ฉนวนกันเสียง เลือกแบบไหนดีที่สุด

ฉนวนกันเสียงเลือกแบบไหนดีที่สุด

เข้าใจคำว่าฉนวนกันเสียงก่อน

ฉนวนกันเสียงเป็นชื่อเรียกวัสดุที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันเป็นอย่างมาก เพราะคนส่วนใหญ่จะเรียกวัสดุซับเสียง (sound absorptive materials) และวัสดุกันเสียง (soundproofing materials) รวมๆกันว่า “ฉนวนกันเสียง” โดยมีความเข้าใจว่าเป็นวัสดุที่ต้องการนำมาใช้ในการลดเสียงดังรบกวนนั่นเอง ซึ่งตามหลักการของงาน acoustic หรือ noise control นั้น ฉนวนกันเสียง คือ ฉนวนหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการต้านทานแรงดันเสียงซึ่งเคลื่อนที่จากด้านหนี่งไปยังอีกด้านหนึ่ง

ความแตกต่างของฉนวนกันเสียงและฉนวนซับเสียง

ฉนวนกันเสียงมีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เสียงผ่านหรือผ่านได้น้อยที่สุด หลักการทำงานคือการสะท้อนเสียงกลับ วัสดุประเภทกันเสียงส่วนใหญ่จะมีผิวเรียบมัน มีน้ำหนักมาก ตัวชี้วัดประสิทธิภาพคือค่า TL (Transmission Loss) หรือค่า STC (Sound Transmission Class) แต่ฉนวนซับเสียงมีหน้าที่ในการดูดซับพลังงานเสียง เพื่อให้มีการสะท้อนกลับน้อยที่สุด วัสดุประเภทซับเสียงส่วนใหญ่จะมีผิวเป็นรูพรุน หรือผิวหยาบ ผิวไม่เรียบและมีโครงสร้างข้างในเป็นโพรงหรือเส้นใย มีค่าบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการซับเสียงคือ SAC (Sound Absorption Coefficient) หรือค่าสัมประสิทธิ์การซับเสียง

เลือกฉนวนกันเสียงแบบไหนดีที่สุด

ฉนวนกันเสียงที่ดีคือฉนวนหรือวัสดุที่นำมาใช้แล้ว แก้ปัญหาเสียงดังรบกวนได้ผลเป็นที่พึงพอใจเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป เพราะฉะนั้นฉนวนกันเสียงที่ดีที่สุดคือฉนวนที่ให้ความพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบ เพราะฉนวนกันเสียงที่ดีที่สุดหรือวัสดุที่มีค่า STC หรือ TL สูงสุด อาจจะมีราคาที่สูงเกินไป จนผู้ใช้หรือผู้ออกแบบ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง แต่คุณสมบัติทั่วไปที่ควรมีของฉนวนกันเสียงที่ดี ได้แก่

  • มีค่า STC หรือ TL ที่เหมาะกับความต้องการ
  • ไม่ลามไฟ ไม่เป็นเชื้อเพลิง
  • หาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะปริมาณน้อยหรือมาก
  • สะดวกและง่ายในการติดตั้ง
  • สะดวกในการทำความสะอาดหรือไม่ต้องทำความสะอาดเลย
  • ปลอดภัยต่อระบบหายใจและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เป็นขยะพิษ เมื่อทำการรื้อถอน

ประสิทธิภาพของฉนวนกันเสียง

ความสามารถในการกันเสียงของฉนวนกันเสียงนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมไปถึงระดับเสียง พลังงานเสียง สภาวะแวดล้อม วิธีการติดตั้ง ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงและผู้รับเสียง หากระดับเสียงที่ต้องการลดลงหรือป้องกัน ไม่ได้มีความเข้นข้น (sound intensity) สูงจนเกินไป ฉนวนซับเสียงหรือว้สดุซับเสียงทั่วไปในท้องตลาด สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ แต่หากว่าระดับเสียงที่ต้องการลดมีค่าสูงมาก ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบจะต้องเลือกวัสดุกันเสียงเฉพาะทางที่สามารถก้นเสียงแบบนั้นได้โดยตรง ประสิทธิภาพของฉนวนกันเสียงดูได้จากค่า STC และ TL ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น

 

 

เพิ่มเพื่อน

Heat & Sound Insulation
LINE ID: @newtechinsulation
ยินดีให้บริการ งานฉนวนกันความร้อน และฉนวนกันเสียง
โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสินค้าคุณภาพจากเยอรมนี ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
แผ่นซับเสียง ดูดซับเสียงได้อย่างไร
แนะนำสินค้า และบริการ
ฉนวนกันเสียงผนังเบา
การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
แผ่นซับเสียง คืออะไร

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ