
4. การเข้าไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (The Dovetail Wood Joint)
ลักษณะรอยต่อเหมือนการต่อแบบปากฉลาม อาจจะใช้กาวเพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด ไม่จำเป็นต้องใช้ตะปู หรือตัวยึดโลหะมาช่วยเพิ่มความแข็งแรงอีก หากรอยการเข้าไม้ลงล็อคกันอย่างพอดี ปกติแล้วจะดึงไม้ออกจากกันได้ยาก ยกเว้นไม้จะถูกดึงออกมาในทางเดียวกันจากขั้นตอนที่ใช้ในการประกบเข้าไป มักใช้กับเฟอร์นิเจอร์ บานประตู หน้าต่าง หรือแม้แต่โครงสร้างอาคารที่ต้องการโชว์รอยต่อ เนื่องจากการต่อไม้แบบนี้จะมีความทนทานมาก แต่การบากเดือยนั้นต้องใช้ทักษะที่ชำนาญ เดือยที่ทำขึ้นมักมีความลาดเอียง 1:6 ถึง 1:8 โดยเฉลี่ย คือ 1:7 และหากไม้ทั้งสองชิ้นมีสีต่างกันก็จะช่วยให้รอยต่อนั้นชัดเจนสวยงามขึ้น
ไม้ที่สามารถใช้วิธีการนี้ได้แก่ ไม้จ๊อยส์ (Joint Wood), ไม้แปรรูป LVL, ไม้สนอัดประสาน (Pine Finger Joint Laminated Board) ไม้เอเชี่ยนวอลนัทประสาน (Asian Walnut Finger Joint Laminated Board)
การเข้าเดือยแบบหางเหยี่ยวนั้นยังมีอีกหลายแบบ เช่น เดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail), เดือยหางเหยี่ยว (Secret mitered dovetail joint), เดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail) ซึ่งเป็นการดีไซน์รอยต่อให้มีความสวยงามแตกต่างออกไปแต่ในเชิงเทคนิคแล้วมีความคล้ายคลึงกันในลักษณะของการล็อคไม้เข้าด้วยกันโดยการบากไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรือหางเหยี่ยวนั่นเอง
ในการต่อไม้ด้วยเทคนิคเทคนิคข้างต้น แนะนำให้ใช้ความหนาที่ 15 มม. ขึ้นไป และควรเลือกใช้เลือกไม้ที่มีคุณภาพ แผ่นไม้ที่ประสานมาจากกาวที่ปราศจากสารเคมีตกค้าง มีกระบวนการผลิตที่ดี เพราะจะช่วยให้การทำงานรวดเร็ว สะดวกขึ้น ลดการสูญเสีย และที่สำคัญคือเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพนั่นเองครับ
#Wazzadu #ไม้อัดลานนาbySuksawad #ไม้อัดลานนา #เฟอร์นิเจอร์ #ไม้ประสาน #ไม้เอเชี่ยนวอลนัทประสาน #ไม้สนอัดประสาน #ไม้อัดไส้ระแนง #ไม้จ๊อยส์ #ไม้อัดแปรรูปLVL
หากสนใจไม้อัดลานนา By Suksawad สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ลิงก์นี้
www.wazzadu.com/page/suksawad/contact
Line: @suksawad ,E-mail: sales@suksawad.co.th, Facebook สุขสวัสดิ์ไม้อัดไทย
Hotline: 091-771-0499
ผู้เขียนบทความ
จ๊อย,เอเชี่ยนวอลนัท,สนประสาน,กาวยาง,สี ... อ่านเพิ่มเติม