หลักการออกแบบทางลาดเพื่อทุกคน (Ramp for Universal Design)
หากมองคำเรียกคนพิการในต่างประเทศจะพบว่ามีความเป็น Negative Meaning หรือความหมายในเชิงลบ บ้างเรียก Persons with disabilities บ้าง Persons with disable แต่แท้จริงแล้ว ผู้พิการเหล่านั้นไม่ใช่ผู้ที่ไม่มีความสามารถ หากแต่มีความสามารถที่แตกต่าง และอาจจะหลากหลายกว่าบุคคลทั่วไปก็ได้
ในบางประเทศจึงใช้คำอื่นทดแทน เช่นคำว่า Differently abled สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่เพียงคำๆ หนึ่ง แต่เป็นกำลังใจในการให้ความสำคัญไม่ให้คนพิการเหล่ารู้สึกว่าด้อยกว่า หรือรู้สึกแปลกแยก ดังนั้นคำเพียงบางคำก็อาจจะมีส่วนในการสร้างความทัดเทียมของคนพิการให้เกิดแก่สังคมได้
การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกถือเป็นการสร้างความเท่าเทียม ตามหลักการออกแบบเพื่อคนทุกคน (Universal Design) อันหมายถึงการออกแบบและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์บริการหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ในสภาพแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนให้มากที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม (Centre for Ageing Research and Development in Ireland, 2011) โดยสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานประกอบไปด้วย ทางลาด ห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายสัญลักษณ์ และการบริการข้อมูล
สำหรับวันนี้เราจะกล่าวถึง "ทางลาด" กันก่อน
เราจะพบข้อกำหนดขนาดตามหลักการออกแบบตามที่ระบุในกฏกระทรวง เรื่องการกําหนดสิ่งอํานวยความสะดวกในอาคาร สําหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. ๒๕๔๘ ระบุทางลาดให้มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
- พื้นผิวทางลาดต้องเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น
- พื้นผิวของจุดต่อเนื่องระหว่างพื้นกับทางลาดต้องเรียบไม่สะดุด
- ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร ในกรณีที่ทางลาดมีความยาวของทุกช่วง รวมกันตั้งแต่ 6,000 มิลลิเมตร ขึ้นไป ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร
- มีพื้นที่หน้าทางลาดเป็นที่ว่างยาวไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร
- ทางลาดต้องมีความลาดชันไม่เกิน 1:12 และมีความยาวช่วงละไม่เกิน 6,000
- มิลลิเมตร ในกรณีที่ทางลาดยาวเกิน 6,000 มิลลิเมตร ต้องจัดให้มีชานพักยาวไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร คั่นระหว่างแต่ละช่วงของทางลาด
- ทางลาดด้านที่ไม่มีผนังกั้นให้ยกขอบสูงจากพื้นผิวของทางลาดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร และมีราวกันตก
แต่บางครั้งเรามักจะลืมไปว่าสิ่งที่ได้ลงมือทำไปนั้น สามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ ตอบโจทย์ผู้พิการหรือไม่ รวมถึงสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ตามหลักการออกแบบเพื่อคนทุกคนที่เราพยายามพูดถึงกัน สิ่งอำนวยความสะดวกในอาตาร ถือเป็นจุดเชื่อมต่อ ในการเข้าถึงสถานที่ต่างๆ ซึ่งเรามักจะพบว่าในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ รัสเซีย สวิสเซอร์แลนด์ เมืองท่องเที่ยวแทบทุกอาคารสาธารณะของภาครัฐและเอกชน ได้เตรียมความพร้อมไว้รองรับความใช้งาน
ผู้เขียนบทความ