ประเภทของหลอดไฟ การใช้งานของหลอดไฟชนิดต่างๆ จุดเด่นของหลอดไฟ

ประเภทของหลอดไฟ การใช้งานของหลอดไฟชนิดต่างๆ จุดเด่นของหลอดไฟ

ในปัจจุบันประเทศเรามีการใช้หลอดไฟมากมายหลายประเภทไปตามยุคตามสมัยบางชนิดนิยมใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน บางชนิดเช่นหลอด LED ก็เพิ่งมานิยมใช้งานเมื่อไม่กี่ปี  และเนื่องจากมีการพัฒนานวัตกรรมมากมายเกี่ยวกับด้านการประหยัดพลังงานจนกลายมาเป็นหลอด LED ล่าสุดที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน วันนี้ INFINITE LED จะพาไปรู้จักหลอดไฟประเภทต่างๆ

1.หลอดไส้ (Incandescent Lamp)
เป็นหลอดไฟที่มีการใช้งานมานานมาก มีอีกชื่อที่เรียกคือ “หลอดดวงเทียน” เพราะมีแสงแดงๆคล้ายแสงเทียน หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกับหลอดชนิดนี้กันเป็นอย่างดี มีทั้งชนิดแบบแก้ว และฝ้า ไส้หลอดทำมาจากทังสเตนให้ความร้อนสูง หลักการทำงานคือกระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน เมื่อไส้หลอดร้อนจะเปล่งแสงออกมา หลอดไส้นั้นมีข้อเสียคือเมื่อมีความร้อนสะสมมากๆ อายุการใช้งานจะยิ่งสั้นลง โดยกินไฟมากเนื่องจากสูญเสียไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น

2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube)
Fluorescent หรือหลอดเรืองแสง ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่า อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7-8 เท่าตัว โดยตัวหลอดมีไส้โลหะทังสเตนติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ของหลอด ผิวภายในฉาบด้วยสารเรืองแสง โดยมีการใส่ไอปรอทไว้เล็กน้อย หลักการทำงานคือเมื่อกระแสไฟฟ้าใหลผ่านปรอทจะคายพลังงานในรูปแบบรังสีอัลตราไวโอเลตเมื่อกระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้หลอดก็จะเปล่งแสงออกมา อายุการใช้งานมีตั้งแต่ 6000 ถึง 20000 ชั่วโมง

3.หลอดฮาโลเจน (Halogen)
พัฒนามาจากหลอดไส้ที่ใช้ก๊าซฮาโลเจนบรรจุภายในทำให้ทนทานกว่าหลอดไส้ปกติให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มักใช้กับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเป็นพิเศษ เช่นพื้นที่งานแสดงสินค้า มุมอับของบ้านห้องทำงาน อายุการใช้งาน 1500-3000 ชั่วโมง

4.หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal halide)
เป็นหลอดที่จัดอยู่ในกลุ่มให้ความเข้มแสงสูง หลักการทำงานคือ Arc ไฟฟ้าวิ่งผ่านก๊าซในโคมไฟ หลอด arc ที่มีขนาดเล็กจะผสมกับแรงดันสูงของอาร์กอน ปรอทและความหลากหลายของโลหะผสมกัน ทำให้เกิดสีสันต่างๆ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของปรอทและไอโลหะที่ผลิตไฟนี้จะทำให้ อุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้น หลอดเมทัลฮาไลด์จึงทำงานภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูง ส่วนใหญ่จะใช้ส่องสว่างในสนามกีฬา ใช้เป็นไฟสาดอาคารเพื่อเน้นความสวยงาม โดยมีอายุการใช้งานถึง 24000 ชั่วโมง

5. หลอดแสงจันทร์ หรือ หลอดไฟไอปรอท
หลอดประเภทนี้ทำงานด้วยการปล่อยประจุความเข้มข้นสูงหลักการทำงานคือใช้ไฟฟ้าแรงสูงกระโดดผ่านไอปรอทที่อยู่ภายในหลอดเพื่อให้เกิดแสงสว่าง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ ให้แสงสีขาวค่อนข้างเข้ม แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับ โรงงาน โกดังสินค้า สนามกีฬา

6. หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ
มีการทำงานคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาก็คือ”หลอดตะเกียบ” ซึ่งมีแบบที่บัลลาสต์ในตัว และแบบอยู่ภายนอก มีรูปร่างที่หลากหลาย เช่นแบบเกลียว แบบหลอด แบบหลอดสี่แถวเป็นต้น โดยจะมีอายุการใช้งานที่มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์

7. หลอด LED (มีมากมายหลายชนิด)
โดยหลอดไฟ LED ถือว่าได้รับการพัฒนามาจากเทคโนโลยีในยุคใหม่ๆ หลักการทำงานจะต่างจากหลอดทั่วๆไป โดยแสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำหลอด LED ลดจุดด้อยต่างๆ ของหลอดไฟที่ผ่านมา เช่น เรื่องความร้อนเนื่องจากไม่มีการเผาไส้หลอด มีอายุการใช้งานที่นาน 50000 ชั่วโมง ใช้ Watt น้อยแต่ให้แสงสว่างมากกว่า ถนอมสายตา เนื่องจากมีการกระพริบของหลอดน้อยมาก ไม่มีสาร UV ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไม่มีการใช้สารปรอท Infinite LED เรามีมาตรฐาน

จะเห็นลักษณะการทำงาน และข้อดีข้อเสียคร่าวๆของหลอดต่างๆ แทบจะสู้ หลอดไฟ LED ไม่ได้เลย Infinite LED แนะนำให้คุณรีบเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED เนื่องจากเห็นผลทันทีที่ติดตั้งครั้งแรก หากเป็นงานโปรเจค หรืองานโครงการลดต้นทุนของหน่วยงานรัฐ เอกชน เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี พร้อมคำนวณการประหยัดไฟ ระยะเวลาคืนทุนให้ฟรี เปลี่ยนก่อน รวยก่อน 

 

ขอขอบคุณบทความประเภทของหลอดไฟ จาก แบรนด์ INFINITE LED

 

 

Tags : ขั้วหลอดไฟมีกี่ชนิด,หลอดไฟมีกี่สี,หลอดไส้,การแบ่งประเภทโคมไฟ,ส่วนประกอบของหลอดไฟ led,หลอดเมทัลฮาไลด์ หลอดโซเดียม หลอดแสงจันทร์,หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีกี่ชนิด,เทคนิคการประหยัดพลังงานไฟฟ้าแสงสว่าง,ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของวงจรแสงสว่าง

ขายหลอดไฟ LED แบรนด์ INFINITE LED มีสินค้า LED อาทิ หลอด LED T8 , หลอด T5 , โคมไฮเบย์ LED , โคมไฟถนน LED , โคมไฟถนน Solar Street Light , หลอดกลม E27 ***สินค้าทุกตัวสามารถ Customized ตาที่ลูกค้าต้องการได้ *** ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ