"Ngamwongwan brick house" บ้านอิฐร่วมสมัย เท่อย่างไทย ในแบบที่ไม่เหมือนใคร

เนื่องจากบ้านเดิมที่เป็นบ้านชั้นเดียวนั้นถูกน้ำท่วมหนักแบบจัดเต็มในปี 2554 ซึ่งทำให้ต้องซ่อมแซมหลายจุด เมื่อเห็นว่าไม่คุ้ม ทางเจ้าของบ้านจึงวางแผนสร้างบ้านใหม่ จึงได้พูดคุยปรึกษากับสถาปนิก ลูกครึ่งไทย – ญี่ปุ่น คุณ Jun Sekino เกี่ยวกับรูปแบบบ้านหลังใหม่ที่ต้องการ ซึ่งในระหว่างการพัฒนาแบบ สถาปนิกได้มีการพุดคุยแนวคิดในการออกแบบร่วมกับเจ้าของบ้านอย่างไกล้ชิด เจ้าของบ้านจึงค่อนข้างแฮปปี้กับรูปแบบบ้านหลังใหม่ที่ออกมา ซึ่งเป็นบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอย 235 ตารางเมตร มีขนาด 2 ชั้น แต่ให้ความรู้สึกที่เหมือนบ้านชั้นเดียว ด้วยบรรยากาศสบายๆในสไตล์ที่เรียบง่าย และเน้นในความเป็นสัจจะวัสดุ

จนมาถึงขั้นตอนที่ต้องเลือกวัสดุปิดผิวภายนอก ซึ่งคุณ Jun Sekino สถาปนิกที่ออกแบบบ้านหลังนี้ ได้เสนอวัสดุให้เจ้าของบ้านเลือก 3 ชนิด คือคอนกรีตพิมพ์ลาย ,ไม้ และอิฐแดง วัสดุที่หหลายๆคน คุ้นเคย และรู้จักดี  แต่ในที่สุดแล้วครอบครัวเจ้าของบ้านก็เลือกอิฐเพราะดูแล้วเป็นความรู้สึกที่ใช่ที่สุด แต่ก็ยังแอบมีความกังวลนิดๆที่ผ่านเข้ามาในหัวคือ มันจะดีหรอ มันจะไม่เชยหรอ

 

เมื่อเวลาผ่านไป สถาปนิกได้พัฒนาแบบจนเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ทันทีที่เจ้าของบ้านได้เห็นแบบร่าง ความคิดกังวลของเจ้าของบ้านที่เกิดขึ้นในตอนแรกก็ได้หายไปในทันที แต่กลับรู้สึก เฮ้ย!!! แบบนี้แหละที่ใช่ เท่อย่างไทย ในแบบที่ไม่เหมือนใคร  ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกดี และชอบอิฐขึ้นมาทันที นับเป็นการนำวัสดุง่ายๆที่เราคุ้นเคยดีอย่างอิฐแดงมาตกแต่งในแนวร่วมสมัยได้อย่างมีเสน่ห์ และโดดเด่น

ดังนั้น จุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ จึงเกิดจากจุดเล็ก ๆท กับวัสดุที่เรียกว่า “อิฐ” ที่ซึ่งได้กลายมาเป็นองค์ประกอบและวัสดุพื้นฐานสำคัญที่อยู่เบื้องหลังงานก่อผนัง และใช้ในการตกแต่งหลักของบ้านหลังนี้ ก่อให้เกิดเป็น “Brick House” พื้นที่ชีวิตอันอบอุ่น ในกล่องอิฐสุดแปลกตา

ผนังอิฐที่หนาถึง 30 เซนติเมตร ถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นผนังกันความร้อน อีกทั้งอิฐยังมีข้อดีช่วยให้บ้านเย็นทั้งวัน นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงความรู้สึกผูกพันกับบ้านหลังเก่าด้วยการนำไม้กลับมาใช้ใหม่อีกด้วย

บ้านอิฐหลังนี้ ประกอบด้วย3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ โดยชั้นหนึ่งเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ มีทั้งห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว และมีคอร์ตกลางบ้านเป็นจุดเด่นที่ทำหน้าที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกัน และมีประตูบานเลื่อนกระจกเป็นตัวกำหนดพื้นที่การใช้งาน  ซึ่งทำให้บ้านดูโปร่งโล่ง ไม่ทึบตัน ทุกห้องของบ้านจึงมีแสงสว่างที่เพียงพอ

การตกแต่งภายใน ด้วยสไตล์รัสติกแบบอบอุ่น ในบรรยากาศผ่อนคลาย ที่ผสานกลมกลืนกับเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่จัดวางในแบบ มินิมัล ที่ให้กลิ่นอายถึงความเป็นธรรมชาติ

คอร์ตกลางบ้าน ได้ปลูกต้นกระพี้จั่นเพื่อให้ร่มเงา และความสดชื่นสบายตา

อิฐที่เราเห็นเหล่านี้กว่าจะประกอบได้เป็นบ้านทั้งหลัง ต้องใช้ทั้งเวลา และความตั้งใจอย่างมาก กว่าจะกลายมาเป็นบ้านที่อบอุ่น และเต็มไปด้วยความหมายต่อครอบครัวนี้

 

>> สอบถามข้อมูล หรือสนใจติดต่อ "สถาปนิก นักออกแบบ" เพิ่มเติมได้ที่  Line ID : @wazzadu.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.archdaily.com

Photographs : Spaceshift Studio

‪#‎WAZZADU‬ ‪#‎JunsekinoArchitectandDesign ‪#‎BrickHouse‬ ‪#‎Idea‬Deccoration ‪#‎NgamwongwanBrickHouse‬ ‪

JUNSEKINO Architecture + Design. It started from a belief that architecture and interior design are intertwined, equally important and inseparable. With a working style that values every detail in all elements and dimensions, it believes in unique touches and essences for individual projects and emphasizes on methodical approach of thinking process and overall proportion. It focuses on tropical-style environmental management. Sincerity and attentiveness are core values of Jun Sekino ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ