จิตวิทยาสี และการดีไซน์ มีผลอย่างไรต่อการตอบสนองของมนุษย์
การมองเห็นเป็น 1 ใน 5 ประสาทสัมผัสที่ส่งผลต่อการตอบสนองของกันและกันในหมู่มนุษย์ จากบรรดาประสามสัมผัสทั้ง 5 ประกอบไปด้วย หู ตา จมูก ปากและมือ ซึ่งการมองเห็นโดยเฉพาะเรื่อง "สี" คือรูปธรรมที่เราต่างรับรู้ด้วยสายตา แล้วใช้เปรียบเทียบถึงสิ่งของ, ระยะห่าง, รูปร่าง, พื้นผิวไปจนถึงเดาสภาพอากาศและอีกมากมาย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นักออกแบบ รวมไปถึงสถาปนิกหลายคนประยุกต์ใช้สีเข้ากับงานออกแบบเพื่อปรับพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานสถานที่
จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศอิหร่าน มีการศึกษาที่เน้นเกี่ยวกับโทนสีสองขั้ว ระหว่างสีโทนเย็นกับสีโทนร้อน เพื่อทดสอบถึงการตอบสนองของมนุษย์ต่อโทนสีที่กำลังจ้องมองอยู่ว่าเกิดความรู้สึกอย่างไร ผลปรากฏว่า สีโทนร้อน ซึ่งประกอบไปด้วย สีแดง สีเหลือง และเฉดสีเขียว ช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ เร่งการหายใจ และเพิ่มความดันเลือด ส่วน สีโทนเย็น ซึ่งประกอบด้วย สีเขียว สีน้ำเงิน สีคราม และสีม่วงจะส่งผลตรงกันข้ามกับสีโทนร้อน เพราะสีโทนเย็นกระตุ้นส่วนประสาทที่เป็น พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic system) ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ
หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจของการประยุกต์ใช้สีเพื่อกระตุ้นการตอบสนองของผู้ใช้งาน คือโรงพยาบาล Nemours Children’s Hospital ในเมืองออร์ลันโด รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกออกแบบโดยบริษัท Stanley Beaman & Sears เนื่องด้วยโรงพยาบาลนี้เป็นสถานที่สำหรับรักษาเด็กและผู้เยาว์ที่ได้รับวินิจฉัยทางการแพทย์ว่า มีอาการป่วยค่อนข้างซับซ้อนและมีเด็กๆ จำนวนมากที่พักฟื้นอยู่ในที่แห่งนี้ การออกแบบภายในโรงพยาบาลจึงเลือกใช้สีสันต่างๆ มาสร้างบรรยากาศที่เกิดความรู้สึกสนุกสนาน มีกำลังใจ และช่วยผ่อนคลายจากความเจ็บป่วย
การเลือกใช้สีโทนร้อนมาผสมกับพื้นที่ตามจุดต่างๆ เกิดเป็นบรรยากาศของการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ป่วย เปลี่ยนภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลที่ดูเคร่งขรึม ให้เป็นมิตรกับเด็กๆ มากขึ้น เพราะที่ Nemours Children’s Hospital ต้องการเสริมสร้างความสุขและช่วยเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยและรวมไปถึงญาติผู้มาเยี่ยมอีกด้วย
อีกหนึ่งประโยชน์ของการประยุกต์ใช้สีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์คือ Tactile Paving หรือก็คือทางเดินสีเหลืองสำหรับผู้พิการทางสายตา ถูกคิดค้นโดย นักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น Seiichi Miyake ในปี ค.ศ. 1965 โดยการใช้สีเหลืองที่เป็นสีโทนร้อนและโทนสว่างมาปูบนทางเดินเท้า เพื่อให้ผู้คนทั่วไปหลีกเลี่ยงการกีดขวางทางเดินนี้สำหรับผู้พิการ โดยการออกแบบนี้เองนอกจากเรื่องสีแล้วยังมีการใช้ผิวสัมผัสที่ขรุขระเพื่อเป็นการสื่อสารกับผู้พิการทางสายตาว่าทางเดินข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เป็นทางตรง ทางเลี้ยวหรือใกล้บริเวณข้ามทางม้าลาย เป็นต้น
ไม่ใช่เพียงสีเท่านั้นที่จะส่งผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมของผู้ใช้งาน การคำนึงถึงผิวสัมผัสและสีเปรียบเทียบในบริเวณนั้นๆก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งเสริมกันและกันในภาพรวม กลายเป็นเรื่องราวที่สอดคล้องกันของประสาทสัมผัสและสีสันที่มองเห็น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็น case study ของจิตวิทยาสีและการดีไซน์ที่มีผลต่อการตอบสนองของมนุษย์
หากจะยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเข้ามาหน่อย คงเป็นขั้นตอนเลือกใช้สีไม้พื้นไว้ตกแต่งบ้านพักของเรา หากลองสังเกตดีๆ จะพบว่าดีไซน์ของผิวสัมผัสและสีของพื้นทางเดิน ทั้ง indoor&outdoor ต่างส่งผลต่อการรับรู้ของบรรยากาศที่แตกต่างกันไป นักออกแบบจึงใช้จุดที่น่าสนใจนี้มาปรับให้รูปแบบของบ้านมีสไตล์ที่หลากหลาย เช่นเดียวกับไม้พื้นจาก SCI Wood ที่มีเฉดสีของไม้หลายชนิดให้เลือกสรร เพื่อช่วยเติมเต็มไอเดียได้มากแค่สไตล์ใดสไตล์หนึ่ง ถ้าใครอยากทราบว่าไม้พื้นของ SCI Wood มีสีอะไรให้เลือกใช้บ้าง ชมสินค้าได้ที่เพจ SCI Wood
ขอบคุณข้อมูลประกอบเนื้อหา case study จาก : archdaily
#Wazzadu #SCIWOOD #Premiumwood #artificialwood #ไม้สังเคราะห์ #ไม้เทียม #ไม้สังเคราะห์เกรดพรีเมี่ยม #ไม้พื้น #จิตวิทยาสี #NemoursChildren’sHospital #Stanley Beaman&Sears #TactilePaving
ผู้เขียนบทความ