คุณลักษณะน่ารู้ของ ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ (Fabric furniture) ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปมักหาชิ้นที่ถูกใจได้ยาก บางทีเจอรูปทรงถูกใจแล้ว แต่กลับไม่ชอบแพตเทิร์นของผ้า ดังนั้น การได้ลงมือเลือกผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เอง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เราได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นที่ถูกใจ เข้ากับพื้นที่อย่างเหมาะสม โดยลวดลวดลาย เท็กซ์เจอร์ และเนื้อผ้านี้สามารถถ่ายทอดความเป็นตัวตน และรสนิยมของเจ้าของได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติของผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ที่ดี

1.เนื้อผ้ามีความแข็งแรงทนทานยืดตัวได้ดี เพราะต้องรับน้ำหนักและทนแรงเสียดสีขณะใช้งานในแต่ละวัน

2.เนื้อผ้าสามารถป้องกันน้ำซึมผ่านได้ เพื่อให้สามารถทำความสะดวกได้ง่าย ป้องกันชั้นเบาะฟองน้ำ และใยพอลิเอสเตอร์ที่บุด้านในเปียกชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อรา

3.ผิวสัมผัสของผ้าอ่อนนุ่ม ไม่ระคายเคืองผิวหนัง

 

อ่านฉลากก่อนซื้อ

ฉลากทั่ว ๆ ไปหลังผืนผ้ามีข้อความมากมาย แต่สิ่งที่ควรรู้มีอะไรบ้างมาดูกัน

1. ชื่อรุ่น

2. Repeat : ความกว้างและยาวของแพตเทิร์น 1 ชุด ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ช่วยให้เราสามารถคาดคะเนการวางผังลวดลายบนพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการบุ และจำนวนผ้าที่ต้องใช้งานได้แบบคร่าว ๆ

3. Usable Fabric Width: หน้ากว้างของผ้า สำหรับคำนวณขนาดของผ้าก่อนนำไปใช้งาน ทั้งยังมีผลกับรอยต่อ หากผ้ามีขนาดพอดีกับพื้นผิว ผลงานก็จะออกมาดูสวยงามสุดเนี้ยบไร้รอยต่อ

4. Composition : ส่วนผสมของเนื้อผ้า มีทั้งเส้นใยชนิดเดียว และผสมกันหลายชนิด เพื่อรวบรวมจุดเด่นของเส้นใยแต่ละชนิดเข้าด้วยกันในผ้าผืนเดียว

5. Care Instructions : สัญลักษณ์สากลสำหรับการดูแลรักษาเนื้อผ้าแต่ละชิ้น

6. End Use : ผ้าชิ้นนั้นเหมาะนำไปใช้กับงานประเภทไหนบ้าง เช่น ใช้สำหรับบุเฟอร์นิเจอร์อย่างเดียว หรือเป็นได้ทั้งผ้าม่าน และผ้าบุ

7. Martindale Abrasion / Abrasion Resistance หรือ Double Rub Count : ค่าความทนทานของเนื้อผ้าในส่วนที่ต้องสัมผัสกับสรีระผู้ใช้งานโดยตรง นับจากจำนวนครั้งที่ต้องเสียดสีไปมา ทดสอบโดยมีเครื่องจักรถูลงบนผืนผ้า

ผ้าบุสำหรับใช้งานในบ้าน ควรมีค่านี้มากกว่า 25,000 ครั้ง ส่วนงานผ้าบุสำหรับใช้งานสาธารณะ ควรมีค่านี้มากกว่า 100,000 ครั้ง

8. Upholstery Grade : แบ่งเกรดออกเป็นช่วงตามค่าการทดสอบความทนทานเพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้

6,000-15,000 ครั้ง ทนทานน้อย ไม่เหมาะนำมาทำผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

20,000-25,000 ครั้ง ทนทาน เหมาะกับงานบุเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน แต่อาจไม่เหมาะกับงานกลางแจ้ง

30,000-50,000 ครั้ง ทนทานมาก เหมาะกับงานบุเฟอร์นิเจอร์ทั้งภายในบ้าน และงานกลางแจ้ง

9. คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ

Water Repellent กันน้ำได้

Flame Retardation เคลือบสารป้องกันไฟลาม

Fade Resistance ค่าความทนทานต่อการซีดจาง ค่ามาตรฐานอยู่ระหว่าง 1-5 ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งทนทาน ไม่ซีดจางง่าย

Thread Count ค่าความหนาแน่นของการทอ นับจากจำนวนเส้นด้ายต่อพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว ตัวเลขยิ่งมาก เนื้อผ้าก็ยิ่งหนาแน่น และทนทานมาก

ชนิดของผ้า

เกณฑ์การจำแนกผ้ามีหลากหลายแบบ ทั้งตามพื้นที่ใช้งาน ลักษณะเส้นใย และรูปแบบการทอ ในที่นี้เราจะแบ่งหมวดหมู่ตามรูปลักษณ์ของผ้าตามพื้นที่ใช้สอย แบ่งได้เป็นผ้าบุสำหรับใช้งานภายในบ้าน ภายนอกบ้าน และหนังเทียม

1. Indoor Upholstery เหมาะใช้บุเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน รวมถึงการบุผนัง และหัวเตียง ผ้าหนึ่งชิ้นอาจประกอบขึ้นจากเส้นใยเดียวกันทั้งหมด หรืออาจดึงความโดดเด่นจากเส้นใยหลายชนิดมาไว้รวมกันก็ได้

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก

http://www.leecurtain.com/category/all-product/upholstery

http://utexdecor.com/utex/upholstery

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ