A part of Tokyo

ถ่ายภาพเมื่อ Dec,2016

A part of Tokyo #1

#ระหว่างทาง

อาหารในย่านทำงานที่ญี่ปุ่น ต้องนั่งกินคนเดียว บรรยากาศในร้านดูรีบร้อน เราเหมือนอยู่ผิดที่ผิดทาง เพราะทุกคนแต่งตัวดีใส่สูทเนี๊ยบตั้งแต่หัวจรดเท้า เราอยู่ในร้านราเมนแบบ easy pass (ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรแบบที่คนกินมาเร็วไปเร็ว) ร้านที่เราเดินหาหลังจากที่ออกจากพิพิธภัณฑ์ที่เข้าชมในตอนเช้า เป็นการกินข้าวเที่ยงที่เร็วที่สุดครั้งหนึ่ง มันคือการกินจริงๆ ไม่วอกแวก ไม่ได้คุยกับใคร (พนักงานถามเป็นภาษาญี่ปุ่นเราก็ตอบ yes ไป ฮ่าๆๆ) กินเสร็จเราออกมายืนรอชาวคณะที่เหลือที่ยังกินไม่เสร็จ ยืนรับลมไปหนาวๆ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงฤดูในไม้ร่วง อากาศช่างแตกต่างกับไทย ยืนมองยอดอาคารรายรอบ เมื่อชาวคณะมาครบเราก็ออกเดิน ไปดูต้นแปะก๊วยที่ปลูกเป็นแนวทางเข้าสนามกีฬา ที่เหลือแต่ต้นแห้งๆ เพราะไปช้าไปซักสัปดาห์  ที่ที่เรายืนดูต้นแปะก๊วยอยู่นั้นใกล้ ๆ มีคุณลุงคุณป้าชาวญี่ปุ่นนั่งอาบแดดและกำลังให้อาหารนกพิราบเป็นภาพที่น่ารักมาก เป็นบรรยากาศที่รายรอบด้วยอาคาร ช่างให้ความรู้สึกที่ “Contrast” แต่กลับทำให้ดูมีชีวิตชีวา มีเสน่ห์อย่างบอกไม่ถูก ย่านนี้ชื่อ Aoyama Dori ซึ่งเป็นย่านของคนทำงาน มีอาคารออฟฟิตอยู่ตลอดเส้นถนน เรากำลังจะเดินไปที่ ย่าน Omotesando ตลอดทางก็ยังเป็นอาคารออฟฟิต และมี retail อยู่ประปราย 

ถ่ายภาพเมื่อ Dec,2016

ถ่ายภาพเมื่อ Dec,2016

ถ่ายภาพเมื่อ Dec,2016

#ระหว่างทาง ที่เราเดินก็เห็นอาคารหลังหนึ่งที่แทรกตัวอยู่กับอาคารอื่นๆ แต่พอมองไป มันกลับเด้งออกมาจากอาคารอื่น ความคิดตัวเราเองพลันย้อนกับนึกถึงเมื่อตอนเรียน (นึกถึงตอนเรียนตลอด) วิชา Architectural Structure ความรู้ที่เราเรียนผุดขึ้นมา “Narrow Grid” ใช่อาคารมันคือโครงสร้าง Narrow Grid ถ้าเป็นฉากในหนังคงเป็นหนัง Sci-fi เป็นฉากที่เหมือนกับตาเราเป็นเครื่องเอ็กซเรย์  ที่เรามองทะลุเห็นโครงสร้างข้างใน ว่ามันต้องมี Core ตรงกลาง คือลิฟท์และบันไดหรืออาจจะมีอื่นๆอีก แล้วมีโครงสร้างพื้น อาจจะเป็น space truss หรือ waffle floor slab และมีผนังที่รับน้ำหนักภายนอก ที่เห็นเป็นโครงๆ เหมือน post-beam (เสาคาน) แต่ไม่ใช่ มันรับหน้าที่รับน้ำหนักทั้งแรงลมที่มากระทำกับอาคารและน้ำหนักจากพื้นไปด้วยกัน

CR:https://en.wikipedia.org/wiki/World_Trade_Center_(1973%E2%80%932001)

CR:http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=56090&page=109

“Narrow Grid” โครงสร้างแบบคูลๆ

จุดเด่นอยู่ตรงนี้ ผนังรับน้ำหนักนี่แหละ ถ้าจะยกตัวอย่างอาคารที่ให้เห็นภาพของโครงสร้างแบบ Narrow Grid ก็คงจะหนีไม่พ้น ตึกแฝด World Trade Center อันโด่งดัง ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อคุณ Minoru Yamasaki  มันคืออาคารสูงที่มีชื่อเสียงจากข่าวการก่อการร้าย ที่พอมีเครื่องบิน บินชนผนังไม่นานอาคารทั้งอาคารก็ถล่มลงมา นั่นก็เพราะโครงสร้างสำคัญอยู่ที่ผนังและ Core ตรงกลาง เมื่อโครงสร้างหลักได้รับการทำลายทุกอย่างก็วอดวาย ผู้ก่อการร้ายได้ศึกษามาเป็นอย่างดี(จะเก่งไปแล้วนะ ฮ่าๆๆ)  ถ้าสังเกตถึงรายละเอียดของอาคารอีกซักนิดอาคารชนิดนี้เหมือนจะไม่มี ส่วนที่เรียกว่า Podium ที่เป็นอย่างนั้นคือส่วนที่เป็น Podium กับ ส่วนที่เป็น Tower  จะต่อกันขึ้นไปโดยไม่เปลี่ยนรูปร่าง แต่ที่เห็นจากการออกแบบของคุณ Minoru Yamasaki  ใน World Trade Center คือ Detail การรวบแนวของโครงสร้างผนังรับน้ำหนักทั้งอาคารลงมาสู่เสาคานใหญ่ยัก ในส่วนของ Podium ซึ่งส่งผลโดยตรงมาจากโครงสร้างที่เรียกกันว่า “From follow Structure” และส่งผลต่อ Function ของการเป็น Podium ที่เป็นพื้นที่ Hall สำหรับรับคนเข้าอาคาร

อาคารที่แทรกตัวอยู่ที่ Aoyama Dori ก็เช่นกัน ถึงแม้จะไม่ใช่อาคารที่สูงมาก ด้วยอาจจะเพราะกฎหมายควบคุมอาคารของย่านนี้ ที่เราคิดว่ามันน่ารักมาก และดูเข้ากัน ระดับอาคารเท่าๆกัน ในความน่ารักยังแฝงไปด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีทางวิศวกรรม และการผังเมืองที่ลงตัว เราไม่รู้ว่าความจริงแล้วอายุของอาคารนี้เท่าไหร่ อาคารนี้สร้างมาตั้งแต่ตอนไหน แต่มันทำให้เห็นถึงการออกแบบที่เรียบง่าย ที่ดูเหมือนจะอยู่เหนือกาลเวลา

#บันทึกรักษ์สถาปัตยกรรม #APartOfTokyo

ขอขอบพระคุณ คุณครู Gig Nillapat  ผู้ทำให้เกิด Tokyo Trip ครั้งนี้

-----------------------------------------------------------------------------------

รักษิณา นามษร

Facebook: https://www.facebook.com/raksina.namsorn

Line:panilluzz

E-mail:n.raksina6241@gmail.com

Occupation:Architect
Facebook:https://www.facebook.com/raksina.namsorn
Line:panilluzz
Email:n.raksina6241@gmail.com ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
#บันทึกรักษ์สถาปัตยกรรม

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ